ฉันไม่โชคดีพอที่จะมีผู้ชายสักคน “มองเห็นฉันในแบบที่ฉันเป็น”

ฉันไม่ได้โชคดีแบบนั้น ฉันไม่ได้โชคดีพอที่จะมีผู้ชายสักคนมองเห็นฉันในแบบที่ฉันเป็น มองเห็นความเจ็บปวดของฉัน และอยากฉุดฉันขึ้นไป ไม่มีวิธีไหนอีกแล้วที่ฉันจะบอกตัวเองได้ดีไปกว่า “ยอมรับความจริงเถอะ” ทุกครั้งเวลาที่ฉันเห็นใครๆ เขารักกัน ความหวังในใจ ความเพ้อทุกครั้งที่กดแอปสีดำแดงเพื่อเลือกซีรีย์เกาหลีเรื่องใหม่ โจทย์ของฉันไม่มีอะไรมาก ต้องเป็นเรื่องที่ฉันสามารถสมมุติตัวเองเป็นนางเอกในเรื่องได้ แล้วจินตนาการต่อว่า บางทีฉันอาจจะเจอผู้ชายในชีวิตจริง ที่เป็นเหมือนพระเอกในเรื่อง หนังสือฮาวทูบอกว่า ให้คิดว่าอยากได้ผู้ชายแบบไหน ลิสต์ออกมาให้เยอะที่สุด แล้วตัดออกให้เหลือสัก 10 ข้อว่านั่นคือคุณสมบัติผู้ชายที่อยากได้ ฉันลองทำและกุมลิสท์นั้นไว้แน่นในกระเป๋าสตางค์ เอามาเปิดอ่านบ่อยๆ ด้วย บางทีที่เขาบอกว่าคืนพระจันทร์เต็มดวง พระจันทร์จะมอบพลังงานของความรักดูดใครให้เข้ามาในชีวิต ฉันจะเอาลิสท์นั้น ออกไปหาแสงจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐาน แล้วนึกถึงเขา แน่นอนว่าฉันมีความเชื่อ ยังคงเชื่อ และก็จะเชื่อต่อไป เรื่องราวในโทรศัพท์กับเพื่อนสาว เราจะวนเวียนกันที่ซีรีย์ที่เพิ่งดู กรี๊ดพระเอก อยากบินไปเกาหลี แล้วเราก็จะกลับมาที่เรื่องของเรากัน ทำไมเพื่อนคนนั้นได้แฟนดีจัง แฟนเขาพาไปเมืองนอกบ่อยมากเลย เขาไปทริปกันอีกแล้ว ฉันกับเพื่อนก็ได้แต่พยายามหาเรื่องเน่าๆ ในเรื่องรักของคนอื่น “แต่พวกเขาอาจมีอะไรไม่แฮปปี้ก็ได้นะ พวกเราไม่มีทางรู้หรอก” มันคงเป็นคำปลอบใจที่เราบ่นให้กันฟัง แต่ฉันก็ยังไม่มีใครเข้ามาในชีวิตอยู่ดี “ที่เธอเหนื่อยเพราะไม่มีคนรักหรือเปล่า?” ประโยคจากเรื่อง My Liberation Notes หัวหน้าของพี่สาวนางเอกถามขึ้นมา หลังจากที่เธอมาทำงานแล้วบ่นว่าเหนื่อยๆๆๆๆ ทำไมชีวิตฉันถึงเหนื่อยขนาดนี้ […]

คุณหมอสา-Guardian Diamond พี่สาวที่เปิดประตูลับ ช่วยเคลียร์พลังงานลบให้คุณพบความสำเร็จ

