15 กฎเหล็กแห่งการมูฟออน “สัญญากับตัวเอง ว่าเราต้องทำให้ได้นะ”

อย่างแรกเลยคือเซ็ตความตั้งใจให้ตัวเอง “ฉันจะต้องขึ้นมาจากหลุมให้ได้” แรงใจที่เราอยากเห็นตัวเองมีความสุข จะพาเรามูฟออนได้เกลี้ยง 100% แน่นอน เริ่มขยับตัวออกจากหลุมกันเลยนะ… เพราะเราจะไม่ยอมจมปลัก ไม่ยอมแพ้ใจตัวเอง เรามองเห็นตัวเองนี่นา ว่าเราจะมีความสุขใสๆ ได้กว่านี้ เราเลยต้องให้กำลังใจตัวเอง ตั้งกฏเหล็กให้ตัวเอง คนอย่างฉัน ไม่มีเธอ ฉันก็มูฟออนสวยๆ ได้ ว่าแล้วลุยกันเลย!! อ่านเรื่องราวอื่นๆ ต่อได้ที่ ฮาวทูรักตัวเอง เมื่อต้องมูฟออนจริงๆ

ฉันไม่โชคดีพอที่จะมีผู้ชายสักคน “มองเห็นฉันในแบบที่ฉันเป็น”

ฉันไม่ได้โชคดีแบบนั้น ฉันไม่ได้โชคดีพอที่จะมีผู้ชายสักคนมองเห็นฉันในแบบที่ฉันเป็น มองเห็นความเจ็บปวดของฉัน และอยากฉุดฉันขึ้นไป ไม่มีวิธีไหนอีกแล้วที่ฉันจะบอกตัวเองได้ดีไปกว่า “ยอมรับความจริงเถอะ” ทุกครั้งเวลาที่ฉันเห็นใครๆ เขารักกัน ความหวังในใจ ความเพ้อทุกครั้งที่กดแอปสีดำแดงเพื่อเลือกซีรีย์เกาหลีเรื่องใหม่ โจทย์ของฉันไม่มีอะไรมาก ต้องเป็นเรื่องที่ฉันสามารถสมมุติตัวเองเป็นนางเอกในเรื่องได้ แล้วจินตนาการต่อว่า บางทีฉันอาจจะเจอผู้ชายในชีวิตจริง ที่เป็นเหมือนพระเอกในเรื่อง หนังสือฮาวทูบอกว่า ให้คิดว่าอยากได้ผู้ชายแบบไหน ลิสต์ออกมาให้เยอะที่สุด แล้วตัดออกให้เหลือสัก 10 ข้อว่านั่นคือคุณสมบัติผู้ชายที่อยากได้ ฉันลองทำและกุมลิสท์นั้นไว้แน่นในกระเป๋าสตางค์ เอามาเปิดอ่านบ่อยๆ ด้วย บางทีที่เขาบอกว่าคืนพระจันทร์เต็มดวง พระจันทร์จะมอบพลังงานของความรักดูดใครให้เข้ามาในชีวิต ฉันจะเอาลิสท์นั้น ออกไปหาแสงจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐาน แล้วนึกถึงเขา แน่นอนว่าฉันมีความเชื่อ ยังคงเชื่อ และก็จะเชื่อต่อไป เรื่องราวในโทรศัพท์กับเพื่อนสาว เราจะวนเวียนกันที่ซีรีย์ที่เพิ่งดู กรี๊ดพระเอก อยากบินไปเกาหลี แล้วเราก็จะกลับมาที่เรื่องของเรากัน ทำไมเพื่อนคนนั้นได้แฟนดีจัง แฟนเขาพาไปเมืองนอกบ่อยมากเลย เขาไปทริปกันอีกแล้ว ฉันกับเพื่อนก็ได้แต่พยายามหาเรื่องเน่าๆ ในเรื่องรักของคนอื่น “แต่พวกเขาอาจมีอะไรไม่แฮปปี้ก็ได้นะ พวกเราไม่มีทางรู้หรอก” มันคงเป็นคำปลอบใจที่เราบ่นให้กันฟัง แต่ฉันก็ยังไม่มีใครเข้ามาในชีวิตอยู่ดี “ที่เธอเหนื่อยเพราะไม่มีคนรักหรือเปล่า?” ประโยคจากเรื่อง My Liberation Notes หัวหน้าของพี่สาวนางเอกถามขึ้นมา หลังจากที่เธอมาทำงานแล้วบ่นว่าเหนื่อยๆๆๆๆ ทำไมชีวิตฉันถึงเหนื่อยขนาดนี้ […]

