Cosmoprof CBE ASEAN Bangkok 2025 กลับมาอย่างยิ่งใหญ่!

ถ้าคุณคือผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจความCosmoprof CBE ASEAN Bangkok 2025 งาม ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ผู้ผลิต หรือกำลังอยากสร้างแบรนด์ความงามเป็นของตัวเอง ห้ามพลาดกับงานธุรกิจความงามแห่งปี ที่คุณรอคอย!

เวียงจันทน์ ความงามเรียบง่านริมฝั่งโขน

เวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว อาจไม่ได้คึกคักเหมือนกรุงเทพฯ หรือฮานอย แต่กลับมีเสน่ห์เฉพาะตัวที่ชวนให้หลงใหล ด้วยวิถีชีวิตที่เรียบง่าย สถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างอาณานิคมฝรั่งเศสและวัฒนธรรมล้านช้าง เวียงจันทน์จึงเป็นจุดหมายปลายทางที่ควรค่าแก่การมาเยือนสำหรับนักเดินทางที่ต้องการสัมผัสวัฒนธรรมลาวอย่างแท้จริง

งานแสดงสินค้าความงาม ไต้หวัน 2025: ปรากฏการณ์แห่งนวัตกรรมและความงาม

มหกรรมความงามไทเป 2025: เมื่อนวัตกรรมกลายเป็นภาษาแห่งความงาม
ในโลกที่เทคโนโลยีและความงามเริ่มหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว มหกรรมความงามประจำปี 2025 ที่ไทเปกำลังจะพลิกโฉมวงการความงามครั้งใหญ่ นักนวัตกรรมจากทั่วโลกต่างเตรียมนำเสนอผลงานล้ำสมัยที่จะเปลี่ยนแปลงมุมมองของเราต่อความงาม ตั้งแต่เครื่องสำอางอัจฉริยะไปจนถึงเทคโนโลยีการดูแลผิวที่ล้ำหน้า ทุกนวัตกรรมที่นี่ล้วนมุ่งตอบโจทย์ความต้องการที่ซับซ้อนและเฉพาะตัวของผู้บริโภคยุคใหม่




Career

“ทำเท่าที่ต้องทำ” เทรนด์ทำงานยุคนี้ที่หัวหน้าอยากจะร้องยี้…ขอคนมีใจบ้างสิ!



ตอนนี้ในวงการทำงานกำลังมีเทรนด์ที่เกิดขึ้นช่วงหลังโควิดที่คนกลับจาก work from home มาเข้าออฟฟิศแล้วเห็นพฤติกรรมนี้บ่อยมากจนเป็นกระแสที่โดนเรียกว่า “Quiet Quitting” เป็นคำที่ขึ้นเทรนด์ใน TikTok ตอนนี้เลยก็ว่าได้ 

Quiet Quitting เป็นการทำงานของคนยุคนี้ที่จะไม่ยอมทำอะไรมากไปกว่าที่เขียนไว้ใน job description ซึ่งถ้ามองตามตรงคนทำงานก็รู้สึกถูกแล้วนี่ ฉันได้เงินค่าจ้างมาเท่านี้ ฉันก็ทำแค่นี้ ใครมาขอทำอะไรเพิ่มก็ตอบไปว่า “ไม่ค่ะ” ถ้างานที่เกินเวลาหรือล้ำเข้าไปในวันหยุด ยังไงก็ไม่ทำแน่ๆ ด่วนแค่ไหนก็ไม่สน ไม่ใช่ปัญหาของพนักงานอย่างเราสักหน่อย ให้เราทำเสาร์อาทิตย์ก็ไม่เห็นมีเงินโอทีให้เลย 