ตั้งแต่เข้าปี 2024 ที่ผ่านมา คลีโอขอบอกว่านี่เป็นการสัมภาษณ์ที่เบิกเนตรให้เรารู้สึกมีความหวังและกำลังใจ รู้สึกว่าจักรวาลมอบของล้ำค่าเอาไว้ให้เราเสมอ เป็นเรื่องไม่บังเอิญที่ทำให้เราได้เจอกับคุณหมอสา หรือหลายคนรู้จักเธอในชื่อ Doctor Diamond กับฉายาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเรื่องเพชรที่ไม่ได้จบแพทยศาสตร์ แต่เป็นผู้ที่ช่วยเยียวยาให้ความรู้กับคนที่สนใจเรื่องเพชร รวมทั้งก้าวเข้ามาแก้ปัญหาชีวิตด้วยพลังของ “เพชรดิบ” ที่ค้นพบพลังงานอันยิ่งใหญ่นี้จนกลายมาเป็นแบรนด์ Guardian Diamond ที่สายมูบอกว่ามาลองแล้วขนลุกซู่ทุกคน ลูกสาวครอบครัวคนจีนที่ฝึกค้าขายตั้งแต่เด็ก “ตอนเด็กไม่รู้ว่าเราอยากเป็นอะไร พ่อแม่อยากให้เรียนที่เอแบค เพราะเห็นว่าเราภาษาดีมาตั้งแต่เด็ก เราไม่มีฝันเลย เป็นเจเนอเรชั่นที่ที่บ้านเป็นคนจีน ดังนั้นก็จะมีบอกแค่ว่าต้องมาช่วยพ่อแม่นะ เราก็รู้สึกว่าเราต้องทําไปจนตลอดชีวิต ไม่เคยมีความคิดอื่นเลย ที่บ้านทำธุรกิจขายเพขร เรียนจบมาให้ไปเรียนดูเพชรนะ เราก็ไป ซึ่งเรียนดูเพชรของสถาบัน GIA ซึ่งตอนนั้นมีสาขาในประเทศไทย เป็นโรงเรียนเล็กๆ ในยุค IMF ค่ะนานมากแล้ว” “คุณพ่อคุณแม่พยายามหนักมากในการส่งเราเรียนนะคะ จําได้เลยว่าแม่ให้เราเดินเข้าไปถามแล้วขอตีเช็ค 4 ใบจ่ายค่าเทอมได้ไหม ช่วงนั้นเราก็รู้เลยว่าชีวิตไม่ได้ง่าย ต้องเรียนให้จบกลับไปช่วยเขา เพราะแม่ก็จะพูดตลอด ตาแม่ก็เริ่มไปแล้วนะ เหมือนเขามาเปิดร้านตอนประมาณ 40 กว่าแล้ว ดังนั้นจะให้เค้าดูเพชรไปตลอดก็เป็นไปไม่ได้ เราเริ่มทําทุกอย่างตั้งแต่เสิร์ฟน้ํา เช็ดตู้ วิ่งงาน บางทีมีงานช่าง เราก็ขับรถออกไปเอง เดินส่งของส่งงาน แม่จะเหน็บเราไปด้วย […]

5 วัดปังในฮ่องกง ขออะไรเทพให้รัวๆ

“เก่งอย่างเดียวแต่ไม่เฮงก็ประสบความสำเร็จยาก” คำพูดนี้ดูจะไม่เกินความจริงไปสักเท่าไหร่นัก ในปัจจุบันเป็นยุคที่วัยรุ่นกำลังสร้างตัว หลายๆคนที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจบางคนบอกว่าเกิดจากความสามารถของตัวเอง แต่หลายๆคนเปิดเผยความลับว่าส่วนหนึ่งมาจากการมูในสถานที่ที่มีพลังงานประกอบกับพิธีกรรมที่ถูกต้องทำให้มีทั้งพลังจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์และกำลังใจในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

“อกหัก” คือสิ่งยอดเยี่ยมที่เกิดกับฉัน ฉันเลิกโกหกตัวเองสักที

เราอย่าเพิ่งกลัวการอกหัก หรือการเลิกกับใครนะ เพราะเหตุการณ์จี๊ดในหัวใจนี้ จะนำพาคุณไปเจอตัวเอง เจอสิ่งใหม่ เจอโอกาสดีๆ ในชีวิตมากมาย เหมือนกับที่ เอมม่า กิบบ์ส นักเขียนและโปรดิวเซอร์รายการทีวีของออสเตรเลียเจอมา เธอเอาสิ่งนี้มาพูดในเท็ด ทอล์ค หมัดฮุคเลยคือเธอบอกว่า “อกหักไม่เพียงแต่จะทำให้เธอเห็นหัวใจตัวเอง ยังทำให้เธอเลิกโกหกตัวเอง และก็เลยเลิกโกหกทุกสิ่ง เรื่องดีๆ ในชีวิตเลยสาดเข้ามาเต็มๆ เลย” เอมม่าเล่าว่า…. ชีวิตฉันเหมือนจะดีนะ ฉันได้ทำงานที่ฝัน อยู่ในเมืองที่ดี “แต่ฉันกลับไม่มีความสุข ฉันโกหกตัวเองทุกวันว่า เดี๋ยวมันก็จะดีเองแหละ” ฉันใช้ชีวิตไป 3 ปีเต็มที่โกหกตัวเอง และบอกตัวเองว่าสิ่งนี้เป็นไปตามแพลนแล้วนะ ในขณะที่หัวใจฉันบอกว่า “เฮ้! เธอมีปัญหาแล้วล่ะ” ฉันใส่เสียงนี้เอาไว้ในตู้ และเอาความคิดควบคุมมันเอาไว้ ฉันคิดว่าถ้าฉันพยายามมากพอจะทำให้ทุกสิ่งเวิร์ค มันก็น่าจะเป็นอย่างนั้น แต่สิ่งที่ฉันได้รับคือ ทั้งกาย อารมณ์ จิตวิญญาณของฉันมันเหือดแห้งมาก ฉันกลายมาเป็นคนที่ขึ้นอยู่กับแผนในชีวิต ฉันไม่ไปเจอเพื่อน ไม่ไปเที่ยวไหน ไม่เจอครอบครัว ไม่เจอใครใหม่ๆ และฉันไม่อยากทำงานกับแพชชั่นของตัวเอง ฉันมัวแต่หาทางซ่อมสิ่งที่ไม่ใช่ของชีวิตฉัน ความตลกก็คือในขณะที่คุณกำลังพยายามทำให้แผนชีวิตของคุณเวิร์ค แล้วคุณก็ต้องฝืดมากๆ นั่นน่ะ คุณเริ่มจะคิดแล้วว่า “แล้วทำไมฉันต้องมีแผนนั้นตั้งแต่แรกนะ” ฉันเริ่มลืมว่าทำไมฉันถึงอยากเป็นนักเขียน […]




