ฉันไม่โชคดีพอที่จะมีผู้ชายสักคน “มองเห็นฉันในแบบที่ฉันเป็น”

ฉันไม่ได้โชคดีแบบนั้น ฉันไม่ได้โชคดีพอที่จะมีผู้ชายสักคนมองเห็นฉันในแบบที่ฉันเป็น มองเห็นความเจ็บปวดของฉัน และอยากฉุดฉันขึ้นไป ไม่มีวิธีไหนอีกแล้วที่ฉันจะบอกตัวเองได้ดีไปกว่า “ยอมรับความจริงเถอะ” ทุกครั้งเวลาที่ฉันเห็นใครๆ เขารักกัน ความหวังในใจ ความเพ้อทุกครั้งที่กดแอปสีดำแดงเพื่อเลือกซีรีย์เกาหลีเรื่องใหม่ โจทย์ของฉันไม่มีอะไรมาก ต้องเป็นเรื่องที่ฉันสามารถสมมุติตัวเองเป็นนางเอกในเรื่องได้ แล้วจินตนาการต่อว่า บางทีฉันอาจจะเจอผู้ชายในชีวิตจริง ที่เป็นเหมือนพระเอกในเรื่อง หนังสือฮาวทูบอกว่า ให้คิดว่าอยากได้ผู้ชายแบบไหน ลิสต์ออกมาให้เยอะที่สุด แล้วตัดออกให้เหลือสัก 10 ข้อว่านั่นคือคุณสมบัติผู้ชายที่อยากได้ ฉันลองทำและกุมลิสท์นั้นไว้แน่นในกระเป๋าสตางค์ เอามาเปิดอ่านบ่อยๆ ด้วย บางทีที่เขาบอกว่าคืนพระจันทร์เต็มดวง พระจันทร์จะมอบพลังงานของความรักดูดใครให้เข้ามาในชีวิต ฉันจะเอาลิสท์นั้น ออกไปหาแสงจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐาน แล้วนึกถึงเขา แน่นอนว่าฉันมีความเชื่อ ยังคงเชื่อ และก็จะเชื่อต่อไป เรื่องราวในโทรศัพท์กับเพื่อนสาว เราจะวนเวียนกันที่ซีรีย์ที่เพิ่งดู กรี๊ดพระเอก อยากบินไปเกาหลี แล้วเราก็จะกลับมาที่เรื่องของเรากัน ทำไมเพื่อนคนนั้นได้แฟนดีจัง แฟนเขาพาไปเมืองนอกบ่อยมากเลย เขาไปทริปกันอีกแล้ว ฉันกับเพื่อนก็ได้แต่พยายามหาเรื่องเน่าๆ ในเรื่องรักของคนอื่น “แต่พวกเขาอาจมีอะไรไม่แฮปปี้ก็ได้นะ พวกเราไม่มีทางรู้หรอก” มันคงเป็นคำปลอบใจที่เราบ่นให้กันฟัง แต่ฉันก็ยังไม่มีใครเข้ามาในชีวิตอยู่ดี “ที่เธอเหนื่อยเพราะไม่มีคนรักหรือเปล่า?” ประโยคจากเรื่อง My Liberation Notes หัวหน้าของพี่สาวนางเอกถามขึ้นมา หลังจากที่เธอมาทำงานแล้วบ่นว่าเหนื่อยๆๆๆๆ ทำไมชีวิตฉันถึงเหนื่อยขนาดนี้ […]

คุณหมอสา-Guardian Diamond พี่สาวที่เปิดประตูลับ ช่วยเคลียร์พลังงานลบให้คุณพบความสำเร็จ

