12 หนังรักที่เกี่ยวกับการ “หย่าร้าง” ดูแล้วมีกำลังใจมูฟออนเลย

ถ้ารักให้สุดแล้ววันหนึ่งต้องมาหย่ากัน ก็ถือว่าเราทำดีที่สุดแล้ว ใครที่กำลังเจอสภาวะแบบนี้ อยากหาอะไรมาอัพให้ใจฟูๆ บ้าง ลองดู 15 หนังความรักที่ต้อง “หย่าร้าง” นี้นะ ไม่ได้แย่อย่างที่คิดแน่นอน ถ้าไปต่อไม่ได้ แล้วต้องจบกันไป ต่างคนต่างแยกย้าย อาจมีความรักใหม่ หรือมีชีวิตใหม่ที่ดีกว่าไปเลย คนที่รักกัน แต่งงานกันมา แล้วต้องมาถึงทางแยก “หย่าร้าง” กัน ความจริงก็เป็นเรื่องธรรมดาอยู่นะ คนเรามาค้นพบหัวใจตัวเองทีหลังได้ หรือพยายามแล้วไปกันไม่รอด หรืออาจจะเจ็บปวดในตอนแรก แต่ดีกว่าฝืนกันไป คลีโอมีหนังเกี่ยวกับการ “หย่าร้าง” มาให้ลองไปดูกันนะ เริ่ดทุกเรื่อง!! 1.Kramer VS. Kramer หนังดังที่คอหนังยุค 80’s ไม่มีใครพลาดเรื่องนี้ ประชันกันเลยทั้งเมอรีล สตรีพ และดัสติน ฮอฟฟ์แมน เป็นหนังที่ตามล่าความดราม่ากันในศาล ที่เป็นเรื่องของเบื้องหลังครอบครัวสุดเพอร์เฟ็คท์ โจอันนา นางเอกได้ลุกขึ้นมาหลังจากเธอขอหย่ากับเท็ด ว่าเธอต้องการสิทธิ์ในการเลี้ยงลูกชายของเธอ เขาไม่ยอม ก็เลยต้องฟาดกันในศาล เป็นเรื่องความซับซ้อนของจิตใจของคนเรา ความเชื่อของคนเป็นแม่ที่คิดว่าตัวเองเลี้ยงลูกได้ดีกว่า และคนเป็นพ่อที่ไม่เข้าใจว่าเขาจะด้อยกว่าเรื่องเลี้ยงลูกตรงไหน หนังเข้มข้นในทั้งบทและการแสดง เรื่องนี้ได้รางวัลออสการ์ไปถึง 5 รางวัลเลยล่ะ 2. […]

Schwarzkopf ‘Natural & Easy’ สีผมสวยแบบมือโปรด้วยพลังธรรมชาติ ทวงคืนความอ่อนวัยแบบไม่ตกเทรนด์

Schwarzkopf (ชวาร์สคอฟ) แบรนด์สีผมตัวจริงที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 120 ปี คว้า แจ็คกี้ ชาเคอลีน นักแสดงสาวมากความสามารถ เปิดตัว แชมพูปิดผมขาว ‘Schwarzkopf Natural & Easy’ 3 เฉดสี จับเทรนด์สีผมที่ไม่จำกัดอยู่แค่เฉดสีเข้มเดิม ๆ อีกต่อไป

เจ้าของฟาร์ม “บ้านสวนปรีดา” กับหมวกคู่ใจจาก UPTOYOU ที่พร้อมลุยในทุกๆวัน!

ทางคลีโอได้มีโอกาสสัมภาษณ์พี่ต้อง เจ้าของฟาร์มบ้านสวนปรีดา ต้องบอกเลยว่าน่าสนใจมากๆ ด้วยวิธีการเล่าเรื่องของเธอทำให้รู้เลยว่าเธอรักในสิ่งที่ตัวเองทำจริงๆ เธอรักสัตว์ทุกตัวที่เธอเลี้ยง และคำว่าฟาร์มของเธอแตกต่างจากคนอื่นเพราะเธอไม่ได้หวังผลประโยชน์จากพวกสัตว์น่ารักๆเหล่านี้เลย…ความตั้งใจของพี่ต้องคืออยากให้ทุกคนได้มาเอ็นจอยร่วมกัน ณ บ้านสวนปรีดาแห่งนี้โดยที่ไม่ต้องนึกถึงความเครียดใดๆ แค่มีความสุขกับธรรมชาติและสิ่งรอบตัวเท่านั้นเอง…งานนี้พี่ต้องขอพาทัวร์ฟาร์ม มากับชุดที่พร้อมลุยและหมวกที่ขาดไม่ได้เลยจาก UPTOYOU ที่ทำให้ลุคการทำงานของเธอคอมพลีทสุดๆ