Health, Women's Issues

ที่คิดซ้ำๆ ทำเรื่องเดิมๆ หรือฉันจะเป็นโรค OCD? ( โรคย้ำคิดย้ำทำ )

ย้ำคิดย้ำทำ

ปิดไฟรึยังนะ? ล็อกประตูรึยัง? หรือแม้กระทั่งการล้างมือซ้ำๆ เพราะคิดว่ามือยังไม่สะอาด ที่จริงความคิดทบทวนรอบคอบอาจจะเป็นสิ่งที่ดีแต่ถ้ามีมากเกินไปจนทำให้ขาดสมาธิในการทำงานหรือทำสิ่งต่างๆ จนถึงทำให้ตนเองไม่สบายใจ เกิดความเครียดและวิตกกังวลทั้งๆที่คุณจะรู้อยู่แก่ใจก็ตามว่ามันไม่สมเหตุสมผลเท่าไหร่แต่ก็ยังคงคิดซ้ำไปซ้ำมา ทำแต่เรื่องเดิมๆ วนไป คุณอาจเสี่ยงเป็น โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ obsessive-compulsive disorder (OCD) ก็เป็นได้

ยกตัวอย่าง เรื่องจริงของชายหนุ่มคนหนึ่งเขามีชื่อว่า Nick เขาเป็นคนที่นิสัยร่าเริง เป็นวัยรุ่นที่ใช้ชีวิตปกติชอบไปโรงเรียนเจอเพื่อนฝูง แต่เมื่อเรียนจบเขาก็มีความเครียดกับเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องงานและความสัมพันธ์กับแฟน อยู่มาวันนึงเขาเริ่มมีอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ คือเขาเริ่มทำความสะอาดห้องของตัวเองซ้ำๆ “ผมทำความสะอาดพื้นวันละ 4-5 รอบ ใช้เวลาอยู่กับการทำความสะอาดประมาณ 6 ชั่วโมงต่อวัน ผมแทบไม่ได้ออกไปเจอเพื่อนหรือใช้เวลาทำอย่างอื่นเลย” Nick กล่าว และเขาทำเพราะเขาคิดว่าพื้นสกปรกและการทำความสะอาดคือสิ่งสำคัญ แต่สุดท้ายเขาก็พบว่า สิ่งนี้มันมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากเลยทีเดียว

อีกเหตุการณ์เป็นเรื่องจริงของ Howie Mandel หนึ่งในกรรมการของ America’s Got Talent ที่ OCD เกี่ยวกับความสะอาด ส่งผลต่อเขาจนถึงขั้นที่เขาจะไม่จับมือกับใครเลยรวมถึงผู้เข้าแข่งขัน เว้นแต่เขาจะสวมถุงมือลาเท็กซ์หรือกำหมัดแล้วชนกับอีกฝ่ายแทนการจับมือ โดย Howie ได้เปิดใจเกี่ยวกับโรค OCD นี้ซึ่งเปรียบเหมือนฝันร้ายสำหรับเขา และในการให้สัมภาษณ์กับ Doctor’s Ask ในปี 2010 Mandel กล่าวว่า “ผมมักหมกมุ่นอยู่กับเชื้อโรคและทำความสะอาด ตอนยังวัยรุ่นผมไม่ผูกเชือกรองเท้าเพียงเพราะรองเท้าเหยียบบนพื้นและผมคิดว่าพื้นสกปรก”

หากใครเคยดูซีรีย์เรื่อง Monk (นักสืบจิตป่วน) ก็จะคุ้นเคยกับบทบาทที่ตัวเอกต้องเผชิญกับโรค OCD เป็นอย่างดี ซึ่งภาพยนตร์ชุดนี้นำแสดงโดย โทนี ชาลู รับบทเป็น เอเดรียน มังก์ นักสืบของกรมตำรวจซานฟรานซิสโก ที่ถูกพักงานด้วยปัญหาทางจิตเนื่องจากความเศร้าโศก หลังจากเห็น ภรรยาของเขาถูกคนร้ายวางระเบิดรถยนต์เสียชีวิตไปต่อหน้าต่อตา มังก์กลายเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ  (obsessive–compulsive disorder – OCD) หากใครยังไม่เคยดูสามารถตามไปดูได้ ถือเป็นซีรีย์ดีๆ และสนุกอีกเรื่องเลย


โรคย้ำคิดย้ำทำ ( OCD ) คืออะไร?