ตั้งแต่เข้าปี 2024 ที่ผ่านมา คลีโอขอบอกว่านี่เป็นการสัมภาษณ์ที่เบิกเนตรให้เรารู้สึกมีความหวังและกำลังใจ รู้สึกว่าจักรวาลมอบของล้ำค่าเอาไว้ให้เราเสมอ เป็นเรื่องไม่บังเอิญที่ทำให้เราได้เจอกับคุณหมอสา หรือหลายคนรู้จักเธอในชื่อ Doctor Diamond กับฉายาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเรื่องเพชรที่ไม่ได้จบแพทยศาสตร์ แต่เป็นผู้ที่ช่วยเยียวยาให้ความรู้กับคนที่สนใจเรื่องเพชร รวมทั้งก้าวเข้ามาแก้ปัญหาชีวิตด้วยพลังของ “เพชรดิบ” ที่ค้นพบพลังงานอันยิ่งใหญ่นี้จนกลายมาเป็นแบรนด์ Guardian Diamond ที่สายมูบอกว่ามาลองแล้วขนลุกซู่ทุกคน ลูกสาวครอบครัวคนจีนที่ฝึกค้าขายตั้งแต่เด็ก “ตอนเด็กไม่รู้ว่าเราอยากเป็นอะไร พ่อแม่อยากให้เรียนที่เอแบค เพราะเห็นว่าเราภาษาดีมาตั้งแต่เด็ก เราไม่มีฝันเลย เป็นเจเนอเรชั่นที่ที่บ้านเป็นคนจีน ดังนั้นก็จะมีบอกแค่ว่าต้องมาช่วยพ่อแม่นะ เราก็รู้สึกว่าเราต้องทําไปจนตลอดชีวิต ไม่เคยมีความคิดอื่นเลย ที่บ้านทำธุรกิจขายเพขร เรียนจบมาให้ไปเรียนดูเพชรนะ เราก็ไป ซึ่งเรียนดูเพชรของสถาบัน GIA ซึ่งตอนนั้นมีสาขาในประเทศไทย เป็นโรงเรียนเล็กๆ ในยุค IMF ค่ะนานมากแล้ว” “คุณพ่อคุณแม่พยายามหนักมากในการส่งเราเรียนนะคะ จําได้เลยว่าแม่ให้เราเดินเข้าไปถามแล้วขอตีเช็ค 4 ใบจ่ายค่าเทอมได้ไหม ช่วงนั้นเราก็รู้เลยว่าชีวิตไม่ได้ง่าย ต้องเรียนให้จบกลับไปช่วยเขา เพราะแม่ก็จะพูดตลอด ตาแม่ก็เริ่มไปแล้วนะ เหมือนเขามาเปิดร้านตอนประมาณ 40 กว่าแล้ว ดังนั้นจะให้เค้าดูเพชรไปตลอดก็เป็นไปไม่ได้ เราเริ่มทําทุกอย่างตั้งแต่เสิร์ฟน้ํา เช็ดตู้ วิ่งงาน บางทีมีงานช่าง เราก็ขับรถออกไปเอง เดินส่งของส่งงาน แม่จะเหน็บเราไปด้วย […]

5 วัดปังในฮ่องกง ขออะไรเทพให้รัวๆ

“เก่งอย่างเดียวแต่ไม่เฮงก็ประสบความสำเร็จยาก” คำพูดนี้ดูจะไม่เกินความจริงไปสักเท่าไหร่นัก ในปัจจุบันเป็นยุคที่วัยรุ่นกำลังสร้างตัว หลายๆคนที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจบางคนบอกว่าเกิดจากความสามารถของตัวเอง แต่หลายๆคนเปิดเผยความลับว่าส่วนหนึ่งมาจากการมูในสถานที่ที่มีพลังงานประกอบกับพิธีกรรมที่ถูกต้องทำให้มีทั้งพลังจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์และกำลังใจในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

