2 สเต็ปที่เบสิคดูแลผิวหน้า.. ให้ผิวกระจ่างใสและแข็งแรงด้วยสองไอเท็มนี้

ดูแลผิวหน้าให้ผิวสุขภาพดีไปยาวๆ เราทำ 2 สเต็ปนี้ก็เอาอยู่เลยนะ คือบำรุงให้ผิวชุ่มชื้นแข็งแรง และเคลียร์ให้ผิวกระจ่างใสด้วยไอเท็มจากแบรนด์ NU FORMULA ที่มาเพื่อดูแลผิวให้คุณได้แบบเบสิครูทีน และเต็มไปด้วยสารสกัดที่ดีต่อทุกสภาพผิว เป็นสูตรที่อ่อนโยนและออกแบบมาเพื่อผิวคนเมืองร้อนโดยเฉพาะ

คลีโอชี้เป้า! สองไอเทมนี้จะทำให้ผิวหน้า +ผิวกายของเราอย่างไบรท์! จนต้องได้รางวัล CLEO Beauty Hall of Fame2024

อะไรดีเราต้องประกาศให้โลกรู้ 2 ไอเทมที่ได้ลองใช้แล้วรู้สึกว่าดีจนต้องให้เป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์บิวตี้ CLEO Beauty Hall of Fame ของปี 2024 นี้ มาทั้งผิวหน้าและผิวกาย รักจริง เริ่ดจริง!

เปิดตัว 3 ไอเท็มเมคอัพสุดเริ่ดจาก IN2IT  ที่คลีโอรักมาก

ถ้าให้พูดถึงไอเท็มเมคอัพที่ใช้ยังไงก็ไม่เบื่อ หยิบมาใช้ตอนออกงานก็สวยแพง ใช้ในวันรีบ ๆ ก็สวยเป๊ะ ใช้ตอนไหนก็ได้ลุคสวยทุกครั้ง คลีโอขอยกให้แบรนด์ IN2IT เป็นแบรนด์ขึ้นหิ้งของเมคอัพราคาน่ารักแต่คุณภาพเกินต้าน ยิ่งตอนนี้เดินทางมาถึงเทศกาล CLEO Beauty Hall of Fame 2024 คลีโอก็ไม่พลาดมอบรางวัลให้ IN2IT ไปอีกปี รอบนี้คว้ามงไปจุก ๆ 3 ชิ้น บอกเลยว่าทุกชิ้นที่ให้รางวัล คลีโอรักมากกก และอยากแชร์ต่อจริง ๆ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย 




Self Love

“อย่าลืมอนุญาตให้ตัวเองรู้สึก” รู้จักและรักตัวเองกับ แพร์ วิลาวัณย์

แพร์ วิลาวัณย์

ทุกวันนี้เรามักถูกบอกให้คิดบวกอยู่ตลอดเวลา ห้ามเอา negative vibes ไปพ่นใส่คนอื่น ตื่นมาฉันต้องเป็นคนที่สดใส คิดบวก คิดแง่ลบไม่ได้ อิจฉาคนอื่นไม่ได้ เพราะถ้าคุณเป็นแบบนั้นเมื่อไหร่ คุณจะกลายเป็นคนที่ไม่น่าคบในทันที ทั้งๆ ที่อารมณ์เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ใครกันที่เป็นคนกำหนดว่าเราควรรู้สึก หรือไม่รู้สึกอย่างไร แพร์ วิลาวัณย์ เป็นอีกคนที่เคยอยู่ในจุดนั้น เธอถูกกดทับด้วยความรู้สึกของตัวเอง จนวันนี้เธอได้เรียนรู้ที่จะทำความรู้จักตัวเอง สื่อสารกับตัวเอง และรักตัวเองมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