คือ อาการทางจิตอย่างหนึ่ง โดยคนที่เป็นจะมีพฤติกรรมทำบางสิ่งบางอย่างซ้ำไป ซ้ำมาเรื่อย ๆ เพื่อให้เกิดความสบายใจ ซึ่งตัวเองจะรู้ตัวว่าสิ่งที่ตนเองทำอยู่นั้นไม่จำเป็น ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถหยุดสิ่งที่ทำอยู่ได้ เช่น คอยดูว่าปิดไฟห้องน้ำแล้วหรือไม่ถึงแม้ว่าจะเห็นว่าปิดไปแล้วก็ตาม ซึ่งโรคย้ำคิดย้ำทำเกิดได้ทั้งชายและหญิง โดยเฉพาะในช่วงอายุประมาณ 20 ปีขึ้นไป

อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ

เกิดอาการได้ 2 ส่วนคือ การย้ำคิด และการย้ำทำ ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังนี้

  • อาการย้ำคิด (Obsessive) เป็นการคิดถึงสิ่งหนึ่งวนไปวนมาแต่ยังไม่ตัดสินใจลงมือทำ เช่น คิดมากว่าลืมปิดประตูบ้านรึเปล่าตอนออกจากบ้าน หรือกลัวอันตรายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเองมากจนเกินไป
     
  • อาการย้ำทำ (Compulsion) มีพฤติกรรมซ้ำๆ ที่จะทำขึ้นเพื่อคลายความกังวลของอาการย้ำคิดที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำหลายๆ ครั้ง เช่น กลับไปเช็ครถอีกครั้งว่าล็อคหรือยังก็จะกลับไปเช็คอยู่อย่างนั้นซ้ำๆ

สาเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำ

  • พันธุกรรม OCD อาจถูกถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกได้ และผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรค OCD ก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้เช่นกัน
  • ความผิดปกติทางสมอง จากสารสื่อประสาทอย่างสารเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมองมีความผิดปกติ
  • สภาพแวดล้อม การถูกทารุณกรรมทางร่างกายหรือทางเพศ การเจ็บป่วย และปัญหาชีวิตที่รุนแรง
  • ฮอร์โมนผิดปกติ ความเครียด รวมถึงบุคลิกภาพส่วนตัวที่ทำให้พัฒนาไปสู่โรค OCD ได้

รูปแบบของอาการที่พบได้บ่อย

  • การเช็คซ้ำ (Checking) พบได้ประมาณ 60% ของผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ อาการก็คือจะเช็คอะไรบางอย่างซ้ำ ๆ
  • การล้าง (Washing) พบได้ประมาณ 50 % ที่พบบ่อยที่สุดคือล้างมือ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะย้ำคิดในเรื่องของความสะอาดหรือเชื้อโรค รู้สึกว่ามือไม่สะอาด 
  • การนับ (Counting) พบได้ประมาณ 30-40 % ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอาการคือ เวลาเจออะไรหรือทำอะไรแล้วจะต้องนับจำนวน
  • ความสมดุล (Symmetry) หรือความมีระเบียบ พบได้ประมาณ 30 % ผู้ป่วยจะมีอาการคือทำอะไรก็ต้องให้ได้สมดุล เป็นระเบียบ

การป้องกันโรคย้ำคิดย้ำทำ

  1. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่อาจทำให้อาการของโรคแย่ลง รวมทั้งผ่อนคลายความเครียด เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ออกกำลังกาย
  2. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ห้ามหยุดใช้ยาเองเพราะอาจทำให้อาการแย่ลง และต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยา
  3. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ

  1. การทำพฤติกรรมบำบัด คือ ฝึกเผชิญหน้ากับความกลัวทีละน้อยและจัดการกับความวิตกกังวลของตนเอง ลองห้ามตัวเองไว้ไม่ให้ไปตอบสนองกับความย้ำคิดนั้น
  2. การรับประทานยา โดยยาที่ใช้คือยาในกลุ่มรักษาโรคซึมเศร้าออกฤทธิ์ในสารสื่อนำประสาท ที่เรียกว่าซีโรโทนิน 

อ้างอิงข้อมูลจาก: สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, รามาแชนแนล Rama Channel และ POBPAD

สามารถอ่านบทความอื่นๆของ CLEO ที่:

More

[ajax_load_more posts_per_page='6']