“อกหัก” คือสิ่งยอดเยี่ยมที่เกิดกับฉัน ฉันเลิกโกหกตัวเองสักที

เราอย่าเพิ่งกลัวการอกหัก หรือการเลิกกับใครนะ เพราะเหตุการณ์จี๊ดในหัวใจนี้ จะนำพาคุณไปเจอตัวเอง เจอสิ่งใหม่ เจอโอกาสดีๆ ในชีวิตมากมาย เหมือนกับที่ เอมม่า กิบบ์ส นักเขียนและโปรดิวเซอร์รายการทีวีของออสเตรเลียเจอมา เธอเอาสิ่งนี้มาพูดในเท็ด ทอล์ค หมัดฮุคเลยคือเธอบอกว่า “อกหักไม่เพียงแต่จะทำให้เธอเห็นหัวใจตัวเอง ยังทำให้เธอเลิกโกหกตัวเอง และก็เลยเลิกโกหกทุกสิ่ง เรื่องดีๆ ในชีวิตเลยสาดเข้ามาเต็มๆ เลย” เอมม่าเล่าว่า…. ชีวิตฉันเหมือนจะดีนะ ฉันได้ทำงานที่ฝัน อยู่ในเมืองที่ดี “แต่ฉันกลับไม่มีความสุข ฉันโกหกตัวเองทุกวันว่า เดี๋ยวมันก็จะดีเองแหละ” ฉันใช้ชีวิตไป 3 ปีเต็มที่โกหกตัวเอง และบอกตัวเองว่าสิ่งนี้เป็นไปตามแพลนแล้วนะ ในขณะที่หัวใจฉันบอกว่า “เฮ้! เธอมีปัญหาแล้วล่ะ” ฉันใส่เสียงนี้เอาไว้ในตู้ และเอาความคิดควบคุมมันเอาไว้ ฉันคิดว่าถ้าฉันพยายามมากพอจะทำให้ทุกสิ่งเวิร์ค มันก็น่าจะเป็นอย่างนั้น แต่สิ่งที่ฉันได้รับคือ ทั้งกาย อารมณ์ จิตวิญญาณของฉันมันเหือดแห้งมาก ฉันกลายมาเป็นคนที่ขึ้นอยู่กับแผนในชีวิต ฉันไม่ไปเจอเพื่อน ไม่ไปเที่ยวไหน ไม่เจอครอบครัว ไม่เจอใครใหม่ๆ และฉันไม่อยากทำงานกับแพชชั่นของตัวเอง ฉันมัวแต่หาทางซ่อมสิ่งที่ไม่ใช่ของชีวิตฉัน ความตลกก็คือในขณะที่คุณกำลังพยายามทำให้แผนชีวิตของคุณเวิร์ค แล้วคุณก็ต้องฝืดมากๆ นั่นน่ะ คุณเริ่มจะคิดแล้วว่า “แล้วทำไมฉันต้องมีแผนนั้นตั้งแต่แรกนะ” ฉันเริ่มลืมว่าทำไมฉันถึงอยากเป็นนักเขียน […]




Well-Being

‘เชอรี่-เข็มอัปสร’ ผู้หญิงที่รักการได้กินข้าวดีๆ จนมี Sirithai แบรนด์ข้าวเป็นของตัวเอง

Sirithai

เข็มอัปสร สิริสุขะ หรือ เชอรี่ นางเอกที่ไม่ได้หายหน้าหายตาไปไหน เพียงแต่เธอแบ่งเวลาไปสนใจข้าว จากเกษตรกรไทย ขับเคลื่อนด้วยความชอบในการกินข้าว จนสร้างแบรนด์ Sirithai ขายข้าวเกษตรอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์จากน้ำมันรำข้าวที่ออแกนิคตั้งแต่ต้นจนถึงปลายน้ำ ที่สำคัญคือต้องสั่งจองล่วงหน้า เธอจะผลิตตามความต้องการบริโภคเท่านั้น

Sirithai เริ่มขึ้นเมื่อประมาณปีที่ผ่านมา เมื่อ Covid-19 ดูเหมือนจะค่อยๆ เบาลงช่วงหนึ่งเชอรี่มองว่ากลุ่มเกษตรกรไทยน่าจะเดือดร้อนจากการขายผลิตผล จึงอยากหาทางช่วยอะไรสักอย่าง แต่เมื่อต้องเลือกว่าจะช่วยอย่างไร ทางไหน และกลุ่มไหนดี จึงมีไอเดียปิ๊งมาจากความชอบส่วนตัว 