แพร์ วิลาวัณย์

ความรักตัวเอง คือการรู้จักตัวเอง

แพร์คือผู้หญิงในช่วงวัย 30 กว่า แน่นอนว่าเธอโตมาในยุคที่การแสดงออกทางอารมณ์เป็นเรื่องที่ไม่ดีเท่าไรนัก เธอเล่าว่า “ตั้งแต่เราเด็กๆ ก็ถูกฝังมาตั้งแต่โรงเรียน ที่บ้าน หรือในสังคมว่าคนที่มีอารมณ์เยอะๆ จะดูไม่ professional  ไม่เป็นผู้ใหญ่ เหมือนเราเปิดเรื่องอารมณ์โดยที่เราไม่รู้ตัว คือเราก็ไม่ได้ตั้งใจปิด เราเลยไม่เคยเรียนรู้อารมณ์ของตัวเองมาก่อน โดยเฉพาะอารมณ์ที่เป็น negative เช่น ความเกลียด ความโกรธ ความหงุดหงิด กลายเป็นว่าเราไม่เคยแสดงออกหรือพูดถึงอารมณ์เหล่านั้นออกมาเลย ไม่เคยสื่อสารอารมณ์แบบนี้กับคนอื่นเลยด้วยซ้ำ”

แพร์เล่าว่า พอเธออายุ 20 กว่า เริ่มมีความสัมพันธ์ มีชีวิตคู่ มีแฟน เพราะฉะนั้น การที่ต้องสัมพันธ์กับคนอื่นเลยเป็นสิ่งที่เธอควบคุมไม่ได้ “มันต้องมีบางอย่างที่เราไม่พอใจ ไม่ได้ดั่งใจ หรือรู้สึกไม่เห็นด้วย แต่กลายเป็นว่าเราไม่มีพื้นที่ที่จะให้ตัวเองได้แสดงออก เพราะเราจะรู้สึกว่า เราต้องแสดงแต่อารมณ์ดีๆ อารมณ์ที่ไม่ดีเราต้องเก็บเอาไว้และจัดการตัวเอง”

เมื่อร่างกายเริ่มส่งเสียงเตือน

อารมณ์ต่างๆ ที่เธอเก็บไว้ไม่เคยระบายออกมานั้นเริ่มสื่อสารออกมาผ่านร่างกายของเธอ เช่น หายใจเร็ว หายใจไม่อิ่ม ใจเต้น ขนลุก ทำให้เธอเริ่มสงสัยและสนใจเรื่องนี้มากขึ้น แพร์เริ่มดูแลตัวเองทางสุขภาพจิต “ครั้งแรกเราเคยคุยกับคุณหมอจิตแพทย์ คุณหมอก็บอกว่า “เราต้องไปหัดโกรธ” ลองจดออกมาว่ามีสถานการณ์อะไรบ้างที่ทำให้เราโกรธ สิ่งนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้แพร์ได้เรียนรู้ตัวเอง จนทุกวันนี้แพร์ทำงานเป็นนักจิตบำบัดด้วย เราก็เห็นทั้งผู้รับบริการ ผ่านเพื่อน คนรอบตัว เราเห็นเลยว่า คนส่วนใหญ่ไม่อนุญาตให้ตัวเองรู้สึก เพราะฉะนั้นมันเลยทำให้เราไม่รู้ว่าตัวเองรู้สึกยังไง ทำให้ไม่รู้ว่าต้องดูแลตัวเองยังไง”

ตอนนั้นเราก็ไม่ได้รู้สึกว่าเราแสดงอารมณ์ไม่ได้ แต่มันเหมือนเราไม่เคยเรียนรู้มาก่อนว่ามันสามารถทำได้ คุณหมอและนักจิตวิทยาจะพูดเสมอเลยว่า “อารมณ์ไม่ใช่เรื่องผิด” เราไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลมาซัพพอร์ตอารมณ์นั้น ไม่ชอบก็คือไม่ชอบ ชอบก็คือชอบ ตอนนั้นพอเราไม่แสดงอารมณ์ อาการมันเลยออกมาทางร่างกาย ในหัวมันคงคิดอยู่ตลอดแต่ไม่เคยเรียนรู้มาก่อนว่า สิ่งนี้เรียกว่าโกรธ ไม่พอใจ