คุณหมอสา-Guardian Diamond พี่สาวที่เปิดประตูลับ ช่วยเคลียร์พลังงานลบให้คุณพบความสำเร็จ

ตั้งแต่เข้าปี 2024 ที่ผ่านมา คลีโอขอบอกว่านี่เป็นการสัมภาษณ์ที่เบิกเนตรให้เรารู้สึกมีความหวังและกำลังใจ รู้สึกว่าจักรวาลมอบของล้ำค่าเอาไว้ให้เราเสมอ เป็นเรื่องไม่บังเอิญที่ทำให้เราได้เจอกับคุณหมอสา หรือหลายคนรู้จักเธอในชื่อ Doctor Diamond กับฉายาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเรื่องเพชรที่ไม่ได้จบแพทยศาสตร์ แต่เป็นผู้ที่ช่วยเยียวยาให้ความรู้กับคนที่สนใจเรื่องเพชร รวมทั้งก้าวเข้ามาแก้ปัญหาชีวิตด้วยพลังของ “เพชรดิบ” ที่ค้นพบพลังงานอันยิ่งใหญ่นี้จนกลายมาเป็นแบรนด์ Guardian Diamond ที่สายมูบอกว่ามาลองแล้วขนลุกซู่ทุกคน ลูกสาวครอบครัวคนจีนที่ฝึกค้าขายตั้งแต่เด็ก “ตอนเด็กไม่รู้ว่าเราอยากเป็นอะไร พ่อแม่อยากให้เรียนที่เอแบค เพราะเห็นว่าเราภาษาดีมาตั้งแต่เด็ก เราไม่มีฝันเลย เป็นเจเนอเรชั่นที่ที่บ้านเป็นคนจีน ดังนั้นก็จะมีบอกแค่ว่าต้องมาช่วยพ่อแม่นะ เราก็รู้สึกว่าเราต้องทําไปจนตลอดชีวิต ไม่เคยมีความคิดอื่นเลย ที่บ้านทำธุรกิจขายเพขร เรียนจบมาให้ไปเรียนดูเพชรนะ เราก็ไป ซึ่งเรียนดูเพชรของสถาบัน GIA ซึ่งตอนนั้นมีสาขาในประเทศไทย เป็นโรงเรียนเล็กๆ ในยุค IMF ค่ะนานมากแล้ว” “คุณพ่อคุณแม่พยายามหนักมากในการส่งเราเรียนนะคะ จําได้เลยว่าแม่ให้เราเดินเข้าไปถามแล้วขอตีเช็ค 4 ใบจ่ายค่าเทอมได้ไหม ช่วงนั้นเราก็รู้เลยว่าชีวิตไม่ได้ง่าย ต้องเรียนให้จบกลับไปช่วยเขา เพราะแม่ก็จะพูดตลอด ตาแม่ก็เริ่มไปแล้วนะ เหมือนเขามาเปิดร้านตอนประมาณ 40 กว่าแล้ว ดังนั้นจะให้เค้าดูเพชรไปตลอดก็เป็นไปไม่ได้ เราเริ่มทําทุกอย่างตั้งแต่เสิร์ฟน้ํา เช็ดตู้ วิ่งงาน บางทีมีงานช่าง เราก็ขับรถออกไปเอง เดินส่งของส่งงาน แม่จะเหน็บเราไปด้วย […]

5 วัดปังในฮ่องกง ขออะไรเทพให้รัวๆ

“เก่งอย่างเดียวแต่ไม่เฮงก็ประสบความสำเร็จยาก” คำพูดนี้ดูจะไม่เกินความจริงไปสักเท่าไหร่นัก ในปัจจุบันเป็นยุคที่วัยรุ่นกำลังสร้างตัว หลายๆคนที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจบางคนบอกว่าเกิดจากความสามารถของตัวเอง แต่หลายๆคนเปิดเผยความลับว่าส่วนหนึ่งมาจากการมูในสถานที่ที่มีพลังงานประกอบกับพิธีกรรมที่ถูกต้องทำให้มีทั้งพลังจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์และกำลังใจในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ




Career

‘ปราง’ Acting Coach ที่สร้าง Self-Factory คลาสเปิดใจให้เราได้รู้จักตัวเอง



ก่อนจะมาเป็น Self-Factory ปรางเริ่มการเป็น Acting Coach ได้ก็เพราะว่าเธอทำสิ่งนี้ในวงการบันเทิงจริงๆ อาชีพที่หลายคนสงสัยว่าทำอะไรในกองถ่าย ต้องมีคนๆ นี้ไหม ในเมื่อวงการบันเทิงไทยเหมือนจะไม่ได้เดินทางไปไหนไกล แต่จะบอกว่าถ้าไม่มีตำแหน่งนี้ วงการบันเทิงไทยก็อาจจะมาไม่ถึงจุดนี้ก็ได้

ทุกอาชีพมาความหมายบางอย่างสำหรับบางคนเสมอ

“เราสอนการแสดงให้กับนักแสดง ทำให้เขาสามารถเข้าถึงบทของเขาได้ดีมากขึ้น เรามีหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้กำกับกับนักแสดง ช่วยเขาหาว่าคนๆ นี้จะเข้าถึงคาแรคเตอร์ที่ได้รับได้ยังไงให้แบบของเขา”

หลายคนอาจจะมองว่าเป็นนักแสดงน่ะง่าย หน้าตาดี เล่นละครได้ รับบท ท่องจำ แสดงออกไป ได้เงินก้อน แต่ความจริงแล้ว ‘นักแสดง’ ที่ ‘ทำการแสดง’ จริงๆ คือเขากำลังทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด แอคติงโค้ชอย่างปรางมีหน้าที่ในการไกด์ และแก้ไขปัญหาในใจที่ขวางทางไม่ให้คนๆ นั้นเข้าถึงบทที่ได้รับ ทั้งๆ ที่เขาท่องจำได้ทุกคำแล้วก็ตาม

Self-Factory

“คนเราจะเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกตัวเองไม่ง่ายนะ แล้วแต่ละคนมีระดับความเปิดรับสิ่งนั้นต่างกัน วิธีการที่จะไปถึงอารมณ์ความรู้สึกนั้นก็ไม่เหมือนกัน บางคนถูกสอนให้ห้ามร้องไห้ ตอนเด็กๆ คงมีคนเคยได้ยินว่า “เป็นผู้ชายต้องไม่ร้องไห้นะ” นี่ก็เป็นหนึ่งอุปสรรคของนักแสดงบางคน เพราะมันขัดต่อความรู้สึกของเขา” คนเป็นนักแสดงแต่ละคนต้องหาให้เจอว่า เขาจะก้าวผ่านมันได้ยังไง และปรางก็มีหน้าที่ในการพาเขาไป

ไม่มีใครทำไม่ได้ในเวลาที่ไม่จำกัด

ผลงานที่ออกมาในฐานะของคนดู เราอาจจะเคยมองว่า นักแสดงคนนี้เล่นได้ไม่ดีเท่าที่จะมีโอกาสได้บทบาทที่น่าสนใจ ทำไมคนเก่งถึงไม่ค่อยได้โอกาส คำถามมากมายถึงวงการการแสดงในประเทศไทย แต่ในฐานะของคนที่เป็นส่วนหนึ่งจะมองว่า คนๆ หนึ่ง ทำไม่ได้เลย ไม่ได้

“มีคนที่เราคิดว่าในระยะเวลาเท่านี้ ไม่น่าได้ แต่เราเชื่อว่าทุกคนน่ะ ทำได้ ถ้าเกิดว่าเราไม่เชื่อว่าเขาจะทำได้ เราเองก็ทำงานของเราไม่ได้” เพียงแต่ก็มีบางคนที่เธอมีความเห็นว่าเขาอาจต้องกลับไปยอมรับความเป็นตัวเองก่อน “เขาต้องรู้ก่อนว่าเขารู้สึกหรือไม่รู้สึก สิ่งที่ยากก็คือนักแสดงหลอกว่าตัวเองรู้สึก แต่จริงๆ แล้วอาจจะไม่” และไม่ได้มองว่าเขากำลัง โกหก ใคร “เขาอาจจะไม่รู้จริงๆ ก็ได้ เพราะไม่ได้ถูกสอนให้รู้สึก”

Self-Factory

“คนบางคนก็ถูกสอนให้ไม่พูดความรู้สึก หรือแม้แต่ยอมรับว่าเรารู้สึก และบางทีการที่จะต้องยอมรับว่ารู้สึกแบบนี้ได้ มันไปขัดต่อความเชื่อของเขา”

วินัย และเปิดใจ

“วินัยในการทำงาน ตรงต่อเวลาและทำการบ้านที่ได้รับมอบหมายไป” เพราะนักแสดงไม่ได้ทำงานแค่หน้าฉาก พวกเขาต้องทำความเข้าใจในบทที่ได้รับก่อนที่จะมาแสดงจริงเสมอ 

นักแสดงส่วนใหญ่อาจจะไม่ใช่ดารา และดาราทุกคนก็ไม่ใช่นักแสดง “ดาราคือคนที่อยู่ในแสงเสมอไม่ว่าเขาจะทำการแสดงหรือไม่ หรือทำการแสดงอยู่ตลอด แต่นักแสดงมันคือ actor เขาทำ action บางอย่างเพื่อเอาตัวละครนั้นแสดงสู่สายตาของคนดู”

ปรางทำงานกับนักแสดงมาไม่น้อยในร่วมสิบกว่าปีในวงการบันเทิง เธอมีคนที่อยากยืนปรบมือให้เลยถึงวินัยและความพยายาม (ซึ่งสำคัญกว่าพัฒนาการและชื่อเสียงซะอีก)  ยกตัวอย่างก็คือ ‘มุก-วรนิษฐ์ ถาวรวงศ์’ 

Self-Factory

“มุกเป็นคนเก่ง มีความพยายามที่จะไปสู่บทบาทที่ได้รับ ทั้งๆ ที่มันค่อนข้างจะห่างไกลจากความเป็นเขา มุกไม่เคยจะบอกว่า จะไม่ทำ หรือทำไม่ได้” อีกคนก็คือ ติช่า-กันติชา ชุมมะ “เขารู้จักตัวเองดีมาก เสน่ห์ของติช่ามันเกิดจากความเป็นตัวเองนั่นแหละ สามารถนำมาใช้ในคาแรคเตอร์ต่างๆ ได้”

Self-Factory

“สอนแอคติ้งให้หน่อย” จากปากคนที่ไม่ได้จะเป็นนักแสดง

จากคลาสแอคติ้งสู่ห้องเรียนที่ทำให้ผู้คนได้รู้จักตัวเองมากขึ้นมันเริ่มต้นง่ายๆ แค่มีคนอยากเรียกแอคติ้งบ้าง “เขาอยากจะพูดเก่ง หรือซ่อนความหงุดหงิดไม่ลูกน้องรู้ ทำยังไงให้น่าเชื่อถือ เราก็ตั้งคำถามนะว่า มันได้หรอ?” ก็เลยดีไซน์คลาสให้คนใกล้ตัวก่อน “ทำให้เขาได้กลับไปรู้สึก กลับไปหาว่าความต้องการของแต่ละคนคืออะไรในสถานการณ์นี้ของชีวิต แล้วเราก็จะทำเพื่อจะไดรฟ์สิ่งนั้น แล้วก็จะเกิด motivation ขึ้นมา ทำให้เรารู้ว่าควรจะวางตัวยังไง ทำหน้ายังไง หรือรู้สึกยังไงกับเรื่องนั้น”

“มันเป็นคลาสที่เหมาะกับคนที่อยากจะพัฒนาตัวเอง หรือแค่กลับไปรู้จักตัวเองให้ดีขึ้น มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ มันอยู่ที่ใจ ไม่จำเป็นต้องมีใครบอกว่า คุณควรต้องเรียนนะ ไม่อย่างนั้นผลลัพธ์มันจะไม่เกิด เราไม่มีฮาวทู มีแต่กระบวนการที่คนต้องเอาไปทำงานต่อด้วยการเปิดใจ” แต่ปรางขอไฮไลต์ว่าในคลาสจะไม่มีการบังคับให้ร้องไห้ หรือกรีดร้องอย่างที่หลายคนเข้าใจหรอกนะ

