คลีโอชี้เป้า! สองไอเทมนี้จะทำให้ผิวหน้า +ผิวกายของเราอย่างไบรท์! จนต้องได้รางวัล CLEO Beauty Hall of Fame2024

อะไรดีเราต้องประกาศให้โลกรู้ 2 ไอเทมที่ได้ลองใช้แล้วรู้สึกว่าดีจนต้องให้เป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์บิวตี้ CLEO Beauty Hall of Fame ของปี 2024 นี้ มาทั้งผิวหน้าและผิวกาย รักจริง เริ่ดจริง!

เปิดตัว 3 ไอเท็มเมคอัพสุดเริ่ดจาก IN2IT  ที่คลีโอรักมาก

ถ้าให้พูดถึงไอเท็มเมคอัพที่ใช้ยังไงก็ไม่เบื่อ หยิบมาใช้ตอนออกงานก็สวยแพง ใช้ในวันรีบ ๆ ก็สวยเป๊ะ ใช้ตอนไหนก็ได้ลุคสวยทุกครั้ง คลีโอขอยกให้แบรนด์ IN2IT เป็นแบรนด์ขึ้นหิ้งของเมคอัพราคาน่ารักแต่คุณภาพเกินต้าน ยิ่งตอนนี้เดินทางมาถึงเทศกาล CLEO Beauty Hall of Fame 2024 คลีโอก็ไม่พลาดมอบรางวัลให้ IN2IT ไปอีกปี รอบนี้คว้ามงไปจุก ๆ 3 ชิ้น บอกเลยว่าทุกชิ้นที่ให้รางวัล คลีโอรักมากกก และอยากแชร์ต่อจริง ๆ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย 

สนุกให้สุด ไม่หยุดเป็นตัวเอง เพิ่มความมั่นใจใต้วงแขนด้วยไอเท็มสุดเริ่ดจาก Ri en 

มีใครเป็นสายฟรีสปิริตแบบเราบ้าง จะทำอะไรก็ต้องทำให้สุด ไม่หยุดเป็นตัวเอง ลุย ๆ พร้อมทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะปาร์ตี้ ทำกิจกรรม หรือเที่ยวในแบบที่ต้องการ แต่มีอยู่หนึ่งสิ่งสำคัญที่สาว ๆ อย่างเราต้องใส่ใจเป็นพิเศษ นั่นก็คือเรื่องผิวใต้วงแขนนั่นเอง เพราะถ้าหากผิวบริเวณนั้นดำคล้ำ หรือมีกลิ่น ไม่เนียนสวย ก็อาจทำให้ความมั่นใจหรืออินเนอร์ความกล้าของเรานั้นหายไปด้วยได้เช่นกัน แต่วันนี้ คลีโอมีไอเท็มดูแลผิวใต้วงแขนจากแบรนด์ลูกรักอย่าง Ri en มาฝาก แอบกระซิบว่าเป็นไอเท็มที่เราใช้มาตลอด และก็มอบรางวัล CLEO Beauty Hall of Fame 2024 ให้ด้วยนะ เดี๋ยวมาเล่าให้ฟังว่ามันเริ่ดยังไง




Health

11 สิ่งสำคัญที่หมอจากห้องฉุกเฉิน อยากให้คุณรู้และรอดก่อนต้องมา!!



เรื่องนี้อาจเป็นสิ่งเล็กๆ แต่เราคิดว่ามีประโยชน์ต่อชีวิตของคุณและทุกคนในครอบครัว คลีโอเลยอยากเอาความจริงบางอย่างหลังห้องฉุกเฉินที่เราได้ไปพูดคุยกับพี่หมอเปิ้ล – ปิยวดี ชัยชาญพิมล แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน จากโรงพยาบาลวิภารามพัฒนาการ มาบอกเล่าถึงเหตุการณ์จริงและสิ่งที่คุณจะเตรียมตัวเอาไว้เมื่อสิ่งที่ไม่คาดคิดทำให้ต้องเข้าไปรักษาหรือพาคนอื่นไปเพื่อเซฟชีวิตอย่างเร่งด่วน เพราะทุกวินาทีมีค่ามากๆ

