หากคุณกำลังกลัวการมีความสัมพันธ์กับใครก็ตาม กลัวว่าตัวเองจะห้ามใจไม่อยู่หรือถลำลึกลงไปในความสัมพันธ์ รวมไปถึงกลัวว่าจะไม่สามารถรักษาความสัมพันธ์นั้นๆได้ คุณอาจจะเผชิญกับความกลัวชนิดหนึ่ง ซึ่งถือเป็นภาวะทางจิตที่เกิดขึ้นกับผู้คนมากมายเป็นอันดับต้นๆของมนุษย์บนโลกนี้ หลายๆคนอาจคุ้นหูกันในชื่อ โรคกลัวความรัก หรือ โรคกลัวการตกหลุมรัก (Philophobia)
ความเป็นมาของคำว่า Philophobia
Philophobia มาจากคำในภาษากรีก “Philos” ซึ่งหมายถึงความรัก และ “Phobos” ซึ่งหมายถึงความกลัว
Philophobia เกิดขึ้นจากอะไร?
แต่ละคนก็จะมีสาเหตุไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับปัจจัยที่พบเจอ โดยปัจจัยหลักอย่างแรกคือ เหตุการณ์ฝังใจในอดีตที่กระทบจิตใจมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการถูกนอกใจ ถูกหลอกใช้ การโดนบอกเลิก เรียกได้ว่าพบเจอความสัมพันธ์ที่ล้มเหลวมาก่อนทำให้เกิดการกลัวที่จะมีรักครั้งใหม่ กลัวจะเกิดเหตุการณ์เดิมซ้ำวนกลับมาอีก หรืออาจเป็นเหตุการณ์ตอนวัยเด็ก ที่พบเจอกับความรุนแรงในครอบครัว การหย่าร้าง ซึ่งนอกเหนือจากครอบครัวแล้ว การเห็นเพื่อนสนิทและคนใกล้ชิดผิดหวังในความรัก ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งเช่นกัน
สาเหตุต่อมาคือ แรงกดดันทางศาสนาและความเชื่อ เนื่องจากการเคร่งครัดเรื่องความรักไม่ว่าจะเป็น หญิง กับ ชาย หรือ LGBTQ+ ส่งผลให้กลัวการถูกต่อต้านเรื่องความสัมพันธ์ จนสุดท้ายทำให้กลัวการมีความรัก นอกเหนือจากที่กล่าวไปข้างต้น บางคนที่กลัวการถูกปฏิเสธ ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและปิดกั้นตนเองจากผู้อื่นก็สามารถเกิด Philophobia ได้
อาการของผู้ที่เป็น Philophobia เป็นยังไง?
- การแสดงออกทางกาย: เมื่อพบเจอกับผู้คนที่เข้ามาจีบหรือเข้าหาเชิงคู่รัก จะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว ตัวสั่น คลื่นไส้ ในบางคนก็จะมีเหงื่อออกตามร่างกายเป็นจำนวนมาก หรือมีอาการกระสับกระส่าย
- การแสดงออกทางพฤติกรรม: เมื่อเริ่มต้นความสัมพันธ์ทำให้มีความรู้สึกกังวลและคิดมาก จึงเกิดการตีตัวออกห่าง และพยายามจะจบความสัมพันธ์นั้น
Philophobia เป็นแล้วหายได้ไหม?
หายได้ หากคุณได้รับการรักษาหรือบำบัดอย่างเหมาะสมโดยจิตแพทย์ และปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด เนื่องจากการที่คุณคิดว่าการที่มีคนเข้ามาหาคุณจะทำให้คุณผิดหวังหรือเสียใจ เราอยากให้คุณเข้าใจว่าคนที่เข้ามาในชีวิตของคุณ สมมติมี 10 คน แต่ละคนที่คุณเจอ แต่ละคนที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเขาก็มีนิสัยต่างกันออกไป 10 คน ก็ 10 แบบ ซึ่งหนึ่งในนั้นอาจจะมีคนที่เขาดีกับคุณ จริงใจกับคุณ และพร้อมที่จะเดินเคียงข้างคุณไปจนแก่ก็มี อยากให้ลองเปิดใจและทำความเข้าใจว่า คนแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน การที่คุณเผื่อใจนั่นเป็นเรื่องที่ดีแต่บางทีถ้าคุณมีคนๆ นึงที่คุณมั่นใจได้และไว้ใจได้ก็เป็นเรื่องที่ดีเช่นกัน
ถัดมาคือ การที่คุณยังยึดติดกับอดีตที่ผ่านมา การกลัวและวิ่งหนี มันอาจจะทำลายความสุขที่แท้จริงของคุณก็เป็นได้ ลองปล่อยสิ่งที่คุณยึดติดออกไป ทำใจให้สบายๆ ใช้ชีวิตให้มีความสุขอยู่กับปัจจุบัน
หากคุณพอจะมีเวลาสัก 20 นาที เราอยากให้คุณรับชมวีดีโอข้างต้น ซึ่งพูดโดย Trillion Small ช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ ที่อาจทำให้คุณก้าวผ่านความกลัวความรักได้ และสามารถที่จะสร้าง healthy relationship ได้ในที่สุด
ท้ายนี้เราอยากจะบอกผู้อ่านทุกท่านว่า ความรักไม่ใช่สิ่งที่แย่และน่ากลัวเสมอไป ที่ผ่านมาคุณอาจเคยเจ็บปวดแต่ ไม่ใช่ว่าเราจะจมปลักอยู่กับความเจ็บปวดตลอดไปทั้งในปัจจุบันและอนาคต ลองเปิดใจค่อยๆ ก้าวออกไปหาความสุขให้กับตัวเองกัน
สามารถอ่านบทความอื่นๆของ cleo ได้ที่: