เปิดตัว 3 ไอเท็มเมคอัพสุดเริ่ดจาก IN2IT  ที่คลีโอรักมาก

ถ้าให้พูดถึงไอเท็มเมคอัพที่ใช้ยังไงก็ไม่เบื่อ หยิบมาใช้ตอนออกงานก็สวยแพง ใช้ในวันรีบ ๆ ก็สวยเป๊ะ ใช้ตอนไหนก็ได้ลุคสวยทุกครั้ง คลีโอขอยกให้แบรนด์ IN2IT เป็นแบรนด์ขึ้นหิ้งของเมคอัพราคาน่ารักแต่คุณภาพเกินต้าน ยิ่งตอนนี้เดินทางมาถึงเทศกาล CLEO Beauty Hall of Fame 2024 คลีโอก็ไม่พลาดมอบรางวัลให้ IN2IT ไปอีกปี รอบนี้คว้ามงไปจุก ๆ 3 ชิ้น บอกเลยว่าทุกชิ้นที่ให้รางวัล คลีโอรักมากกก และอยากแชร์ต่อจริง ๆ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย 

สนุกให้สุด ไม่หยุดเป็นตัวเอง เพิ่มความมั่นใจใต้วงแขนด้วยไอเท็มสุดเริ่ดจาก Ri en 

มีใครเป็นสายฟรีสปิริตแบบเราบ้าง จะทำอะไรก็ต้องทำให้สุด ไม่หยุดเป็นตัวเอง ลุย ๆ พร้อมทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะปาร์ตี้ ทำกิจกรรม หรือเที่ยวในแบบที่ต้องการ แต่มีอยู่หนึ่งสิ่งสำคัญที่สาว ๆ อย่างเราต้องใส่ใจเป็นพิเศษ นั่นก็คือเรื่องผิวใต้วงแขนนั่นเอง เพราะถ้าหากผิวบริเวณนั้นดำคล้ำ หรือมีกลิ่น ไม่เนียนสวย ก็อาจทำให้ความมั่นใจหรืออินเนอร์ความกล้าของเรานั้นหายไปด้วยได้เช่นกัน แต่วันนี้ คลีโอมีไอเท็มดูแลผิวใต้วงแขนจากแบรนด์ลูกรักอย่าง Ri en มาฝาก แอบกระซิบว่าเป็นไอเท็มที่เราใช้มาตลอด และก็มอบรางวัล CLEO Beauty Hall of Fame 2024 ให้ด้วยนะ เดี๋ยวมาเล่าให้ฟังว่ามันเริ่ดยังไง




Health, Women's Issues

ที่คิดซ้ำๆ ทำเรื่องเดิมๆ หรือฉันจะเป็นโรค OCD? ( โรคย้ำคิดย้ำทำ )

ย้ำคิดย้ำทำ

ปิดไฟรึยังนะ? ล็อกประตูรึยัง? หรือแม้กระทั่งการล้างมือซ้ำๆ เพราะคิดว่ามือยังไม่สะอาด ที่จริงความคิดทบทวนรอบคอบอาจจะเป็นสิ่งที่ดีแต่ถ้ามีมากเกินไปจนทำให้ขาดสมาธิในการทำงานหรือทำสิ่งต่างๆ จนถึงทำให้ตนเองไม่สบายใจ เกิดความเครียดและวิตกกังวลทั้งๆที่คุณจะรู้อยู่แก่ใจก็ตามว่ามันไม่สมเหตุสมผลเท่าไหร่แต่ก็ยังคงคิดซ้ำไปซ้ำมา ทำแต่เรื่องเดิมๆ วนไป คุณอาจเสี่ยงเป็น โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ obsessive-compulsive disorder (OCD) ก็เป็นได้

ยกตัวอย่าง เรื่องจริงของชายหนุ่มคนหนึ่งเขามีชื่อว่า Nick เขาเป็นคนที่นิสัยร่าเริง เป็นวัยรุ่นที่ใช้ชีวิตปกติชอบไปโรงเรียนเจอเพื่อนฝูง แต่เมื่อเรียนจบเขาก็มีความเครียดกับเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องงานและความสัมพันธ์กับแฟน อยู่มาวันนึงเขาเริ่มมีอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ คือเขาเริ่มทำความสะอาดห้องของตัวเองซ้ำๆ “ผมทำความสะอาดพื้นวันละ 4-5 รอบ ใช้เวลาอยู่กับการทำความสะอาดประมาณ 6 ชั่วโมงต่อวัน ผมแทบไม่ได้ออกไปเจอเพื่อนหรือใช้เวลาทำอย่างอื่นเลย” Nick กล่าว และเขาทำเพราะเขาคิดว่าพื้นสกปรกและการทำความสะอาดคือสิ่งสำคัญ แต่สุดท้ายเขาก็พบว่า สิ่งนี้มันมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากเลยทีเดียว

อีกเหตุการณ์เป็นเรื่องจริงของ Howie Mandel หนึ่งในกรรมการของ America’s Got Talent ที่ OCD เกี่ยวกับความสะอาด ส่งผลต่อเขาจนถึงขั้นที่เขาจะไม่จับมือกับใครเลยรวมถึงผู้เข้าแข่งขัน เว้นแต่เขาจะสวมถุงมือลาเท็กซ์หรือกำหมัดแล้วชนกับอีกฝ่ายแทนการจับมือ โดย Howie ได้เปิดใจเกี่ยวกับโรค OCD นี้ซึ่งเปรียบเหมือนฝันร้ายสำหรับเขา และในการให้สัมภาษณ์กับ Doctor’s Ask ในปี 2010 Mandel กล่าวว่า “ผมมักหมกมุ่นอยู่กับเชื้อโรคและทำความสะอาด ตอนยังวัยรุ่นผมไม่ผูกเชือกรองเท้าเพียงเพราะรองเท้าเหยียบบนพื้นและผมคิดว่าพื้นสกปรก”

หากใครเคยดูซีรีย์เรื่อง Monk (นักสืบจิตป่วน) ก็จะคุ้นเคยกับบทบาทที่ตัวเอกต้องเผชิญกับโรค OCD เป็นอย่างดี ซึ่งภาพยนตร์ชุดนี้นำแสดงโดย โทนี ชาลู รับบทเป็น เอเดรียน มังก์ นักสืบของกรมตำรวจซานฟรานซิสโก ที่ถูกพักงานด้วยปัญหาทางจิตเนื่องจากความเศร้าโศก หลังจากเห็น ภรรยาของเขาถูกคนร้ายวางระเบิดรถยนต์เสียชีวิตไปต่อหน้าต่อตา มังก์กลายเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ  (obsessive–compulsive disorder – OCD) หากใครยังไม่เคยดูสามารถตามไปดูได้ ถือเป็นซีรีย์ดีๆ และสนุกอีกเรื่องเลย


โรคย้ำคิดย้ำทำ ( OCD ) คืออะไร?

คือ อาการทางจิตอย่างหนึ่ง โดยคนที่เป็นจะมีพฤติกรรมทำบางสิ่งบางอย่างซ้ำไป ซ้ำมาเรื่อย ๆ เพื่อให้เกิดความสบายใจ ซึ่งตัวเองจะรู้ตัวว่าสิ่งที่ตนเองทำอยู่นั้นไม่จำเป็น ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถหยุดสิ่งที่ทำอยู่ได้ เช่น คอยดูว่าปิดไฟห้องน้ำแล้วหรือไม่ถึงแม้ว่าจะเห็นว่าปิดไปแล้วก็ตาม ซึ่งโรคย้ำคิดย้ำทำเกิดได้ทั้งชายและหญิง โดยเฉพาะในช่วงอายุประมาณ 20 ปีขึ้นไป

อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ

เกิดอาการได้ 2 ส่วนคือ การย้ำคิด และการย้ำทำ ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังนี้

  • อาการย้ำคิด (Obsessive) เป็นการคิดถึงสิ่งหนึ่งวนไปวนมาแต่ยังไม่ตัดสินใจลงมือทำ เช่น คิดมากว่าลืมปิดประตูบ้านรึเปล่าตอนออกจากบ้าน หรือกลัวอันตรายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเองมากจนเกินไป
     
  • อาการย้ำทำ (Compulsion) มีพฤติกรรมซ้ำๆ ที่จะทำขึ้นเพื่อคลายความกังวลของอาการย้ำคิดที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำหลายๆ ครั้ง เช่น กลับไปเช็ครถอีกครั้งว่าล็อคหรือยังก็จะกลับไปเช็คอยู่อย่างนั้นซ้ำๆ

สาเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำ

  • พันธุกรรม OCD อาจถูกถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกได้ และผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรค OCD ก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้เช่นกัน
  • ความผิดปกติทางสมอง จากสารสื่อประสาทอย่างสารเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมองมีความผิดปกติ
  • สภาพแวดล้อม การถูกทารุณกรรมทางร่างกายหรือทางเพศ การเจ็บป่วย และปัญหาชีวิตที่รุนแรง
  • ฮอร์โมนผิดปกติ ความเครียด รวมถึงบุคลิกภาพส่วนตัวที่ทำให้พัฒนาไปสู่โรค OCD ได้

รูปแบบของอาการที่พบได้บ่อย

  • การเช็คซ้ำ (Checking) พบได้ประมาณ 60% ของผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ อาการก็คือจะเช็คอะไรบางอย่างซ้ำ ๆ
  • การล้าง (Washing) พบได้ประมาณ 50 % ที่พบบ่อยที่สุดคือล้างมือ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะย้ำคิดในเรื่องของความสะอาดหรือเชื้อโรค รู้สึกว่ามือไม่สะอาด 
  • การนับ (Counting) พบได้ประมาณ 30-40 % ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอาการคือ เวลาเจออะไรหรือทำอะไรแล้วจะต้องนับจำนวน
  • ความสมดุล (Symmetry) หรือความมีระเบียบ พบได้ประมาณ 30 % ผู้ป่วยจะมีอาการคือทำอะไรก็ต้องให้ได้สมดุล เป็นระเบียบ

การป้องกันโรคย้ำคิดย้ำทำ

  1. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่อาจทำให้อาการของโรคแย่ลง รวมทั้งผ่อนคลายความเครียด เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ออกกำลังกาย
  2. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ห้ามหยุดใช้ยาเองเพราะอาจทำให้อาการแย่ลง และต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยา
  3. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ

  1. การทำพฤติกรรมบำบัด คือ ฝึกเผชิญหน้ากับความกลัวทีละน้อยและจัดการกับความวิตกกังวลของตนเอง ลองห้ามตัวเองไว้ไม่ให้ไปตอบสนองกับความย้ำคิดนั้น
  2. การรับประทานยา โดยยาที่ใช้คือยาในกลุ่มรักษาโรคซึมเศร้าออกฤทธิ์ในสารสื่อนำประสาท ที่เรียกว่าซีโรโทนิน 

อ้างอิงข้อมูลจาก: สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, รามาแชนแนล Rama Channel และ POBPAD

สามารถอ่านบทความอื่นๆของ CLEO ที่:

More

[ajax_load_more posts_per_page='6']