รักเพื่อนสนิทมานาน แล้วต้องเสียเขาไปให้คนอื่น เจ็บปวดจะตาย!

“ฉันรักเธอ” ที่ยังคงเป็นประโยคคลาสสิคในใจเสมอมา สำหรับคนที่แอบรักเพื่อนตัวเอง เพื่อนที่มีบทสนทนาดีพๆ อยู่ด้วยกันทีไรเหมือนตกห้วง เราคิดเหมือนๆ กัน บางทีพูดออกมาก็แทบจะประโยคเดียวกัน ติดแค่ “เราเป็นเพื่อนกัน” ความรักที่ไม่เคยได้บอก ที่ต้องมาเจ็บปวดที่สุด วันที่เขามีคนรัก ผู้หญิงอีกคนที่ไม่ใช่เรา! คนที่รักเพื่อนสนิท ที่เขาไปมีแฟนเป็นคนอื่นเท่านั้น ถึงจะเข้าใจความเจ็บปวดในใจแบบนี้ได้ดี ความรักแบบจูลส์รักไมเคิลใน My Best Friend’s Wedding เธอรักเขามา 9 ปี และก็มั่นใจว่าเราก็รักเธอแบบเดียวกัน แต่วันหนึ่งเขาไปเลือกคิม ผู้หญิงอีกคนที่ดูแล้วก็ไม่เห็นจะน่าเข้าใจเขาเท่าเธอนี่นา แล้วไม่ใช่ว่าฟ้าไม่ส่งสัญญาณมาบอกจูลส์นะ ช่วงเวลาที่เธอคบกับไมเคิล เขาใช่ที่สุด ทั้งสองคนคลิกกันและมีความสุขที่สุด จูลส์รู้จักเขาดี ทั้งสองมีเพลงของตัวเอง เรียกว่าเข้าใจกันดีอย่างลึกซึ้ง แต่ในความเป็นจูลส์ เธอกลัวความรัก กลัวการต้องมีใครมาเป็นเจ้าของหัวใจเธอ เธอเลยรักษาแค่ระยะความเป็นเพื่อนกับเขามาตลอด จนวันที่เขาไม่เลือกเธอนนั่นล่ะ เธอถึงเพิ่งมาคิดได้ ความรักแบบนี้มันเหมือนกับว่า “โลกนี้มีเราเพียงสองคนก็จริง แต่เราก็กลัวว่าจะเสียกันและกันไป เราเลยเลือกที่จะเป็นแค่เพื่อนกัน” สิ่งที่เจ็บปวดที่สุดคือเมื่อเรากำลังจะเสียอีกคนไป เมื่อนั้นแหละที่เรารู้สึกว่า “ฉันพลาดที่สุด” เราต้องมองเห็นเพื่อนรักเดินไปกับผู้หญิงอีกคน ทั้งๆ ที่เรารู้ว่าในโลกนี้ไม่มีใครจะเข้าใจความรู้สึกเขาได้ดีเท่าฉัน ความรักที่ไม่เปิดกว้าง ความรักที่มีความเป็นตัวตนมาค้ำไว้ มักปิดสิ่งดีงามไม่ให้ไหลเข้ามาในหัวใจเรา และล็อคเราเอาไว้ในนั้น […]