เธอเล่าถึงช่วงที่อารมณ์ของเธอได้ถูกปลดปล่อยออกมามากขึ้น เป็นช่วงเวลาที่เธออนุญาตให้ตัวเองได้รู้สึก “พอเราได้แสดงอารมณ์ออกมา กลายเป็นว่าเราผ่อนคลายมากขึ้น เราได้สื่อสารสิ่งที่เรารู้สึกผ่านอะไรหลายๆ อย่าง มันก็ทำให้เราเริ่มเรียนรู้อารมณ์ของตัวเอง เวลาโกรธเราจะเป็นแบบนี้ สิ่งที่ทำให้เราโกรธได้ ค่อยๆ จับสัญญาณไปเรื่อยๆ แล้วหาวิธีจัดการกับมันต่อ สถานการณ์ไหนแสดงความโกรธได้ สถานการณ์ไหนแสดงออกไม่ได้ แต่เรามาฮีลตัวเองหลังจากนั้นได้ยังไง”

ลาออกจากงานประจำ

การลาออกจากงานประจำมันคือการยืนหยัดทางด้านอารมณ์ของตัวเองเหมือนกัน

อีกหนึ่งโมเมนต์ที่เป็นจุดเปลี่ยนให้เธอรักตัวเองมากขึ้น นั่นก็คือ การลาออกจากงานประจำ มันไม่ใช่เรื่องยาก และมันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน เธอบอกกับเราว่า วินาทีที่เธอลาออกจากงานประจำ มันไม่ใช่อารมณ์ชั่ววูบ แต่มันคืออารมณ์และความคิดที่เธอไตร่ตรอง มองถึงข้อดีข้อเสีย และกลั่นกรองออกมาอย่างดีแล้ว “อารมณ์ก็เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งได้ เราคิดว่าเราไม่อยากอยู่ที่นี่แล้ว เพราะเรารู้สึกยังไง เรารู้สึกไม่โอเค เราเสียใจ เราอึดอัด เราไม่เหลือความไว้วางใจ มันก็เป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลที่ทำให้เราเลือกที่จะทำยังไงต่อไป พอเราชัดเจนว่าเราไม่ไปต่อแล้ว มันก็ช่วยผ่อนคลายสำหรับเรา แต่มันไม่จำเป็นว่าทุกคนต้องเลือกการลาออก”

“ต้อง” และ “ควร” คีย์เวิร์ดของความกดดันในทุกวันนี้

ทุกวันนี้เป็นยุคสมัยที่เต็มไปด้วยความกดดัน ฉันต้องเป็นแบบนั้น ฉันควรมีอย่างนี้ บางทีเราอาจะไม่รู้ตัว แต่ถ้าเราลองแสดงความรู้สึกออกมา และค่อยๆ ถามตัวเองว่าทำไมเราถึงรู้สึกกดดันจัง ฉันกดดันเพราะฉันมีหน้าที่ที่ต้องทำ ยุคสมัยก็เกี่ยวนะ เดี๋ยวนี้สื่อมันเยอะมาก เราไม่มีช่วงเวลาได้เบรคตัวเองออกมาเหมือนสมัยก่อน เราไม่มีช่วงเวลาของการหยุดพักการรับรู้ข่าวสาร “เราอยู่ในเจนที่บอกว่า เราโตมาแล้วต้องประสบความสำเร็จ ต้องมีเงิน มีรถ ไม่ว่าเราจะทำอะไรมันจะมีคู่มือไปทุกอย่าง และถ้าคุณไม่ทำแบบนั้นคุณจะแปลกประหลาด มันดูผิดโดยที่เราไม่เคยตั้งคำถามเลยว่ามันใช่หรือเปล่า”

ผิดไหมที่จะ “อิจฉา” 

