บางทีก็ไม่เข้าใจว่าว่า 2023 แล้วนะ ทำไมบรรยากาศในที่ทำงานไม่เคยทำให้เรารู้สึกใจเป็นสุขได้เลย ก็อาจจะเป็นเพราะหัวหน้าก็ยังปรี๊ดใส่เหมือนเดิม เพิ่มเติมจะหนักขึ้นกว่าเก่า เพื่อนในที่ทำงานหน้ายิ้มๆ แต่สุดท้ายก็ขี้เม้าท์ วันดีคืนดีก็ทะเลาะกันกลางกรุ๊ปไลน์ อยู่ที่ไหนก็รู้สึกว่างานตามหลอกหลอนทำให้ไม่มีความสุขไปทุกที่ ความสับสนคือเงินก็อยากได้ แต่ก็เหมือนไม่มีความเป็นตัวเอง อยากผ่านจุดนี้ไปให้ได้สักที ไม่ว่าเรื่องนี้จะเป็นปัญหาคลาสสิคมานานแค่ไหน ก็อยากให้สาวๆ มีทางออกไว้ในใจอยู่บ้าง
1. คิดถึงออปชั่นที่เรามี
เชื่อแหละว่าทุกคนต้องตั้งคำถามว่าลาออกเลยดีมั้ย ทำต่อคุ้มมั้ยกับความเครียด แต่ถ้าออกไปแล้วไม่มีงานไม่มีเงินจะหนักกว่าเดิมหรือเปล่า แต่บางครั้งพอเดินไปบอกว่าลาออกดันได้ข้อเสนอเพิ่มเงินเดือนหรืออะไรล่อใจเข้าไปก็อาจทำให้เราเอาชนะความท็อกซิกแล้วอยู่ต่อก็ได้ และก็อย่าลืมว่าต้องเป็นคนเก่งที่เขาอยากได้จริงๆ เพราะถ้าพูดลาออกแล้วคนที่ไม่มีงานอื่นหรือแผนสองเลยก็อาจจะอยู่ยาก
2. หรือมันอยู่ที่ใจเรา?
โค้ชด้านการทำงานอย่างอีไล โบห์มอนด์แนะนำเอาไว้ว่าไม่เอาใครอยากให้ตัวเองมีจุดจบอยู่กับสังคมทำงานแย่ๆ หรอก แต่สิ่งที่ทำให้เราตัดสินว่าอันนั้นไม่ดีอันนี้ไม่ใช่ก็มาจากใจเราทั้งนั้น ลองคิดดีๆ เวลาที่หัวหน้าด่าเขาอาจคิดว่าการกดดันทำให้คนพัฒนาขึ้นซึ่งก็ใช้ได้ผลกับบางคน หรือเขาไม่รู้เลยว่าการด่าของเขาทำร้ายจิตใจคนอื่นแค่ไหน และการรับพลังงานลบกลับมาแล้วเครียด เพราะใจของเราที่ปรุงแต่งไปด้วยอารมณ์ ลองวางใจให้เป็นกลาง ให้เตรียมรับกับ 3 คำถามนี้ว่า
- เรามีรีแอคชั่นยังไงเวลาเจอเรื่องท็อกซิก นิ่ง ด่ากลับ ทำตัวเฟียสๆ ให้คนกลัว ไปนั่งร้องไห้คนเดียว ฯลฯ
- เราจะเปลี่ยนสถานการณ์นี้ยังไงบ้าง เช่น ถ้าโดนตำหนิเรื่องงานตลอด ถ้าลุกขึ้นมาฟาดผลงานสักตั้ง ดูซิเขาจะหยิบอะไรมาด่าอีก ด่าเรื่องไหนเราแก้เรื่องนั้น หรือถ้าเพื่อนร่วมงานไม่น่าคบก็ดีลแค่เรื่องงาน ถ้าเขายังบ้าก็ปล่อยเขาบ้าไป
- เราจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ตึงเครียดนี้ยังไง ถ้ารู้ว่าชอบโดนตามงาน ให้เตรียมทำแพลนรับศึก เร่งสปีดทุกอย่างก่อนที่จะเจอจับผิด หรือถ้ารู้ว่าหัวหน้าชอบมาพิมพ์ด่าอะไรตอนดึกๆ แบบไม่ละเว้นก็ปิด mute ตอนเช้าค่อยอ่าน ดีกว่านอนไม่หลับ เสียสุขภาพจิต
3. มีคนระบายที่ไว้ใจได้
อะไรที่คุณมองว่าไม่ดี ต้องมีอีกหลายที่รู้สึกเหมือนกัน เป็นกลุ่มคนที่เข้าใจกัน ปรับทุกข์ปลอบใจ หาวิธีช่วยกันให้รอดพ้นสถานการณ์แย่ๆ พวกนี้ แต่ก็ต้องระวัง คนบางคนเหมือนเป็นห่วงแต่อาจเป็นยัยนกสองหัว
4. มีเมตตากับตัวเอง
คุณอีไลบอกว่าเราจะถามตัวเองว่าเราควรต้องทนให้มากกว่านี้มั้ย เราควรจัดการปัญหานี้ด้วยตัวเองยังไง เราควรพูดออกไปเลยดีหรือเปล่า นี่คือสัญญาณที่เราไม่เป็นตัวเอง คำแนะนำที่โค้ชบอกก็คือให้ถามตัวเองว่า ถ้าคนที่เรารักที่สุดอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ เราจะแนะนำเขาว่าอะไร เราอยากให้เขาอดทนหรืออยากให้เขาลองหาโอกาสใหม่ๆ ให้ตัวเองก่อนจะทนเกินเบอร์กลายเป็นป่วยโรคเครียดหรือซึมเศร้าได้เลย
จากนั้นถ้าคิดว่าถ้าไป คุณอีไลเล่าว่าเธอจะแนะนำให้ลูกค้าที่มาปรึกษากับเธอหาเวลาให้ตัวเองและวางแผนว่าจะไปทางไหน อย่าอ้างว่าคิดไม่ออกหรือไม่มีเวลา เพราะนี่เป็นชีวิตข้างหน้าในการก้าวไปอีกสเต็ป ไม่อยากวนลูปก็ต้อง
อ่านบทความอื่นๆ ที่: