ฉันไม่โชคดีพอที่จะมีผู้ชายสักคน “มองเห็นฉันในแบบที่ฉันเป็น”

ฉันไม่ได้โชคดีแบบนั้น ฉันไม่ได้โชคดีพอที่จะมีผู้ชายสักคนมองเห็นฉันในแบบที่ฉันเป็น มองเห็นความเจ็บปวดของฉัน และอยากฉุดฉันขึ้นไป ไม่มีวิธีไหนอีกแล้วที่ฉันจะบอกตัวเองได้ดีไปกว่า “ยอมรับความจริงเถอะ” ทุกครั้งเวลาที่ฉันเห็นใครๆ เขารักกัน ความหวังในใจ ความเพ้อทุกครั้งที่กดแอปสีดำแดงเพื่อเลือกซีรีย์เกาหลีเรื่องใหม่ โจทย์ของฉันไม่มีอะไรมาก ต้องเป็นเรื่องที่ฉันสามารถสมมุติตัวเองเป็นนางเอกในเรื่องได้ แล้วจินตนาการต่อว่า บางทีฉันอาจจะเจอผู้ชายในชีวิตจริง ที่เป็นเหมือนพระเอกในเรื่อง หนังสือฮาวทูบอกว่า ให้คิดว่าอยากได้ผู้ชายแบบไหน ลิสต์ออกมาให้เยอะที่สุด แล้วตัดออกให้เหลือสัก 10 ข้อว่านั่นคือคุณสมบัติผู้ชายที่อยากได้ ฉันลองทำและกุมลิสท์นั้นไว้แน่นในกระเป๋าสตางค์ เอามาเปิดอ่านบ่อยๆ ด้วย บางทีที่เขาบอกว่าคืนพระจันทร์เต็มดวง พระจันทร์จะมอบพลังงานของความรักดูดใครให้เข้ามาในชีวิต ฉันจะเอาลิสท์นั้น ออกไปหาแสงจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐาน แล้วนึกถึงเขา แน่นอนว่าฉันมีความเชื่อ ยังคงเชื่อ และก็จะเชื่อต่อไป เรื่องราวในโทรศัพท์กับเพื่อนสาว เราจะวนเวียนกันที่ซีรีย์ที่เพิ่งดู กรี๊ดพระเอก อยากบินไปเกาหลี แล้วเราก็จะกลับมาที่เรื่องของเรากัน ทำไมเพื่อนคนนั้นได้แฟนดีจัง แฟนเขาพาไปเมืองนอกบ่อยมากเลย เขาไปทริปกันอีกแล้ว ฉันกับเพื่อนก็ได้แต่พยายามหาเรื่องเน่าๆ ในเรื่องรักของคนอื่น “แต่พวกเขาอาจมีอะไรไม่แฮปปี้ก็ได้นะ พวกเราไม่มีทางรู้หรอก” มันคงเป็นคำปลอบใจที่เราบ่นให้กันฟัง แต่ฉันก็ยังไม่มีใครเข้ามาในชีวิตอยู่ดี “ที่เธอเหนื่อยเพราะไม่มีคนรักหรือเปล่า?” ประโยคจากเรื่อง My Liberation Notes หัวหน้าของพี่สาวนางเอกถามขึ้นมา หลังจากที่เธอมาทำงานแล้วบ่นว่าเหนื่อยๆๆๆๆ ทำไมชีวิตฉันถึงเหนื่อยขนาดนี้ […]

คุณหมอสา-Guardian Diamond พี่สาวที่เปิดประตูลับ ช่วยเคลียร์พลังงานลบให้คุณพบความสำเร็จ

ตั้งแต่เข้าปี 2024 ที่ผ่านมา คลีโอขอบอกว่านี่เป็นการสัมภาษณ์ที่เบิกเนตรให้เรารู้สึกมีความหวังและกำลังใจ รู้สึกว่าจักรวาลมอบของล้ำค่าเอาไว้ให้เราเสมอ เป็นเรื่องไม่บังเอิญที่ทำให้เราได้เจอกับคุณหมอสา หรือหลายคนรู้จักเธอในชื่อ Doctor Diamond กับฉายาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเรื่องเพชรที่ไม่ได้จบแพทยศาสตร์ แต่เป็นผู้ที่ช่วยเยียวยาให้ความรู้กับคนที่สนใจเรื่องเพชร รวมทั้งก้าวเข้ามาแก้ปัญหาชีวิตด้วยพลังของ “เพชรดิบ” ที่ค้นพบพลังงานอันยิ่งใหญ่นี้จนกลายมาเป็นแบรนด์ Guardian Diamond ที่สายมูบอกว่ามาลองแล้วขนลุกซู่ทุกคน ลูกสาวครอบครัวคนจีนที่ฝึกค้าขายตั้งแต่เด็ก “ตอนเด็กไม่รู้ว่าเราอยากเป็นอะไร พ่อแม่อยากให้เรียนที่เอแบค เพราะเห็นว่าเราภาษาดีมาตั้งแต่เด็ก เราไม่มีฝันเลย เป็นเจเนอเรชั่นที่ที่บ้านเป็นคนจีน ดังนั้นก็จะมีบอกแค่ว่าต้องมาช่วยพ่อแม่นะ เราก็รู้สึกว่าเราต้องทําไปจนตลอดชีวิต ไม่เคยมีความคิดอื่นเลย ที่บ้านทำธุรกิจขายเพขร เรียนจบมาให้ไปเรียนดูเพชรนะ เราก็ไป ซึ่งเรียนดูเพชรของสถาบัน GIA ซึ่งตอนนั้นมีสาขาในประเทศไทย เป็นโรงเรียนเล็กๆ ในยุค IMF ค่ะนานมากแล้ว” “คุณพ่อคุณแม่พยายามหนักมากในการส่งเราเรียนนะคะ จําได้เลยว่าแม่ให้เราเดินเข้าไปถามแล้วขอตีเช็ค 4 ใบจ่ายค่าเทอมได้ไหม ช่วงนั้นเราก็รู้เลยว่าชีวิตไม่ได้ง่าย ต้องเรียนให้จบกลับไปช่วยเขา เพราะแม่ก็จะพูดตลอด ตาแม่ก็เริ่มไปแล้วนะ เหมือนเขามาเปิดร้านตอนประมาณ 40 กว่าแล้ว ดังนั้นจะให้เค้าดูเพชรไปตลอดก็เป็นไปไม่ได้ เราเริ่มทําทุกอย่างตั้งแต่เสิร์ฟน้ํา เช็ดตู้ วิ่งงาน บางทีมีงานช่าง เราก็ขับรถออกไปเอง เดินส่งของส่งงาน แม่จะเหน็บเราไปด้วย […]

5 วัดปังในฮ่องกง ขออะไรเทพให้รัวๆ

“เก่งอย่างเดียวแต่ไม่เฮงก็ประสบความสำเร็จยาก” คำพูดนี้ดูจะไม่เกินความจริงไปสักเท่าไหร่นัก ในปัจจุบันเป็นยุคที่วัยรุ่นกำลังสร้างตัว หลายๆคนที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจบางคนบอกว่าเกิดจากความสามารถของตัวเอง แต่หลายๆคนเปิดเผยความลับว่าส่วนหนึ่งมาจากการมูในสถานที่ที่มีพลังงานประกอบกับพิธีกรรมที่ถูกต้องทำให้มีทั้งพลังจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์และกำลังใจในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

“อกหัก” คือสิ่งยอดเยี่ยมที่เกิดกับฉัน ฉันเลิกโกหกตัวเองสักที

เราอย่าเพิ่งกลัวการอกหัก หรือการเลิกกับใครนะ เพราะเหตุการณ์จี๊ดในหัวใจนี้ จะนำพาคุณไปเจอตัวเอง เจอสิ่งใหม่ เจอโอกาสดีๆ ในชีวิตมากมาย เหมือนกับที่ เอมม่า กิบบ์ส นักเขียนและโปรดิวเซอร์รายการทีวีของออสเตรเลียเจอมา เธอเอาสิ่งนี้มาพูดในเท็ด ทอล์ค หมัดฮุคเลยคือเธอบอกว่า “อกหักไม่เพียงแต่จะทำให้เธอเห็นหัวใจตัวเอง ยังทำให้เธอเลิกโกหกตัวเอง และก็เลยเลิกโกหกทุกสิ่ง เรื่องดีๆ ในชีวิตเลยสาดเข้ามาเต็มๆ เลย” เอมม่าเล่าว่า…. ชีวิตฉันเหมือนจะดีนะ ฉันได้ทำงานที่ฝัน อยู่ในเมืองที่ดี “แต่ฉันกลับไม่มีความสุข ฉันโกหกตัวเองทุกวันว่า เดี๋ยวมันก็จะดีเองแหละ” ฉันใช้ชีวิตไป 3 ปีเต็มที่โกหกตัวเอง และบอกตัวเองว่าสิ่งนี้เป็นไปตามแพลนแล้วนะ ในขณะที่หัวใจฉันบอกว่า “เฮ้! เธอมีปัญหาแล้วล่ะ” ฉันใส่เสียงนี้เอาไว้ในตู้ และเอาความคิดควบคุมมันเอาไว้ ฉันคิดว่าถ้าฉันพยายามมากพอจะทำให้ทุกสิ่งเวิร์ค มันก็น่าจะเป็นอย่างนั้น แต่สิ่งที่ฉันได้รับคือ ทั้งกาย อารมณ์ จิตวิญญาณของฉันมันเหือดแห้งมาก ฉันกลายมาเป็นคนที่ขึ้นอยู่กับแผนในชีวิต ฉันไม่ไปเจอเพื่อน ไม่ไปเที่ยวไหน ไม่เจอครอบครัว ไม่เจอใครใหม่ๆ และฉันไม่อยากทำงานกับแพชชั่นของตัวเอง ฉันมัวแต่หาทางซ่อมสิ่งที่ไม่ใช่ของชีวิตฉัน ความตลกก็คือในขณะที่คุณกำลังพยายามทำให้แผนชีวิตของคุณเวิร์ค แล้วคุณก็ต้องฝืดมากๆ นั่นน่ะ คุณเริ่มจะคิดแล้วว่า “แล้วทำไมฉันต้องมีแผนนั้นตั้งแต่แรกนะ” ฉันเริ่มลืมว่าทำไมฉันถึงอยากเป็นนักเขียน […]




Self Love

“อย่าลืมอนุญาตให้ตัวเองรู้สึก” รู้จักและรักตัวเองกับ แพร์ วิลาวัณย์

แพร์ วิลาวัณย์

ทุกวันนี้เรามักถูกบอกให้คิดบวกอยู่ตลอดเวลา ห้ามเอา negative vibes ไปพ่นใส่คนอื่น ตื่นมาฉันต้องเป็นคนที่สดใส คิดบวก คิดแง่ลบไม่ได้ อิจฉาคนอื่นไม่ได้ เพราะถ้าคุณเป็นแบบนั้นเมื่อไหร่ คุณจะกลายเป็นคนที่ไม่น่าคบในทันที ทั้งๆ ที่อารมณ์เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ใครกันที่เป็นคนกำหนดว่าเราควรรู้สึก หรือไม่รู้สึกอย่างไร แพร์ วิลาวัณย์ เป็นอีกคนที่เคยอยู่ในจุดนั้น เธอถูกกดทับด้วยความรู้สึกของตัวเอง จนวันนี้เธอได้เรียนรู้ที่จะทำความรู้จักตัวเอง สื่อสารกับตัวเอง และรักตัวเองมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