Health, Women's Issues

ภาวะสิ้นยินดี ( Anhedonia ) ไม่เศร้า ไม่สุข แต่กลับเฉยเมยกับทุกสิ่ง

anhedonia

เคยไหมที่รู้สึกเฉยๆ กับทุกสิ่งอย่าง เหมือนความรู้สึกเป็นศูนย์ แม้จะเจอเรื่องราวอะไรก็ตามแต่ก็ไม่ได้รู้สึกยินดีหรือโศกเศร้าเสียใจ หากเปรียบง่ายๆ ก็เหมือนจิตใจมีแต่ความว่างเปล่า นี่อาจเป็นสัญญาณว่าคุณอาจจะเผชิญอยู่กับ ภาวะสิ้นยินดี ( Anhedonia ) ก็เป็นได้ เพราะสิ่งนี้สามารถพรากความรู้สึกของคุณไป แม้กระทั่งสิ่งที่เราเคยทำแล้วรู้สึกดีมีความสุขแต่กลับไม่ได้รู้สึกแบบนั้นอีกต่อไป เช่น เรื่องงานอดิเรก การสนทนา หรือแม้กระทั่งเรื่อง Sex

ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นก่อนว่า Anhedonia มักจะพบในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหรือโรคไบโพลาร์แต่ก็สามารถพบในคนปกติทั่วไปได้เช่นเดียวกัน นอกจากนั้นเพศหญิงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Anhedonia มากกว่าเพศชาย อีกด้วย มีผู้คนที่เป็นซึมเศร้าและ Anhedonia เคยกล่าวไว้ว่า “ความรู้สึกว่างเปล่านี่แย่กว่าการเป็นซึมเศร้าด้วยซ้ำ” เพราะซึมเศร้าอย่างน้อยก็ยังรู้ว่าตัวเองเศร้าแต่ภาวะนี้กลับทำให้ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองมีอารมณ์ยังไง


Anhedonia คืออะไร?

คืออาการของผู้ที่ไม่มีความรู้สึกร่วมกับสิ่งใดทั้งสิ้น ไม่ยินดียินร้ายหรือสุขทุกข์อะไรทั้งนั้น โดยในทางการแพทย์ภาวะนี้เป็นอาการทางจิตเวช ซึ่งเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ชนิดซึมเศร้า (depression) 

สาเหตุของ Anhedonia

มีหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็น สภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ปลอดภัย การพบเจอกับประสบการณ์ร้ายแรงในชีวิตมาก่อนซึ่งกระทบต่อจิตใจ เช่น การถูกล่วงละเมิดทางเพศ/ ถูกทำร้ายร่างกาย ความเครียดที่สะสมอย่างยาวนาน รวมไปถึงการใช้สารเสพติด

นอกจากนี้นักวิจัยคาดว่า anhedonia อาจเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของสมองจึงมีผลต่อ โดปามีน ซึ่งเป็นสารเคมีทางอารมณ์ที่ทำให้ “รู้สึกดี”

อาการของ Anhedonia

  • มีความสามารถในการแสดงอารมณ์ลดลง
  • ชอบอยู่คนเดียว ปลีกตัวจากสังคม
  • มีความสุขลดลงจากการทำกิจวัตรประจำวัน หรือกิจกรรมที่ชอบทำ
  • มีความคิดด้านลบต่อตนเองและผู้อื่น
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไรหรือไปไหน

จะทำอย่างไรหากเป็น Anhedonia ?

อย่างแรกเลยคือรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้ารับการรักษาแต่เนิ่นๆ ซึ่งแนวทางรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือใช้การบำบัดและใช้ยาออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท นอกจากนี้การกินยาเพื่อปรับกระบวนการการทำงานของสมองส่วน Brain reward system ให้เกิดความสมดุลก็สามารถช่วยได้อีกทางหนึ่ง

เนื่องจากคนที่เป็นภาวะนี้จะไม่มีแรงบันดาลใจ ความสุข แต่การแสวงหาจุดมุ่งหมายในชีวิตและการเติมเต็มจิตใจด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น การเป็นอาสาสมัคร การมีส่วนร่วมของชุมชน หรือกิจกรรมทางศาสนา ก็เป็นตัวช่วยที่ดี และควรให้ความสำคัญกับสุขภาพร่างกาย เช่น การรับประทานอาหารที่ดี ออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างเต็มที่

ถ้าหากคุณมีคนใกล้ชิดที่คาดว่าจะเป็น Anhedonia ให้หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่รุนแรงหรือกระทบจิตใจ ไม่กดดัน และควรเป็นผู้ฟังและผู้ให้คำปรึกษาที่ดี


สามารถอ่านบทความอื่นๆ ของ CLEO ที่:

More