8 สัญญาณนี้บอกได้ว่าคุณอาจเป็น “Highly Sensitive Person” อ่อนไหวในระดับสูง

ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกันว่าทำไมอะไรนิดอะไรหน่อย เราต้องรู้สึกไปหมด ก็เลยฉุกคิดว่าหรือเราเกิดมาจะเป็นคน Highly Sensitive Person คนที่อ่อนไหวสูง เซนซิทีฟสูงนี่ล่ะ ลองเช็ค 8 สัญญาณนี้เลยนะว่าคุณเป็นหรือเปล่า? ถ้าเป็นก็อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะคน Highly Sensitive Person ก็มีข้อดีมากมายอยู่เหมือนกัน อ่านเรื่องราวอื่นๆ ต่อได้ที่ สุดยอดวิธีแยกแยะอารมณ์เก็บในโหลแก้ว

10 แนวคิดเรื่อง “เวลา” ที่ทำให้เรากระตุกที่สุด

จากหนังสือที่ทุกคนต้องอ่าน “ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์” Four Thousand Weeks Tme Management for Mortals ถ้าใครกำลังตั้งคำถามกับตัวเอง “ฉันใช้เวลาในชีวิตไปกับอะไรเนี่ย?” “ฉันจะทำยังไงให้ชีวิตฟินที่สุด” อย่าเพิ่งตอบอะไรตัวเองทั้งนั้น อ่านเล่มนี้ก่อนเลย “ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์” หรือ “Four Thousand Weeks Time Management for Mortals” เพราะหนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณถึงกับคลั่ง ผู้เขียน โอลิเวอร์ เบิร์กแมน เขาสั่นสะเทือนคุณได้จริงๆ เรียกว่าแนวคิดเรื่องเวลาจากเล่มนี้มาเหนือสุดๆ ถ้านั่งอยู่ข้างกำแพงต้องเอาหัวโขกกันเลย แต่อ่านจบมีพลังดีนะ แล้วอยากกลับไปอ่านอีกรอบ คลีโอขอสรุปแนวคิดปังๆ 10 ข้อนี้มาให้ มั่นใจมากว่าต้องรีบไปกดซื้อหนังสือเล่มนี้กันเลย อ่านเรื่องราวอื่นๆ ต่อได้ที่ เริ่มต้นใหม่และเปลี่ยนตัวเองด้วย Monk Mode

12 โฟกัสที่ทำให้เราลืมเรื่องอะไรบางอย่างในใจไปได้

ใช้ชีวิตกับการคอยเช็คตัวเองตลอดเวลา จะค่อนข้างรู้ว่าตอนนี้เรารู้สึกยังไง บาลานซ์เราเป็นยังไง ก็เลยเอนจอยที่จะคอยหาอะไรมาเติมโฟกัสให้เรา เพราะนั่นคือสิ่งที่ช่วยเราได้เวลาเรามีอะไรในใจ แล้วอยากลืม…. 2. เล่นดนตรียากๆ: คุ้มที่สุดที่ชีวิตได้ทุ่มเทไปกับการเรียนเปียโนในช่วงเวลาหนึ่ง ยิ่งยากยิ่งดีเลย พอเวลาเราอยากคลี่คลายอะไรในใจออกไป คืนแห่งการกลับมานั่งงมดีดโน้ตบีโธเฟ่นยากๆ ใจเราจะไม่มีเรื่องอะไรมากวนนอกจากความจดจ้องบรรทัด 5 เส้นของโน้ตเพลงเท่านั้น! 3. ทำอาหารสัก 3 เมนูพร้อมกัน: สมองต้องคิดตั้งแต่ทำอะไรดีที่มันบาลานซ์กัน เครื่องปรุงล่ะ แล้วจะทำอะไรก่อน เพื่อให้ออกมาเสร็จพร้อมกัน ตอนต้มน้ำ เราจะหั่นผัก ตอนยืนเคี่ยวจะกริลล์เบคอนเอาไว้ แค่คิดว่าจะหยิบจานกี่ใบมาใส่เครื่องปรุง จะแบ่งพื้นที่ในจานยังไง เอามาวางหน้าเตาให้หยิบได้ง่าย ทั้งหมดสมองต้องว่างเปล่าจริงๆ ถึงจะแมเนจได้เลย 4. เขียนบทความยาวๆ: ยิ่งถ้าเป็นบทความที่ไม่คุ้นชิน จะท้าทายเรามาก ต้องหาข้อมูล อ่าน จด แล้วเรียบเรียง วิเคราะห์ แล้วกลั่นออกมาเป็นคำพูดเรา แล้วถ้าเป็นบทความออริจินัล คือเราสร้างหัวข้อขึ้นมาเองเลย ใจและสมองก็จะยิ่งส่ายไปไหนไม่ได้ 5. เขียนข้อความจากความรู้สึกเก็บไว้: เป็นทั้งช่วยโฟกัสและช่วยเยียวยา ใจจะรวมศูนย์ แล้วเป็นโมเมนท์ให้เราได้เช็คตัวเองอีกครั้ง ว่าความรู้สึกนี้คืออะไร เราเป็นใคร อะไรพาเรามารู้สึกแบบนี้ ถ้าทำได้ทำทุกวันจะทำให้เราเข้าใจตัวเองขึ้นด้วย 6. เพนท์รูปที่เราไม่คุ้น: […]




Health, Self Love

ปลดล็อคเคล็ดลับ มีบุคลิกที่หลากหลายมักได้เปรียบ เอาอยู่ทุกสถานการณ์



คนเก่งที่มักได้เปรียบกับบุคลิกน้อยคนที่จะรู้ว่าตัวเองอาจจะมีอยู่อย่างไม่รู้ตัว การเปิดเผยบุคลิกของเรานั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์กับสิ่งที่ทั้งเราอยากให้ใครเห็น และไม่อยากให้ใครเห็น

บุคลิกของเราจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เจออย่างอัตโนมัติ ซึ่งบางทีถ้าเรียกอีกอย่างก็หมายถึงด้านแต่ละด้านของคนเรา เหรียญยังมี 2 ด้าน แล้วทำไมคนเราจะมีหลายด้านให้เลือกใช้ไม่ได้ล่ะ

  • อยู่กับเพื่อนอาจจะเป็นคนเฮฮา ตลก เสียงดัง
  • อยู่กับแฟนอาจจะเป็นคนขี้อ้อน เอาใจ มีมุมหวานๆ
  • อยู่กับครอบครัวอาจจะเป็นตัวของตัวเอง ปล่อยใจสบายๆ
  • อยู่กับที่ทำงานอาจจะเป็นคนถ่อมตัว ทางการ มีมารยาท เรียบร้อย วางมาด

การมีบุคลิกหลากหลายหรือการเลือกใช้ด้านในตัวของเรา มีข้อดีมากมายทำให้เรารู้จักและเข้าใจโลกมากยิ่งขึ้น หรือเรียกได้ว่าเราก็จะปรับตัวไปกับสังคมนั้นๆได้ ซึ่งไม่แปลกใจที่คนเราจะชอบคนที่เข้าสังคมเก่ง เรื่องพวกนี้ไม่ใช่เพียงแค่พรสวรรค์หรอกนะ มันคือเคล็ดลับต่างหาก เคยสังเกตไหมทำไมคนนี้ถึงเข้าได้กับกลุ่มเพื่อนทุกกลุ่ม มีเพื่อนที่หลากหลาย มีสังคมการทำงานที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่เมื่อกลับมาบ้านเขากลับกลายเป็นคนที่รีแลกซ์ ชิลๆ สบายๆ เพราะการที่เขาสามารถเข้าใจรวมถึงสังเกตและไม่บังคับตัวเองให้อยู่ในทุกสถานการณ์แต่เป็นการปรับตัวเข้าหาผู้อื่นในสังคมที่หลากหลาย แม้จะเป็นเรื่องที่จริงจังหรือสบายๆได้อย่างง่ายดาย เรียกอีกอย่างได้ว่าคนๆนั้นรู้จัก “กาละเทสศะ”

คนที่มีบุคลิกภาพที่ดีเป็นคนแบบไหน ?

