เปิดตัว 3 ไอเท็มเมคอัพสุดเริ่ดจาก IN2IT  ที่คลีโอรักมาก

ถ้าให้พูดถึงไอเท็มเมคอัพที่ใช้ยังไงก็ไม่เบื่อ หยิบมาใช้ตอนออกงานก็สวยแพง ใช้ในวันรีบ ๆ ก็สวยเป๊ะ ใช้ตอนไหนก็ได้ลุคสวยทุกครั้ง คลีโอขอยกให้แบรนด์ IN2IT เป็นแบรนด์ขึ้นหิ้งของเมคอัพราคาน่ารักแต่คุณภาพเกินต้าน ยิ่งตอนนี้เดินทางมาถึงเทศกาล CLEO Beauty Hall of Fame 2024 คลีโอก็ไม่พลาดมอบรางวัลให้ IN2IT ไปอีกปี รอบนี้คว้ามงไปจุก ๆ 3 ชิ้น บอกเลยว่าทุกชิ้นที่ให้รางวัล คลีโอรักมากกก และอยากแชร์ต่อจริง ๆ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย 

สนุกให้สุด ไม่หยุดเป็นตัวเอง เพิ่มความมั่นใจใต้วงแขนด้วยไอเท็มสุดเริ่ดจาก Ri en 

มีใครเป็นสายฟรีสปิริตแบบเราบ้าง จะทำอะไรก็ต้องทำให้สุด ไม่หยุดเป็นตัวเอง ลุย ๆ พร้อมทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะปาร์ตี้ ทำกิจกรรม หรือเที่ยวในแบบที่ต้องการ แต่มีอยู่หนึ่งสิ่งสำคัญที่สาว ๆ อย่างเราต้องใส่ใจเป็นพิเศษ นั่นก็คือเรื่องผิวใต้วงแขนนั่นเอง เพราะถ้าหากผิวบริเวณนั้นดำคล้ำ หรือมีกลิ่น ไม่เนียนสวย ก็อาจทำให้ความมั่นใจหรืออินเนอร์ความกล้าของเรานั้นหายไปด้วยได้เช่นกัน แต่วันนี้ คลีโอมีไอเท็มดูแลผิวใต้วงแขนจากแบรนด์ลูกรักอย่าง Ri en มาฝาก แอบกระซิบว่าเป็นไอเท็มที่เราใช้มาตลอด และก็มอบรางวัล CLEO Beauty Hall of Fame 2024 ให้ด้วยนะ เดี๋ยวมาเล่าให้ฟังว่ามันเริ่ดยังไง




Self Love, Well-Being

“เราต้องจริงใจและจริงจังกับความรู้สึกตัวเอง” ฮีลใจไปกับ เขื่อน ภัทรดนัย



เรื่องสุขภาพใจ เป็นอะไรที่คลีโออยากบอกทุกคนเสมอ เพราะหัวใจที่เข้มแข็งคือจุดเริ่มต้นของทุกอย่าง สุขภาพร่างกายเราก็จะดีขึ้นตาม การทำงานก็ดีขึ้น ความคิดสร้างสรรค์นี่มาเต็มๆ เลย แต่น่าเศร้าที่ในประเทศของเราตอนนี้ มีหลายคนโดยเฉพาะกลุ่ม GenZ ที่ต้องเผชิญปัญหาสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้น จากความกดดันหรือสิ่งเร้ารอบตัวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราไปเจอกิจกรรมจาก Lululemon ที่ดีมากๆ เลยอยากเอามาแชร์ต่อให้ทุกคน

“Find Your Wellbeing” เป็นกิจกรรมจาก Lululemon ที่มุ่งเน้นการโฟกัสเรื่องสุขภาวะทางใจ โดยมี เขื่อน ภัทรดนัย เชื่อมความสัมพันธ์และแบ่งปันเรื่องราวดีๆ ระหว่างกันผ่านหลากหลายกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาวะ เพื่อช่วยให้ทุกคนเข้าใจถึงการมีสุขภาวะที่ดี ยับยั้งแรงกดดันทางสังคมและความท้าทายที่ต้องเผชิญในแต่ละวัน ได้เจอเขื่อนทั้งที เราเลยได้พูดคุยเรื่องสุขภาพจิต การฮีลหัวใจในวันที่เปราะบางกับเขื่อน ลองมาอ่านกันนะ 🙂