“เราไม่ได้ทำแค่การสื่อสารอย่างเดียว คีย์ของคลาสนี้คือเราเทรนด์คนผ่านกระบวนการละครให้คนเราเข้าใจ self-esteem ของตัวเองมากขึ้น ไม่ใช่สอนแอคติ้งในการแสดงอารมณ์ ทำหน้าทำตา หรือว่าต้องมานั่งร้องไห้ในคลาสนะ แค่ต้องรู้ว่าตัวตนของเราในตอนนั้นเป็นใคร กำลังสวมบทบาทอะไรอยู่ในตอนนี้ และต้องแยกออกจากกันให้ได้”

Workshop นี้ไม่ใช่การบำบัด สิ่งที่ได้แค่ทำความเข้าใจ

“รู้จักตัวเองให้ดี และยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็นให้ได้ แล้วมันก็จะเกิด emphathy(ความเห็นอกเห็นใจ)” คนที่เข้าใจตัวเองก็จะทำความเข้าใจคนอื่นไปโดยอัตโนมัติ ความเห็นใจจะทำให้เข้าใจ ยอมรับความแตกต่างในสังคมได้ง่ายขึ้น “Self-Factory เราตั้งชื่อล้อมาจากการที่คนเราถูกผลิตซ้ำ คนในแต่ละรูปแบบ ตามความเข้าใจในแต่ละยุคว่า แบบนี้คือดี คือประสบความสำเร็จ ทำให้เราคิดว่าถ้าคนเรารู้จักตัวเองและเป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่เราโอเค ไม่ต้องเป็นเหมือนใคร สังคมจะเกิดความแตกต่าง และทุกคนก็โอเคกับความต่างนั้น”

ในคลาสทุกคนจะได้เซ็ตตัวเองอยู่ในภาวะที่สบายๆ พร้อมเปิดรับ คล้ายกับการเตรียมขึ้นแสดง แล้วกลับไปสะท้อนความเป็นตัวเองของแต่ละคน ผ่านเส้นทางชีวิตแบบไหน โตมายังไง “เพื่อที่จะหาว่าตัวตนของคุณจริงๆ แล้วเป็นยังไง มีอะไรที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับตัวเอง หรือไม่เคยรู้ว่าเราเป็นแบบนี้มาก่อน แล้วค่อยๆ พัฒนาต่อว่า เราอยากจะใช้ตัวตนไหนกับบทบาทแบบไหน ที่สำคัญเลยคือเสียงของคนอื่นมันมีอิทธิพลกับตัวจนเรามากน้อยแค่ไหน” 

“คนส่วนใหญ่จะชอบคิดว่า ‘เราเป็นคนแบบนี้’ ผ่านสิ่งที่คนอื่นมองและบอกว่าเราเป็น โดยที่จริงๆ แล้วมันเป็นเสียงของคนอื่น มันทำให้คนเราต้องทุกข์ทนกับสิ่งที่คนอื่นบอกว่าเราเป็น แล้วนำไปสู่ภาวะเบิร์นเอาท์(หมดไฟ) ด้วยความพยายามจะเป็นอย่างที่คนอื่นบอกมากเกินไป” 

คอมเมนต์หรือความเห็นจากคนอื่นที่ดูเหมือนเป็นเพียงคำพูดธรรมดานี่ล่ะ ที่มันฝังลึก ฝังเข้าไปในใจและเป็นสิ่งที่บอกเราให้เข้าใจว่า เราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งๆ ที่ความจริงอาจไม่ใช่หรือไม่ทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ แล้วเราเป็นใคร? ถ้านี่เป็นคำถามที่ทำให้เราอยากรู้จักตัวเองมากขึ้น ลองพูดคุยกับปรางหรือ Self-Facetory ดู อาจจะได้คำตอบบางอย่างที่เซอร์ไพรซ์ และได้แสดงออกตัวตนอย่างที่เราเป็นจริงๆ ในวันหนึ่งก็เป็นได้

Contact : Self-Factory

อ่านเรื่องราวอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ทาง CleoThailand หรือ FB: @CleoThailand

More

[ajax_load_more posts_per_page='6']