ความอิจฉา เหมือนเป็นอารมณ์ต้องห้ามที่ถ้ารู้สึกขึ้นมาเมื่อไร เราจะดูไม่ดีทันที ทั้งๆ ที่มันก็เป็นแค่อารมณ์เหมือนอารมณ์อื่นๆ แพร์เองก็เคยรู้สึกอิจฉาเช่นกัน เธอบอกว่า “มันเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะต้องถูกตัดสินว่าดีหรือไม่ดี พอความรู้สึกอิจฉามันถูกจัดให้อยู่ในอารมณ์ในแง่ลบแล้ว คนส่วนใหญ่ก็จะรู้สึกว่าเราไม่ควรรู้สึกไม่ดีแบบนี้ เราควรมีแต่พลังบวก”

แพร์พูดเรื่องความอิจฉาเอาไว้ได้ดีมาก เธอบอกว่า เราสามารถมองความอิจฉาให้เป็นความ positive ได้ หนึ่งคือเรารับรู้ แปลว่าเราอนุญาตให้ตัวเองได้รู้สึก การอนุญาตให้ตัวเองรู้สึก การยอมรับว่ากำลังอิจฉาอยู่ มันก็เป็นเรื่องที่ดีมากๆ เพราะว่าคุณกำลังปลดปล่อยอารมณ์และความคิดออกมา สิ่งถัดมาคือการยอมรับ หลายคนก็คงไม่อยากบอกว่า ฉันกำลังอิจฉาเธอ เพราะฟังแล้วมันไม่ดี แต่อารมณ์มันไม่ได้อยู่กับเราตลอดเวลา มันมีขึ้นลง เราก็ค่อยหาวิธีจัดการกับมัน

ความรู้สึกมันเป็นของเรา เรารู้สึกได้ และเราก็ค่อยๆ หาวิธีระบายความรู้สึก และการอยู่ร่วมกับความรู้สึกนั้นในแบบของเรา

การบอกว่าตัวเองรู้สึกยังไง เป็นขั้นแรกของการสื่อสารกับตัวเอง พอเราชัดเจนว่าเรารู้สึกยังไงแล้ว เราก็ตัดสินตัวเองให้น้อย มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้ เพราะว่าเราโตมาในสังคมที่เต็มไปด้วยการตัดสิน แต่การตัดสินก็ยังเป็นเรื่องจำเป็น แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเราตัดสินตัวเองให้น้อยลง เราจะผ่อนคลายมากขึ้น มันคือกระบวนการพูดคุยกับตัวเอง ทบทวนกับตัวเองในสิ่งที่เกิดขึ้น 

การได้พูดคุยกับแพร์ ทำให้เราได้เรียนรู้ตัวเองหลายอย่างมากๆ ทำให้เราได้กลับมาทบทวนและพูดคุยกับตัวเองอีกครั้ง ตอนนี้ แพร์ วิลาวัณย์ ทำงานเป็นนักจิตบำบัด ประจำศูนย์ CBT ดีต่อใจ และ Empathy Sauce และสำหรับใครที่อยากหาเวลาได้อยู่กับตัวเองแบบที่เงียบและสงบที่สุด แพร์บอกว่าตอนนี้กำลังมีโครงการที่ชื่อว่า อวโลกิตะ (Avalokita)  เป็นที่ว่างสำหรับนั่งเงียบๆ และอยู่กับตัวเอง ใครที่อยากลองปลีกวิเวก ทำใจให้สงบ อยู่กับตัวเองจริงๆ ก็สามารถแวะมาได้เลยนะ

เข้าร่วมฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

อวโลกิตะ Avalokita

https://maps.app.goo.gl/U5ZRf4pWGP3UAEMG7

ชัเน 9 อาคารตั้งฮั่วปัก สาทร ซอย 10

เปิดบริการทุกวัน เวลา 17:00น.-21:00น.

3 สิ่งที่สำคัญที่สุด โอปราห์ วิมฟรีย์ บอกว่า “ขอให้ถามตัวเอง 3 สิ่งนี้เสมอนะ”

More

[ajax_load_more posts_per_page='6']