ถ้าเรารู้ตัวว่าเราต้องเริ่มขออนุญาตคนอื่นที่จะรู้สึกเมื่อไหร่ อันนี้อาจจะเข้าสู่กับดักแล้ว”

เขื่อนบอกว่า จุดเริ่มต้นของจิตใจที่เปราะบางคือความรู้สึกแบบนี้แหละ ความรู้สึกที่เราต้องเริ่มขออนุญาตคนอื่นที่จะรู้สึกเมื่อไหร่ นี่แหละคือจุดเริ่มต้น “เช่น ฉันเป็นซึมเศร้าพอหรือยังนะที่จะไปหาหมอ แบบต้องคอยถามคนอื่นว่าอันนี้มันมากไปหรือน้อยไปหรือเปล่า หรือการมีคนมาบอกเราว่าเธอ needy เธอเยอะเกิน แล้วเชื่อเขาเลย ไม่ไตร่ตรองว่าเฮ้ยไม่จริง ความต้องการของฉันมันมีเหตุและผล มีภูมิคุ้มกันในการรู้ว่ารู้สึกเท่ากับรู้สึก ตรงนี้เขื่อนว่าคือกับดัก จุดเริ่มต้นของสุขภาพกายกับใจที่ไม่ดีก็คือเมื่อเราต้องเริ่มขออนุญาตคนอื่นรู้สึกมากขึ้นเรื่อยๆ และให้เสียงของตัวเองน้อยลงเรื่อยๆ ครับ”

เรื่องสุขภาพจิตนี้จริงๆ แล้วคนจะถามเยอะมากว่า เมื่อไหร่ถึงควรจะเจอคุณหมอ เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ ไม่ต้องเมื่อไหร่เลยครับ ถ้ารู้สึกแล้วไปเลย แล้วเดี๋ยวมันมีอะไรให้รักษาหรือไม่มีอะไร หรือเป็นหรือไม่เป็นไร เดี๋ยว Professional help เขาบอกเราเองครับ

Cleo Asks: เพราะบางคนเขาก็จะมีความรู้สึกว่าเดี๋ยวมันก็ผ่านไป เดี๋ยววันพรุ่งนี้ตื่นมาฉันก็รู้สึกดีขึ้นจนกระทั่งแบบมันเป็นอย่างงี้เรื่อยๆ จนมีความรู้สึกว่า สรุปแล้วฉันเป็นหรือไม่เป็น (ซึมเศร้า) กันแน่ ดังนั้น professional help เป็นทางออกที่ดีกว่าใช่มั้ย 

Community help กับ Professional help สำคัญมากครับ สมมติ Community help มี 10 คน แต่พอได้คุยกับคนในคอมมูนิตี้ อาจจะมี 8 คนแบบ เออ พอได้ Voice เสียงตัวเอง ได้คุยและแลกเปลี่ยนความคิด โอเคละ เรื่องที่เครียดไม่เครียดละ แต่อาจจะมี 2 คนหลุดไป Professional help เราก็ค่อยไปดูตรงนั้น

“เราต้องจริงใจและจริงจังกับความรู้สึกตัวเอง”

ทำที่ตัวเองก่อน แล้วเวลามีคนถามว่าสบายดีไหม เรา force ตัวเองที่จะตอบว่าสบายดี ก็โอเค กี่ครั้งแล้วที่โกหกตัวเองอยู่ เขื่อนว่ากลับมาเช็คอินกับตัวเองก่อนเลยครับ อันนั้นคือเบสิคเลย

ถ้าเกิดเราเช็คอินกับตัวเองปุ๊ปแล้วเราบอกว่า เราสามารถพูดได้จริงๆ ว่า you know what วันนี้ไม่รักตัวเอง you know what ไม่พอใจ you know what ต้องการร้องไห้ ต้องการอยู่คนเดียว you know what วันนี้มีความสุข วันนี้รักตัวเอง เขื่อนว่าอันนี้คือการรักตัวเอง คือการรักทุกพาร์ทของตัวเอง ไม่ได้รักแค่พาร์ทที่คนอื่นชอบ แล้วก็พาร์ทที่ทำให้เรารู้สึกดีเพราะมีโดปามีน แต่รักด้านที่อ่อนโยน รักด้านที่อ่อนไหว รักด้านที่อ่อนแอ รักด้านที่น่าเกลียด มันต้องแบบ love your whole self ไม่ใช่เลือกครับ เหมือนกันการที่เรารักคนอื่น ถ้าเราจะเอาแต่แค่มุมที่ก็ฉันรักเธอเพราะอย่างนี้ๆ เราไม่ได้เลือกคนคนนั้นในฐานะมนุษย์แล้วนะ เราเลือกเขาในฐานะสถานการณ์นะครับ 

แล้วมันต่างอะไรกับการรักตัวเองอ่ะ ถ้าเราอยากรักตัวเองแค่แบบ self love, happy อย่างนี้ No, you love the bondable part ยูรักพาร์ทที่ suffer ยูรักพาร์ทที่กำลังลำบาก เพราะเมื่อยูยอมรับและรักพาร์ทตรงนี้ได้แล้ว ยูจะอยู่กับเขาได้ แล้วก็โต แล้วก็รักตรงนี้ได้ครับ

จัดการตัวเองยังไงกับปมในใจที่ไม่หายไปสักที

อย่าวิ่งหนี ซึ่งคือสิ่งที่ยากที่สุดเพราะว่าปรากฏการณ์ป้องกันตัวของมนุษย์คือ flight or fight ก็คือการวิ่งหนีหรือสู้ แล้วส่วนใหญ่ก็เลือกจะวิ่งหนีครับ มนุษย์มีนิสัย flight or fight มาจากยุคดึกดำบรรพ์ ตั้งแต่ยุคล่าสัตว์ครับ เราฆ่าสัตว์ตัวนี้ได้เราก็สู้ ถ้าฆ่าไม่ได้เราก็หนี แต่พอเราอยู่ในสังคม เราไม่ต้องใช้แต่มันติดตัวมาด้วย เพราะฉะนั้นต้อง face your fear คือต้องอยู่กับมัน ทำไมมันถึงเป็นปม ทำไมมันถึงทำให้เรารู้สึกไม่ดี ทำไมมันถึงทำให้เรายึดติดอยู่กับตรงนี้ แล้วมันจะเข้าสู่เฟสที่สอง ก็คือความมั่นใจเกิดจากความเข้าใจครับ หลายๆ ครั้งคนที่ไม่มั่นใจในสีผิวตัวเอง หุ่นตัวเอง หรือว่าสภาวะร่างกายตัวเองเนี่ย มันเกิดขึ้นจากที่เราฟังเสียงภายนอก บริบทสังคมอะไรอย่างนี้ครับ ไม่ได้กลับมาถามว่าเอ้ยแล้วจริงๆ ตัวฉันรู้สึกยังไงกับร่างกายของตัวเอง”

ฝากถึง Gen Z

Gen Z ไม่ใช่แค่มีแนวโน้มนะครับ จากสถิติทุกที่เลยครับรวมถึง lululemon global wellbeing report Gen Z เป็น Gen ที่มีสภาวะ Mental health ค่อนข้างหนักที่สุดครับแล้วก็มีภาวะที่สามารถสื่อสารกันได้น้อยที่สุดด้วยครับ เขื่อนว่านี่ก็น่าจะ generate มาจาก หนึ่ง น้องๆ โตมากับ…อย่าง Gen เขื่อน millennial หรือ Gen Y ยังโตมากับครึ่งหนึ่งโซเชียล ครึ่งหนึ่งไม่โซเชียล เราเรียนรู้ที่จะสื่อสารกันในแบบที่จะต้องบังคับให้อยู่ด้วยกัน แต่พอน้อง Gen Z เขาโตมาปุ๊บ เขามีโซเชียลมีเดีย เขามีอุปกรณ์ เขามีแชทอะไรอย่างนี้ มันเลยทำให้ connectivity ของความเป็นมนุษย์ ในการแบบอยู่ด้วยกันตรงนี้ จิตวิญญาณร่างกายอะไรอย่างนี้ มันน้อยมากเลยครับ แล้วพอไปอยู่ในโซเชียลมีเดียมากๆ มันมีเรื่องลบเรื่องนู้นเรื่องนี้เรื่องนั้นค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็คิดว่าเป็น Cause and effect นะครับ ในส่วนหนึ่ง 

ส่วนถามว่าจะทำยังไงใช่ไหมครับ เขื่อนว่าสุดท้ายแล้ว วงโคจรนี้ทุกคนก็จะต้องผ่านเข้ามาแล้วก็ออกไปครับ อยากบอกน้องๆ Gen Z ว่า It’s okay not to be okay แล้วเมื่อจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจริงๆ ก็ขอความช่วยเหลือได้เลย Reach out ได้เลย มันไม่ใช่เรื่องน่าอายเลยครับ”

More

[ajax_load_more posts_per_page='6']