คนมั่นใจคือบุคลิกภาพที่ดี ไม่ใช่ว่าการเป็นคนมั่นใจคือฉันเก่ง ฉันดี เพอร์เฟค แต่เป็นการที่มองเห็นทั้งข้อดี และยอมรับในข้อเสียของตัวเอง เมื่อคนที่มีความมั่นใจจะกลายเป็นคนสดใสที่มีเอเนอร์จี้บวก มีพลังงานที่ดี อยู่ที่ไหนก็จะสร้างเสียงหัวเราและรอยยิ้ม สิ่งเหล่านี้จะทำให้กลายเป็นคนเข้าใจผู้อื่น เมตตา และเป็นผู้ฟังที่ดี เมื่อเป็นผู้ฟังที่ดีนั่นก็หมายความว่าคนๆนี้ให้เกียรติผู้อื่น นอกจากการให้เกียรติผู้อื่นแล้วยังให้เกียรติตัวเองด้วยเช่นกัน และเคล็ดลับสุดท้ายนั่นก็คือบุคลิกภาพที่มีความเท่ากันหรือสมดุลกันนั่นเอง ในขณะที่กำลังทำงานอย่างจริงจังก็ต้องมีความผ่อนคลาย มีมุมยิ้มแย้ม สร้างเสียงหัวเราะ แต่ทั้งสองอย่างนี้จะต้องมีความเท่ากันเพื่อบุคลิกภาพที่ดี

การมีบุคลิกที่หลากหลาย ต่างกับ โรคหลายบุคลิกยังไง

บุคลิกที่หลากหลายเป็นเรื่องปกติเพราะทุกคนมีหลายด้าน การที่คนเราจะมีเพียงด้านเดียวในชีวิตก็คงจะเป็นไปไม่ได้ อารมณ์เองก็เช่นกัน เพราะเราเป็นมนุษย์ไม่ใช่หุ่นยนต์ แต่ โรคหลายบุคลิก Dissociative Identity Disorder (DID) จะเป็นบุคลิกที่อาจจะเห็นได้ตามข่าวฆาตกรโรคจิต หรือคนที่มีปัญหาทางจิตเวช เพราะคนเหล่านี้บริหารบุคลิกกันแบบ “ผลัดกันออกมา” ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะจำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเองระหว่างที่บุคลิกอื่นออกมา ในขณะที่บุคลิกอื่นที่ถูกสร้างขึ้นมาให่มักจะรู้และจำได้ว่ามีบุคลิกเดิมอยู่ โดยแต่ละบุคลิกจะมีชื่อ นิสัย หรือประวัติความเป็นมาของลักษณะบุคลิกนั้นๆ บุคคลที่เป็นโรคนี้จะเป็นผลจากพฤติกรรมหรือปมในวัยเด็ก ลามไปถึงวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ โรคหลายบุคลิกนี้เป็นโรคเรื้อรังและอาการจะกำเริบเป็นช่วงๆเมื่อเวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะที่กดดัน แต่จะเบาลงเมื่ออายุ 40 ปีไปแล้ว

การเป็นตัวของตัวเองถือว่าเป็นกุญแจสำคัญของการเอาชนะใจคนในทุกๆด้าน แต่การสวมบทบาทด้วยบุคลิกและด้านต่างๆของคนเราก็ถือเป็นความสำเร็จขั้นกว่า

อ่านเรื่องราวอื่น ๆ ได้ที่ CLEO Thailand และ FB > CLEO

More