เจอหลายคู่รักมากๆ ที่พอแต่งงานไปแล้วผ่านไปสามปี ห้าปี จากหน้าระรื่นกลายเป็นทำไมบึ้งตึงใส่กันยัง สาวๆ สาวมา เพื่อนสาวบอกว่า “งก” บ้าง “ออกคนเดียว” บ้าง กลายเป็นว่าจากผู้ชายเหมือนจะเอาใจเราตลอด ก็มาผิดใจเรื่องเงินกันได้ อะ นี่คือเรื่องที่คู่แต่งงานเขาสรุปกันมาแล้วว่า หนังคนละม้วนนะจ๊ะ เตือนไว้ก่อนเลย
ตีกันเรื่องที่ 1: เมื่อยังยึดกับค่านิยมเก่าๆ
เราถูกบอกกันมาตั้งแต่ปู่กับย่าเป็นแฟนกันว่า “ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง” พ่อจะออกจากบ้านไปทำงาน แม่อยู่บ้านเก็บเงิน แล้วคุมค่าใช้จ่าย ปี 2016 จากผลสำรวจเรื่องความสัมพันธ์ 48% ของผู้ชายแต่งงานแล้วบอกว่า เขาคือคนที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในบ้าน และมีสาวแต่งงานแล้วเพียง 13% ที่ให้ฝ่ายชายเป็นคนดูเงินใช้จ่าย
ฟิทซ์ วิลลาฟัวซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน และนักลงทุนบอกว่า “จริงๆ แล้วทั้งสามีและภรรยา ควรรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายเท่าๆ กัน เพราะเมื่ออยู่กันยาวๆ เรื่องนี้ล่ะจะทำร้ายความสัมพันธ์ได้” อีกประเด็นคือ “คนที่มีความรู้เรื่องเงิน มักได้รับสิทธิ์ให้เป็นฝ่ายแพลนเงิน” แต่ฟิทซ์บอกว่า “ไม่ว่าจะยังไง อีกคนหนึ่งต้องมีสิทธิ์ที่จะได้เลือกตัดสินใจตอนสุดท้ายด้วยเสมอ”
แทนที่จะคิดว่าผู้ชายคือคนนำ ผู้หญิงต้องตาม หรือเขาอาจรู้เรื่องเงินมากกว่าเรา อย่างถ้าจะต้องซื้อรถสักคันสำหรับครอบครัว ถ้าฝ่ายชายรู้มากกว่า ก็หาข้อมูลทุกสิ่งมาก่อน แล้วให้ภรรยามาร่วมกันตัดสินด้วย ทั้งสองคนควรรู้สถานะการเงินของครอบครัว และใช้เหตุผลตัดสินร่วมกันไว้
ตีกันเรื่องที่ 2: มีบัญชีเดียวกัน
ถ้าทั้งฝ่ายชายและหญิงเป็นฝ่ายหาเงินเหมือนกัน ก็เลยเปิดบัญชีร่วมกันสำหรับครอบครัว เหมือนจะดีนะ แต่ในความเป็นจริงอาจไม่เป็นอย่างนั้นน่ะสิ ฟิทซ์บอกว่า “ผมเคยเห็นคู่แต่งงานที่มีความสุข แล้วทั้งสามีและภรรยาหารายได้กันได้ สามีจะเป็นคนเอาเงินรายได้ของทั้งสองคนมาลงทุนใช้บัญชีเดียวกัน แล้วต้องหักรายได้ทุกเดือนกว่าครึ่งหนึ่งมาลงในบัญชีนี้ แต่ปรากฏว่ามีเหตุให้สองคนนี้ต้องทะเลาะกัน ภรรยาไม่สามารถเอาเงินที่ให้ไปในแต่ละเดือนคืนมาได้ ทุกสิ่งถูกเอาไปลงทุนหมดแล้ว เลยต้องใช้ชีวิตแบบทนอยู่ เพราะไม่อยากให้เงินหายไปหมด”