แพร์ วิลาวัณย์

ความรักตัวเอง คือการรู้จักตัวเอง

แพร์คือผู้หญิงในช่วงวัย 30 กว่า แน่นอนว่าเธอโตมาในยุคที่การแสดงออกทางอารมณ์เป็นเรื่องที่ไม่ดีเท่าไรนัก เธอเล่าว่า “ตั้งแต่เราเด็กๆ ก็ถูกฝังมาตั้งแต่โรงเรียน ที่บ้าน หรือในสังคมว่าคนที่มีอารมณ์เยอะๆ จะดูไม่ professional  ไม่เป็นผู้ใหญ่ เหมือนเราเปิดเรื่องอารมณ์โดยที่เราไม่รู้ตัว คือเราก็ไม่ได้ตั้งใจปิด เราเลยไม่เคยเรียนรู้อารมณ์ของตัวเองมาก่อน โดยเฉพาะอารมณ์ที่เป็น negative เช่น ความเกลียด ความโกรธ ความหงุดหงิด กลายเป็นว่าเราไม่เคยแสดงออกหรือพูดถึงอารมณ์เหล่านั้นออกมาเลย ไม่เคยสื่อสารอารมณ์แบบนี้กับคนอื่นเลยด้วยซ้ำ”

แพร์เล่าว่า พอเธออายุ 20 กว่า เริ่มมีความสัมพันธ์ มีชีวิตคู่ มีแฟน เพราะฉะนั้น การที่ต้องสัมพันธ์กับคนอื่นเลยเป็นสิ่งที่เธอควบคุมไม่ได้ “มันต้องมีบางอย่างที่เราไม่พอใจ ไม่ได้ดั่งใจ หรือรู้สึกไม่เห็นด้วย แต่กลายเป็นว่าเราไม่มีพื้นที่ที่จะให้ตัวเองได้แสดงออก เพราะเราจะรู้สึกว่า เราต้องแสดงแต่อารมณ์ดีๆ อารมณ์ที่ไม่ดีเราต้องเก็บเอาไว้และจัดการตัวเอง”

เมื่อร่างกายเริ่มส่งเสียงเตือน

อารมณ์ต่างๆ ที่เธอเก็บไว้ไม่เคยระบายออกมานั้นเริ่มสื่อสารออกมาผ่านร่างกายของเธอ เช่น หายใจเร็ว หายใจไม่อิ่ม ใจเต้น ขนลุก ทำให้เธอเริ่มสงสัยและสนใจเรื่องนี้มากขึ้น แพร์เริ่มดูแลตัวเองทางสุขภาพจิต “ครั้งแรกเราเคยคุยกับคุณหมอจิตแพทย์ คุณหมอก็บอกว่า “เราต้องไปหัดโกรธ” ลองจดออกมาว่ามีสถานการณ์อะไรบ้างที่ทำให้เราโกรธ สิ่งนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้แพร์ได้เรียนรู้ตัวเอง จนทุกวันนี้แพร์ทำงานเป็นนักจิตบำบัดด้วย เราก็เห็นทั้งผู้รับบริการ ผ่านเพื่อน คนรอบตัว เราเห็นเลยว่า คนส่วนใหญ่ไม่อนุญาตให้ตัวเองรู้สึก เพราะฉะนั้นมันเลยทำให้เราไม่รู้ว่าตัวเองรู้สึกยังไง ทำให้ไม่รู้ว่าต้องดูแลตัวเองยังไง”

ตอนนั้นเราก็ไม่ได้รู้สึกว่าเราแสดงอารมณ์ไม่ได้ แต่มันเหมือนเราไม่เคยเรียนรู้มาก่อนว่ามันสามารถทำได้ คุณหมอและนักจิตวิทยาจะพูดเสมอเลยว่า “อารมณ์ไม่ใช่เรื่องผิด” เราไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลมาซัพพอร์ตอารมณ์นั้น ไม่ชอบก็คือไม่ชอบ ชอบก็คือชอบ ตอนนั้นพอเราไม่แสดงอารมณ์ อาการมันเลยออกมาทางร่างกาย ในหัวมันคงคิดอยู่ตลอดแต่ไม่เคยเรียนรู้มาก่อนว่า สิ่งนี้เรียกว่าโกรธ ไม่พอใจ