ส่วนในมุมของหัวหน้า ผู้จัดการหรือเจ้าของกิจการอาจไม่เข้าใจว่าทำไมคนที่ทำงานไปวันๆ ไม่มองถึงผลลัพธ์หรือความสำเร็จร่วมกัน บางครั้งงานอาจจะเกินเลยเวลาส่วนตัว แต่ก็ไม่บ่อยถึงขนาดที่เรียกว่าเอาเปรียบ ทำให้เห็นว่าคนๆ นั้นไม่มีใจที่อยากให้งานไปข้างหน้าหรือพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น เมื่อเป็น 2 มุมมองความแตกต่างทีนี้คนทำงานที่รักษาขอบเขตตัวเองจัดๆ จะมองว่าเขาก็ไม่ต้องการเพิ่มตำแหน่งหรือโบนัส เพราะบางบริษัทก็ไม่เคยมีเอ็กซ์ตร้าให้อยู่แล้ว ขออยู่สบายไปวันๆ แบบนี้ดีกว่า แต่ถ้าเกิดการเลย์ออฟเมื่อไหร่ คนกลุ่มนี้จะโดนหมายหัวเป็นกลุ่มแรกๆ 

แต่เรื่องนี้มีหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งอาจเป็นคนนิสัยเฉื่อยชา รักความสบายเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ก็มีหลายคนที่เกิดอาการหมดไฟและหมดใจ เพราะเจอวัฒนธรรมองค์กรที่เช้าชามเย็นชามแบบนี้เต็มไปหมด จะมาบ้าพลังคนเดียวก็ไม่รู้ว่าจะทำไปเพื่ออะไร บางคนเจอหัวหน้าที่ไม่ซัพพอร์ต เห็นแก่ตัว ปาดไปทุกผลงาน บริษัทเองก็ไม่เคยให้ค่าตอบแทนใดๆ เพิ่ม บางคนเงินเดือนไม่เคยขึ้นมาสิบปี พูดถึงโบนัสนี่ขำเลยนะ ไม่เคยรู้จัก เขาเลยคิดว่าทำมากไปทำไม เจ้าของก็รวยอยู่ดี

สุดท้ายไม่ว่ามองไปทางไหนก็คือความพังทั้งกับตัวคนที่คิดทำงานไปวันๆ และองค์กรบริษัททั้งนั้น จะดีกว่ามั้ย? ถ้าเริ่มต้นกับตัวเองว่าเราจะทำงานด้วยแพชชั่น ทำเพื่อประโยชน์ของตัวเอง มองความจำเป็นของตัวงานมากที่สุด แต่ถ้าเยอะเกินไปหรือรู้สึกว่าไม่ยุติธรรม เราค่อยมาพิจารณาว่างานนั้นอาจไม่เหมาะกับเรา ดีกว่าปล่อยเกียร์ว่างให้คนอื่นเขาลำบากใจ และคนที่เราเจอในการทำงานทุกวันนี้ ไม่มีทางรู้เลยว่าจะโคจรกลับมาเจอกันในรูปแบบไหน ถ้าเราทำตัวเป็นคนทำงานอย่างเต็มที่ คนอื่นจะมีภาพจำเราว่าเป็นคนขยัน อดทน สนุกที่ได้ทำงานด้วย ทีนี้โอกาสจะมาเองเลย มีคนมาเสนองานให้เงินเพิ่มแบบเราไม่ต้องร้องขอ หรือบางครั้งโลกกลมที่เราไปสมัครงานที่ใหม่ คนที่ใหม่เขาไปสืบกับคนที่ทำงานเดิม แล้วพูดว่าคนนี้น่ะเหรอไม่เวิร์คหรอก ไม่เห็นทำงานอะไรเลย จบกันเลยอนาคตที่สดใส เรซูเม่ปลิวหายไปในพริบตา

ดังนั้นต่อไปนี้ยังไม่ต้องเริ่มพูดว่าเงินคุ้มมั้ย แต่ให้พูดว่าเราพยายามอย่างเต็มที่พอหรือยัง  ทำดีที่สุดแล้วใช่มั้ย ถ้าไปสุดแล้วดีหรือไม่ดี ไปต่อกับงานนี้ได้หรือเปล่า เราจะมีคำตอบในใจเอง แต่อย่าทำไปวันๆ เพราะคิดว่าธุระไม่ใช่ จะไม่มีผลดีกับใครเลยโดยเฉพาะช่วงฟื้นตัวธุรกิจอย่างในตอนนี้

More

[ajax_load_more posts_per_page='6']