“ส่วนตัวเป็นคนชอบทานข้าวไทยมากๆ เลยอยากจะเริ่มจากสิ่งที่ตัวเองรัก” แต่ในขณะเดียวกันอีกสิ่งที่เชอรี่มองเห็นและคลุกคลีกันมันตลอดมาก็คือ ‘ปัญหาสิ่งแวดล้อม’ “เป็นเป้าหมายหลักของเชอรี่ด้วยเหมือนกัน เวลาเราไปลงพื้นที่แล้วเราได้ทราบว่าการปลูกหรือการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจริงๆ แล้วเป็นทางหลักในการแก้ปัญหาในการตัดไม้ทำลายป่าในประเทศได้ดีมาก เลยเริ่มมองหาชุมชนที่เขาใช้วิธีการเกษตรที่ดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย” 

จากการเริ่มมองหาสู่การอยากจะเปลี่ยนแปลง

จริงๆ แล้วเชอรี่ไม่ได้เพียงแต่อยากมองหาชุมชนที่รักสิ่งแวดล้อม แต่เธออยากจะลงมือเปลี่ยนแปลงมากกว่านั้น “อยากจะสนับสนุนชุมชนที่ไม่ได้ทำด้วยวิธีการนี้ให้เปลี่ยนมาใช้วิธีการนี้ แต่ก็รู้สึกว่าคงจะต้องเตรียมตัวยาวไกลมากจะไม่ได้เริ่มสักที เลยเลือกจากชุมชนที่เขาดูแลสิ่งแวดล้อมก่อน แล้วเอามาขยายตลาดให้เขา” เธอเริ่มจากการลองทานข้าว โดยได้ ​​เชฟโจ้-วรวุฒิ ตริยเสนวรรธน์ จากร้าน ซาหมวย & Sons ที่ช่วยส่งข้าวออแกนิคมาให้เชอรี่ชิม จาก 20 กว่าสายพันธุ์เธอก็คัดจนเหลือเพียงไม่กี่สายพันธุ์ ตามด้วยตรวจสอบวิธีการผลิตว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างที่เธอคาดหวังเอาไว้ สุดท้ายก็ได้ข้าวจากชุมชนบ้านโคกสะอาด จังหวัดสกลนคร

เชอรี่เดินทางไปตรวจสอบด้วยตัวเองเลยว่ามีการไม่ใช้สารเคมีอย่างไร ดูแลป่าไม้แบบไหน “พอเราไปในพื้นที่แล้วรู้สึกเลยว่าใช่ ที่นี่ตอบโจทย์สิ่งที่เรากำลังมองหาเลย ก็เลยสร้างแบรนด์ Sirithai โดยการรับซื้อข้าวจากชุมชนบ้านโคกสะอาด จะมีข้าวหลากหลายชนิด แล้วก็มองว่าเราอยากจะขยายไปยังชุมชนอื่นๆ แต่โควิดหลายระลอกนี้ทำให้การเดินทางของเราชะงักลง” 

น้ำมันรำข้าว และความเป็นธรรมชาติที่จะช่วยเยียวยาเรา

แต่จนล่าสุดก็เกิดโปรดักส์ไลน์ใหม่ก็คือสบู่จากน้ำมันรำข้าว ก็ได้คำแนะนำจากอาจารย์วิศวะสิ่งแวดล้อม ที่จุฬาฯ ให้รู้จักกับชุมชนเลิงนกทา จ. ยโสธร ว่าเขาทำน้ำมันรำข้าว เธอก็ลงมือประชุมพูดคุยกันทางออนไลน์ เพื่อสอบถามจนได้ทดสอบน้ำมันรำข้าวนี้ด้วยตัวเอง “คุณภาพดีมาก เชอรี่อยู่บ้าน เราพยายามจะลดขยะของตัวเอง ตั้งแต่เศษอาหาร แพคเกจจิ้งต่างๆ ถ้าเราลดผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันได้ก็น่าจะดี ก็เลยลองทำสบู่ใช้เอง” นี่เลยเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เชอรี่ต้องหาวัตถุดิบที่ดีที่สุด “เราได้เจอน้ำมันรำข้าวที่สกัดมาใช้ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปใช้เป็น supplyment พอเราลองนำมาทำสบู่แล้วรู้สึกเลยว่ามันดี ใช้แล้วรู้สึกดีกับผิวมากๆ”