เธอเล่าถึงช่วงที่อารมณ์ของเธอได้ถูกปลดปล่อยออกมามากขึ้น เป็นช่วงเวลาที่เธออนุญาตให้ตัวเองได้รู้สึก “พอเราได้แสดงอารมณ์ออกมา กลายเป็นว่าเราผ่อนคลายมากขึ้น เราได้สื่อสารสิ่งที่เรารู้สึกผ่านอะไรหลายๆ อย่าง มันก็ทำให้เราเริ่มเรียนรู้อารมณ์ของตัวเอง เวลาโกรธเราจะเป็นแบบนี้ สิ่งที่ทำให้เราโกรธได้ ค่อยๆ จับสัญญาณไปเรื่อยๆ แล้วหาวิธีจัดการกับมันต่อ สถานการณ์ไหนแสดงความโกรธได้ สถานการณ์ไหนแสดงออกไม่ได้ แต่เรามาฮีลตัวเองหลังจากนั้นได้ยังไง”

ลาออกจากงานประจำ

การลาออกจากงานประจำมันคือการยืนหยัดทางด้านอารมณ์ของตัวเองเหมือนกัน

อีกหนึ่งโมเมนต์ที่เป็นจุดเปลี่ยนให้เธอรักตัวเองมากขึ้น นั่นก็คือ การลาออกจากงานประจำ มันไม่ใช่เรื่องยาก และมันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน เธอบอกกับเราว่า วินาทีที่เธอลาออกจากงานประจำ มันไม่ใช่อารมณ์ชั่ววูบ แต่มันคืออารมณ์และความคิดที่เธอไตร่ตรอง มองถึงข้อดีข้อเสีย และกลั่นกรองออกมาอย่างดีแล้ว “อารมณ์ก็เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งได้ เราคิดว่าเราไม่อยากอยู่ที่นี่แล้ว เพราะเรารู้สึกยังไง เรารู้สึกไม่โอเค เราเสียใจ เราอึดอัด เราไม่เหลือความไว้วางใจ มันก็เป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลที่ทำให้เราเลือกที่จะทำยังไงต่อไป พอเราชัดเจนว่าเราไม่ไปต่อแล้ว มันก็ช่วยผ่อนคลายสำหรับเรา แต่มันไม่จำเป็นว่าทุกคนต้องเลือกการลาออก”

“ต้อง” และ “ควร” คีย์เวิร์ดของความกดดันในทุกวันนี้

ทุกวันนี้เป็นยุคสมัยที่เต็มไปด้วยความกดดัน ฉันต้องเป็นแบบนั้น ฉันควรมีอย่างนี้ บางทีเราอาจะไม่รู้ตัว แต่ถ้าเราลองแสดงความรู้สึกออกมา และค่อยๆ ถามตัวเองว่าทำไมเราถึงรู้สึกกดดันจัง ฉันกดดันเพราะฉันมีหน้าที่ที่ต้องทำ ยุคสมัยก็เกี่ยวนะ เดี๋ยวนี้สื่อมันเยอะมาก เราไม่มีช่วงเวลาได้เบรคตัวเองออกมาเหมือนสมัยก่อน เราไม่มีช่วงเวลาของการหยุดพักการรับรู้ข่าวสาร “เราอยู่ในเจนที่บอกว่า เราโตมาแล้วต้องประสบความสำเร็จ ต้องมีเงิน มีรถ ไม่ว่าเราจะทำอะไรมันจะมีคู่มือไปทุกอย่าง และถ้าคุณไม่ทำแบบนั้นคุณจะแปลกประหลาด มันดูผิดโดยที่เราไม่เคยตั้งคำถามเลยว่ามันใช่หรือเปล่า”

ผิดไหมที่จะ “อิจฉา” 