  1. เล็บเจลทำให้วัดอ็อกซิเจนไม่ได้
    เป็นเรื่องที่หลายคนไม่ทันคิดเลยจริงๆ เพราะไม่มีทางรู้ว่าเราจะต้องเข้าไปที่ห้องฉุกเฉินวันไหน คุณหมอเปิ้ลบอกว่าการรักษาต้องดูปริมาณอ็อกซิเจนและอัตราการเต้นของหัวใจด้วยเครื่องหนีบที่ปลายนิ้ว เครื่องจะวัดบนเล็บที่ทามาไม่ได้ ซึ่งในห้องฉุกเฉินมีน้ำยาล้างเล็บแบบธรรมดา ไว้เช็ดล้างสียาทาเล็บ แต่ไม่มีแอดวานซ์ถึงเล็บเจลที่ปกติเวลาจะล้าง ยังต้องไปให้พี่ช่างล้างให้เลย คุณหมอและพยาบาลจึงต้องเอาเครื่องไปหนีบที่นิ้วเท้าแทน แต่การวัดที่นิ้วเท้าไม่แม่นยำเท่านิ้วมือที่อยู่ใกล้หัวใจมากกว่า ส่วนคนที่ทำเล็บเจลทั้งมือและเท้าด้วยโอกาสวัดสัญญาณชีพต่างๆ ก็ทำไม่ได้เลย
  2. ถอดเครื่องประดับต่างๆ ออกเตรียมไว้เลย
    ก่อนมาที่ห้องฉุกเฉิน ถ้าเรายังพอมีสติหรือเราไปเป็นเพื่อนผู้ป่วย ตุ้มหู กำไล สร้อยคอต่างๆ ถอดแล้วเก็บไว้ก่อนเลย เพราะถ้าให้เจ้าหน้าที่ถอดให้จะมีขั้นตอนที่ใช้เวลา ทางเจ้าหน้าที่ต้องใส่ถุง ถ่ายภาพเอาไปฝากแผนกทรัพย์สิน ยิ่งเป็นของมีค่า ทางเจ้าหน้าที่ก็กลัวจะสูญหาย เก็บเอาไว้ที่บ้านก่อนมาหรือฝากคนไว้ใจได้ก่อนรักษาดีกว่า
  3. เตรียมเอกสารประจำตัวและยาเดิมมาด้วย
    ช่วงเวลาที่เกิดเหตุอะไรไม่คาดฝัน คนจะตกใจแล้วมุ่งแต่ส่งโรงพยาบาลอย่างเดียว ทำให้ลืมเอาบัตรประชาชน บัตรผู้ป่วย บัตรต่างๆ ที่ใช้ยืนยันตัวตน รวมทั้งยาเดิมที่เคยกิน เวลาคุณหมอซักประวัติอาจจำชื่อยาที่กำลังกินอยู่ไม่ได้ ต้องให้คนที่บ้านเอามาให้หรือต้องเช็คประวัติกันนานไปอีก
  4. ควรมีคนเห็นเหตุการณ์มาด้วย
    บางครั้งอาการชัก เป็นลมหมดสติ ผู้ป่วยอาจจำเรื่องราวที่เกิดขึ้นไม่ได้ ถ้ามีคนเห็นหรืออยู่ในเหตุการณ์นั้น ทำให้คุณหมอสอบถามได้ว่ามีอาการอะไรนำมาก่อนมั้ย เพราะส่วนใหญ่คนที่เห็นจะไม่ค่อยมาด้วย คนที่พามาก็ไม่รู้
  5. ชุดถอดยาก เจ้าหน้าที่ต้องตัดนะ
    เพื่อให้การกู้ชีพทำได้เร็วที่สุด เจ้าหน้าที่อาจจำเป็นต้องตัดชุดของคุณออก อันนี้ป้องกันยาก เพราะไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นล่วงหน้าก่อนออกจากบ้าน แต่ต้องทำใจบอกลาเสื้อผ้าไว้หน่อย อย่างเกิดเหตุขาหัก แล้วใส่สกินนี่ยีนส์ ถอดไม่ได้เด็ดขาด เพราะกระดูกผิดรูปแน่ ที่ต้องบอกก่อนก็ชุดบางคนเป็นหมื่นๆ แสนๆ อย่าว่าพี่ๆ เจ้าหน้าที่นะ มันจำเป็นจริงๆ
  6. หยุดเลือดไว้เบื้องต้น
    แผลที่มีเลือดออกเยอะๆ เสี่ยงต่อการช็อค เสียเลือดมากเกินไป ให้หาผ้าที่สะอาดแล้วใช้มือกดลงบนบาดแผลตรงๆ กดไว้แล้วรีบมาที่โรงพยาบาลเลย
  7. บาดแผลที่โดนเสียบหรือแทงอย่าดึงออกเองเด้อ