หลังจากนั้นเชอรี่ก็เริ่มจากส่งให้คนที่สนิทหลายๆ คนรอบตัวลองใช้ “เพราะทำครั้งหนึ่งก็ได้เยอะเหมือนกัน ทุกคนก็ชอบ พอเริ้มมองเห็นความเป็นไปได้ในการสนับสนุนอีกหนึ่งชุมชนที่ทำการเกษตรแบบดูแลสิ่งแวดล้อม เราก็เลยเริ่ม Sirithai Artisan Liquid Soap ค่ะ” 

“เชอรี่ยังเชื่อในเรื่องของการให้ธรรมชาติเยียวยา ใช้ทุกอย่างที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติให้เยอะที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เราจึงต้องเลือกวัตถุดิบของเราให้เป็นเกรดพรีเมี่ยมที่สุด แล้วกระบวนการที่จะทำมันก็ต้องไม่ทำลายสารอาหารที่มันดีมากอยู่แล้ว” เลยเป็นเหตุที่ทำให้เธอต้องค้นหาการผลิตสบู่ให้ออกมาปลอดภัยแม้แต่กลิ่นที่มาจากน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณสมบัติช่วยบำรุง หอมด้วย ได้ประโยชน์ด้วย 

“อย่างที่บอกว่าเราใช้น้ำมันรำข้าวที่สกัดภายใน 24 ชั่วโมง เราก็ต้องหากระบวนว่าจากแหล่งผลิตมาจนถึงเราจะทำยังไงให้คงความเป็น 24 ชั่วโมงอย่างเป็นธรรมชาติด้วย รวมไปถึงการไม่ใช้ความร้อนสูงที่จะไปทำลายคุณค่าของวัตถุดิบเรา”

ทุกวันนี้หากพูดถึงคำว่าออแกนิคที่คนทั่วไปเข้าใจ อาจไม่ได้หมายถึง ‘ออแกนิค’ อย่างที่ควรจะเป็น ออแกนิคอุตสาหกรรมยังคงทำให้คนเข้าใจผิด “การทำเกษตรอุตสหากรรมยังไงก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมาก เราอยากสนับสนุน Responsible Farming เพราะมองว่ามันเป็นสิ่งที่จำเป็นและจะช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากมนุษย์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการสร้างผลกระทบแง่ลบต่อสิ่งแวดล้อม ถ้าเราเปลี่ยนตรงนี้ได้เชอรี่มองว่าเราจะสามารถแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ยิ่งยืนมากขึ้นได้” 

เริ่มที่ตัวเราง่ายๆ เราเลือก เราใช้ เราได้มีชีวิต

“ผู้บริโภคสำคัญมากๆ ในการวางแนวทางของตลาด” ผู้ผลิตจะรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ มากแค่ไหน ผู้บริโภคต่างหากที่เป็นผู้ชักนำ “ผู้บริโภคที่ต้องการจะสนับสนุนผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือชุมชนที่ทำการเกษตรที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เชอรี่คิดว่าสำคัญมากๆ ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่น่าเป็นห่วงมากๆ ตอนนี้” เธอขอใช้คำว่า ภาวะฉุกเฉินของโลกใบนี้อยู่ในมือของมนุษย์ทุกคน

ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตของตัวเอง “ได้ทุกแง่มุมนะ ถ้าเป็นเชอรี่หลักๆ เลยคือทำยังไงให้เราสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด และสร้างประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด แค่ทานอาหารให้หมดก็ลดการสร้างขยะอาหารแล้ว”

ลดการสร้างขยะ “พวกบรรจุภัณฑ์ที่เราสามารถใช้ซ้ำใส่อะไรบางอย่างแทนได้ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องมีการจัดการที่ดี แยกขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปสู่การจัดการที่ดี” หลายคนอาจมองว่าแยกไปยังไงก็เทรวม แต่เชอรี่มองว่าเราทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ขยะที่มีมูลค่าจะถูกนำไปจัดการอย่างถูกต้องแน่นอน

รู้คุณค่าของทุกสิ่ง “ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะทุกวันนี้การใช้ชีวิตของเราทุกคนสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก สิ่งเราไม่สามารถเลี่ยงการใช้มีอยู่มากมาย แต่บางอย่างที่เราเลี่ยงได้ รู้คุณค่าของทุกสิ่งที่เป็นทรัพยากรใดใด จะช่วยลดความสิ้นเปลืองและลดการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้มาก”

“อย่างข้าวเราก็จะวางขายทางออนไลน์เป็นหลักค่ะ และหน้าร้านที่สนับสนุนสินค้าเกษตรอินทรีย์บางแห่ง แต่สบู่เราทำแบบ made to order ด้วยต้นทุนที่ค่อนข้างสูง พอคนสั่งมาแล้วเราก็ผลิตให้ ด้วยความที่สบู่เราไม่มีสารเคมี ก็อยากจะให้ผู้บริโภคใช้ภายใน 3-6 เดือน หลังจากผลิต ก็จะเฟรชที่สุด ได้คุณภาพสูงที่สุด”

Sirithai

หลายคนอาจจะสงสัยเหมือนกับเราว่าเชอรี่เล่าถึงสิ่งแวดล้อม แต่ทำไมเลือกใช้ขวดพลาสติก ซึ่งเธอมีเหตุผลที่จะทำให้คนส่วนหนึ่งที่ยังไม่เข้าใจในพลาสติกได้เข้าใจการใช้วัสดุนี้จริงๆ ว่า “เราต้องการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง อย่างถุงพลาสติกก็จะมีความเป็นไปได้ และนำไปรีไซเคิลลำบากกว่า เลยเป็นที่มาของการใช้ขวดพลาสติกแบบที่สามารถใช้ซ้ำได้จนกว่าจะใช้ซ้ำไม่ได้อีก ก็จะนำไปรีไซเคิลทำเป็นอย่างอื่นได้ง่าย เช่นเดียวกับบรรจุภัณฑ์ของสบู่เหลวของเรา เชอรี่เลือกเป็นพลาสติกใสทั้งคู่ ฉลากแกะง่าย เพื่อนำไปรีไซเคิลได้” 

เธอให้ความเข้าใจเพิ่มเติมอีกว่า เมืองไทยอาจยังไม่สามารถรีไซเคิลพลาสติกสีได้หรืออาจได้ในปริมาณที่น้อย พลาสติกใสจะง่ายกว่า “และระบบรีฟิลของเรา นำส่งกลับมาหาเราได้ ทั้งข้าวทั้งสบู่ ซึ่งก็จะได้ลดราคาเล็กน้อย แต่ก็จะเป็นการช่วยยืดอายุของบรรจุภัณฑ์ได้นานขึ้น ลดปัญหาขยะพลาสติกลงได้ ในเรื่องของความสะอาดและปลอดภัยเราทำให้อย่างดีค่ะ”

ผู้ที่สนใจสอบถามเกี่ยวกับสบู่ Sirithai Artisan Liquid Soap ได้ทาง LINE @sirithaibrand

และซื้อข้าวไทยพันธุ์ที่ดีที่ถูกคัดสรรโดย เชอรี่ เข็มอัปสร สิริสุขะ ได้ทาง shopee.co.th/sirithaibrand 

อ่านเรื่องราวอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ทาง CleoThailand หรือ FB: @CleoThailand

More

[ajax_load_more posts_per_page='6']