แปลว่าอะไร? แปลว่าระหว่างที่เอาเงินมารวมกันเพื่อครอบครัว ต่างฝ่ายต่างควรจัดการการเงินของตัวเองเอาไว้ด้วย และต้องคิดอะไรที่เลวร้ายที่สุดเผื่อเอาไว้ ต้องมีแพลนว่าถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น จะจัดการเรื่องเงินยังไงเตรียมไว้เสมอ
ตีกันเรื่องที่ 3: มีความลับต่อกัน
เคยเห็นมาคาตาเพื่อนที่เพิ่งถอยรถบีเอ็มป้ายแดงมา จอดรถไว้ที่คอมมิวนิตี้ มอลล์ แล้วมีกลุ่มผู้ชายสามสี่คนเดินมาหาเพื่อนบอกว่า ให้เอารถคืน ปรากฏว่าสามีของเธอแอบไปทำธุรกิจสีเทาอะไรไว้ จนนักเลงต้องมายึดรถไป เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้จริงๆ นะ สิ่งที่ควรทำก็คือ ฟิทซ์บอกว่า “เผชิญหน้ากับเขา และถ้าเขามีปัญหาจริงๆ ลงเรือลำเดียวกันแล้ว ก็ต้องช่วยกันแก้ปัญหา”
ตีกันเรื่องที่ 4: เรามีความคิดเรื่องการใช้เงินไม่เหมือนกัน
ที่สุดแล้วกับเหตุผลนี้ จะให้ทำยังไงถ้าเขายืนยันจะซื้อโรเล็กซ์เรือนละหลายแสนเพื่อลงทุนให้ได้ แต่กลับไม่เคยพาลูกไปเที่ยวไหน การมองการลงทุนที่ไม่เหมือนกัน ค่านิยมกับบางอย่างต่างกันขนาดนี้ สะสมเป็นปัญหาให้ต้องทะเลาะล้างบางกันมาแล้วหลายคู่
ทางแก้คืออาจต้องให้คนอื่นมาช่วยจัดการ และไกล่เกลี่ย ต้องหาคนเป็นผู้ใหญ่กว่าที่มีชีวิตการเงินดีๆ มาให้สติ เพราะต่อให้เรามีคอนโด 3 หลัง แต่ไม่มีความสุขเลย ก็แสดงว่าการเงินทำให้ความสัมพันธ์ของเราทุกข์ขึ้นได้
ตีกันเรื่องที่ 5: ถ้าต้องเอาเงินไปดูแลครอบครัวของแต่ละคน
เมื่ออีกฝ่ายรู้ว่าเงินที่อุตส่าห์หามา เอาไปใช้หนี้ให้พี่ชายบ้าง เอาไปให้ลุงยืมไปลงทุนบ้าง ความรักในครอบครัวของอีกฝ่ายที่เราไม่มีวันเข้าใจ เรื่องราวที่เขาปูกันมายังไง ทำให้เข้าใจผิดกันได้ง่ายๆ และทะเลาะกันบานปลายเลย ก็คงต้องเปิดใจกันและทำใจนะ ถ้าเขาจะเอาเงินที่หามาไปให้ครอบครัว แต่สิ่งที่เราทำได้คือแนะนำ ว่าให้ได้นะ แต่ขอให้หักที่ต้องใช้จำเป็นในแต่ละเดือนก่อนมาก่อนมั้ย
สุดท้ายแล้วฟิทซ์บอกว่า “เป็นเรื่องธรรมดาที่แต่ละคู่จะต้องมีปัญหาเรื่องการเงิน ขอให้ใจเย็นๆ และต้องเปิดใจ เปิดสมองกันตรงมากๆ เลย เชื่อใจกันและกันให้เหมือนเดิม อย่าอายที่จะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ คนที่มีประสบการณ์การเงินมากกว่าเรา เขาจะรู้มากกว่าเราจริงๆ ว่าต้องจัดการยังไง”