    ข้อนี้ดูหนังมาพอจะรู้อยู่บ้าง คุณหมอเปิ้ลบอกว่าจริงค่ะ ไม่ว่าจะไม้เสียบลูกชิ้น ปากกาหรือกระจกอะไรก็ตาม ห้ามดึงออกเอง เพราะวัตถุนั้นอาจแทงหลอดเลือดอยู่ ถ้าดึงออกอาจทำให้เสียเลือดมากจนเสียชีวิตได้
  8. เช็คสิทธิ์การรักษาว่าอยู่ที่ไหน
    คุณรู้หรือเปล่าว่าคนไทยมีสิทธิ์การรักษาทั้งจากประกันสังคม หรือบัตรทองที่ระบุว่าชื่อของเราขึ้นอยู่ที่โรงพยาบาลไหน หลายครั้งที่ไปคนละโรงพยาบาลแล้วเพิ่งรู้ว่าสิทธิ์ตัวเองอยู่อีกที่ ก็ต้องถ่อรถย้ายกันไปอีก หมอเปิ้ลแนะนำว่าคุณสามารถเข้าไปตรวจสอบสิทธิการรักษาที่เว็บของ สปสช. ได้เลย ส่วนคนที่มีประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุฯลฯ ก็อย่าลืมเอาบัตรของแต่ละประกันมาด้วย
  9. ห้องฉุกเฉินไม่ได้แบ่งตามคิว!
    ข้อนี้หลายคนไม่รู้ทำให้เวลาที่เราป่วยแล้วรู้สึกว่ารอนาน อีกคนมาทีหลังทำไมไปรักษาก่อน ทำให้ไปเหวี่ยงแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ได้ แต่การรักษาในห้อง ER จะแบ่งตามความหนักของอาการ เรียกว่า Triage เป็นคำที่เรียกมาตั้งแต่สมัยสงครามที่คนบาดเจ็บเฮโลมารักษาทีเดียวเยอะๆ เลยต้องแบ่งตามสี เช่น ผู้ป่วยสีแดง ต้องรักษาภายใน 3-30 นาที อย่างผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น สีเหลือง รักษาภายใน 60 นาที สีเขียวรอได้มากกว่า 60 นาที (หมอเปิ้ลบอกว่ามีซีรีส์ของไทยที่ชื่อเรื่อง Triage เกี่ยวกับการรักษาในห้องฉุกเฉินด้วยนะ ลองไปดูกันได้)
  10. ถ้าอาการป่วยอดทนไหว รอหาคุณหมอเฉพาะทางดีกว่า
    หมอเปิ้ลบอกว่าคนไข้ที่เข้ามาคุณหมอรักษาทุกคนอยู่แล้ว แต่บางครั้งถ้ามาในเวลาที่ไม่ใช่เวลาทำการ แผนกเฉพาะทางอื่นจะปิด คุณหมอฉุกเฉินสามารถดูแลรักษาเพื่อให้พ้นจากความเจ็บป่วยนั้นในเบื้องต้น แต่ถ้าอยากปรึกษาในด้านเฉพาะทาง แนะนำว่าถ้าอาการไม่รุนแรงให้รอพบคุณหมอตามแผนกอื่นๆ จะได้รับการรักษาที่ลงลึกกว่า ไม่ต้องเสียเวลามาพบคุณหมอหลายรอบ หรือไม่ต้องมารอนานๆ จากกฎการรักษาข้อข้างบน
  11. ระวังเหตุรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น
    อย่างที่เห็นในข่าวบ่อยๆ ห้องฉุกเฉินเป็นส่วนที่คนเข้ามาได้ง่าย บางครั้งเราไม่สามารถรู้เลยว่าเตียงข้างๆ เพิ่งมีเรื่องกับคู่อริมา อาจเกิดเหตุยกพวกเข้ามาทำร้าย คนไข้ที่นั่งใกล้ๆ เกิดสติแตกหรือมีอาการทางประสาทคลั่งขึ้นมา คุณต้องดูสถานการณ์รอบข้างไว้ด้วย เพราะถึงเวลานั้นแม้แต่คุณหมอ พยาบาลก็กระเจิงคนละทิศคนละทาง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนล้วนๆ

More

[ajax_load_more posts_per_page='6']