ความอิจฉา เหมือนเป็นอารมณ์ต้องห้ามที่ถ้ารู้สึกขึ้นมาเมื่อไร เราจะดูไม่ดีทันที ทั้งๆ ที่มันก็เป็นแค่อารมณ์เหมือนอารมณ์อื่นๆ แพร์เองก็เคยรู้สึกอิจฉาเช่นกัน เธอบอกว่า “มันเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะต้องถูกตัดสินว่าดีหรือไม่ดี พอความรู้สึกอิจฉามันถูกจัดให้อยู่ในอารมณ์ในแง่ลบแล้ว คนส่วนใหญ่ก็จะรู้สึกว่าเราไม่ควรรู้สึกไม่ดีแบบนี้ เราควรมีแต่พลังบวก”

แพร์พูดเรื่องความอิจฉาเอาไว้ได้ดีมาก เธอบอกว่า เราสามารถมองความอิจฉาให้เป็นความ positive ได้ หนึ่งคือเรารับรู้ แปลว่าเราอนุญาตให้ตัวเองได้รู้สึก การอนุญาตให้ตัวเองรู้สึก การยอมรับว่ากำลังอิจฉาอยู่ มันก็เป็นเรื่องที่ดีมากๆ เพราะว่าคุณกำลังปลดปล่อยอารมณ์และความคิดออกมา สิ่งถัดมาคือการยอมรับ หลายคนก็คงไม่อยากบอกว่า ฉันกำลังอิจฉาเธอ เพราะฟังแล้วมันไม่ดี แต่อารมณ์มันไม่ได้อยู่กับเราตลอดเวลา มันมีขึ้นลง เราก็ค่อยหาวิธีจัดการกับมัน

ความรู้สึกมันเป็นของเรา เรารู้สึกได้ และเราก็ค่อยๆ หาวิธีระบายความรู้สึก และการอยู่ร่วมกับความรู้สึกนั้นในแบบของเรา

การบอกว่าตัวเองรู้สึกยังไง เป็นขั้นแรกของการสื่อสารกับตัวเอง พอเราชัดเจนว่าเรารู้สึกยังไงแล้ว เราก็ตัดสินตัวเองให้น้อย มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้ เพราะว่าเราโตมาในสังคมที่เต็มไปด้วยการตัดสิน แต่การตัดสินก็ยังเป็นเรื่องจำเป็น แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเราตัดสินตัวเองให้น้อยลง เราจะผ่อนคลายมากขึ้น มันคือกระบวนการพูดคุยกับตัวเอง ทบทวนกับตัวเองในสิ่งที่เกิดขึ้น 

การได้พูดคุยกับแพร์ ทำให้เราได้เรียนรู้ตัวเองหลายอย่างมากๆ ทำให้เราได้กลับมาทบทวนและพูดคุยกับตัวเองอีกครั้ง ตอนนี้ แพร์ วิลาวัณย์ ทำงานเป็นนักจิตบำบัด ประจำศูนย์ CBT ดีต่อใจ และ Empathy Sauce และสำหรับใครที่อยากหาเวลาได้อยู่กับตัวเองแบบที่เงียบและสงบที่สุด แพร์บอกว่าตอนนี้กำลังมีโครงการที่ชื่อว่า อวโลกิตะ (Avalokita)  เป็นที่ว่างสำหรับนั่งเงียบๆ และอยู่กับตัวเอง ใครที่อยากลองปลีกวิเวก ทำใจให้สงบ อยู่กับตัวเองจริงๆ ก็สามารถแวะมาได้เลยนะ

เข้าร่วมฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

อวโลกิตะ Avalokita

https://maps.app.goo.gl/U5ZRf4pWGP3UAEMG7

ชัเน 9 อาคารตั้งฮั่วปัก สาทร ซอย 10

เปิดบริการทุกวัน เวลา 17:00น.-21:00น.

3 สิ่งที่สำคัญที่สุด โอปราห์ วิมฟรีย์ บอกว่า “ขอให้ถามตัวเอง 3 สิ่งนี้เสมอนะ”

More

[ajax_load_more posts_per_page='6']