ทริปเดินทางไปหัวหินรอบนี้กับ Apple Watch ได้ทดลองใช้ Apple Watch อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเดินป่า Hiking ออกกำลังกายแบบจัดเต็ม หรือคลาสพิลาติส ได้เห็นความจริงกันไปเลยว่าสุขภาพเป็นยังไง
ใส่ Apple Watch มานานจนรู้สึกคุ้นเคยกับการมีเพื่อนที่คอยเตือนให้ขยับร่างกาย กับจุดมุ่งหมายในการปิดวงแหวนในแต่ละวัน (เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นเลยนะ) ได้มาทริปนี้ที่ Apple จัดให้เอง ถือว่าได้เรียนรู้การใช้ฟีเจอร์ที่มีประโยชน์ขึ้นอีกหลายอย่าง ได้ลองการใช้อะไรใหม่ๆครบเลย!
ออกเดินทางเช็คอินจุดแรก เรามาแวะกันที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินทร เป็นอุทยานสวนป่าชายเลนกว้างใหญ่มากๆ เราสตาร์ทกันด้วยการเริ่มโหมด Hiking (เดินป่า) ไปด้วยกัน ทางเดินบนสะพานไม้ท่ามกลางป่าโกงกาง สบายๆชิวๆเลยนะ เดินขึ้นไปบนหอชมวิวข้างบนจะเห็นอุทยานสีเขียวไกลสุดตาแตะกับน้ำทะเลด้วย
1 Compass
ระหว่างเดิน ถ้าไม่รู้จะไปทางไหน ก็ใช้เข็มทิศช่วยได้มากจริงๆ
2 Walkie Talkie
ถ้าเพื่อนคนหน้าจะอยู่ไกลไปมาก คุยถามทางกันยังได้เลย ดูวิธีตั้งค่าการใช้วอล์คกี้ทอล์คกี้บน Apple Watch ที่นี่
3 Camera Remote
ถ้าไปเที่ยวไหนกับเพื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ ก็สามารถตั้งกล้องจากมือถือ iphone จะเห็นรูปพรีวิวกันสดๆผ่าน Apple watch และกดถ่ายรูปได้ง่ายๆเลย ดูวิธีการใช้งานได้ ที่นี่
ใช้เวลาเดินทั้งหมดเกือบ 1 ช.ม. เผาผลาญไปได้ 179 แคลอรี่ แถมยังวัดได้ด้วยว่าเดินไต่ระดับสูง 18 ม. รู้สึกได้เลยว่าได้ออกกำลังกายแล้ว ข้อมูลเป๊ะแบบนี้ มันดีอย่างนี้นี่เอง!!
บ่ายๆเช็คอินกันที่โรงแรม The Standard Huahin บอกเลยว่าเป็นโรงแรมที่เต็มไปด้วยดีไซน์ที่ออกแบบมาเพื่อความเก๋แบบชิคๆจริงๆ
หลังจากที่ได้เดินเล่นท่ามกลางต้นไม้เขียวและพักผ่อนบนเตียงริมสระสีเหลืองแล้ว (ถ้าได้ใส่สายนาฬิกาสีเลมอนด้วยจะเข้าธีมมากขนาดไหน?) .. ได้เวลามาฟิตกันต่อ
คลาสออกกำลังกายรอบนี้ ได้คุณครูเป็นสาวแอคทีฟ คุณเมจิ อโณมา เป็นคลาสที่เรียกว่า HIIT (High Intensity Interval Training) หรือการออกกำลังกายแบบเข้มข้น เพื่อให้ร่างกายได้เบิร์นไขมัน คุณเมจิเล่าว่าการออกกำลังกายแบบนี้จะทำให้หัวใจของเราได้สูบฉีดอย่างเต็มที่ จังหวะการเต้นของหัวใจจะดีดสูงขึ้น ในระดับที่ช่วยเผาผลาญไขมันได้เลยล่ะ ระหว่างที่ออกกำลัง จะตรวจดูจังหวะการเต้นหัวใจกันได้ทันทีเลยว่าระดับไหนคือการเต้นสูงของเราด้วยนะ
4 Workout
เข้าถึงโหมดฟีเจอร์ที่สามารถเลือกการออกกำลังกายได้หลายแบบมากๆ แอพนี้จะช่วยปรับข้อมูลให้เข้ากับประเภทของการออกกำลังกายเพื่อให้ค่าวัดต่างๆออกมาได้ถูกต้องเป๊ะที่สุด
5 Heart Rate
คุณเมจิแนะนำมาว่า.. สำคัญมากๆเลยนะที่เราจะรู้การเต้นจังหวะของหัวใจเราเอง ในช่วงเวลาปกติหัวใจเต้นที่เท่าไหร่ และในช่วงพักผ่อนเต้นที่เท่าไหร่ ระหว่างที่เต้นออกกำลังกายจะเห็นเลยว่าหัวใจเต้นแรงสูงขึ้นในระดับที่จะเบิร์นไขมันออกมาได้ด้วย
เช้าวันใหม่ เริ่มกันด้วยคลาส Pilates (มีฟีเจอร์ให้เลือกในแอปออกกำลังด้วยนะ) การฝึกท่าพิลาทิสจะช่วยยืดเส้นในร่างกาย และยังช่วยทำให้สงบมีสมาธิอีกด้วย
6 Mindfulness
แอปทำสมาธิเพื่อฝึกลมหายใจตามที่แอปแนะนะ ช่วยการหายใจเข้าลึกๆอย่างต่อเนื่อง ทำแล้วรู้สึกได้ถึงความสงบมีสมาธิขึ้นมากจริงๆ ดูวิธีการใช้งาน ที่นี่
7 Oxygen
วัดค่าออกซิเจนในเลือดได้จาก Apple Watch ง่ายๆเลย การรู้ระดับอ๊อกซิเจนระหว่างออกกำลังกายทำให้เราได้รู้ด้วยว่าร่างกายดูดซึมออกซิเจนได้ดีแค่ไหน คล้ายๆกับการดูความฟิตของร่างกายด้วย หลังออกกำลังกายแล้วก็ควรดูค่าออกซิเจนว่าจะกลับมาในระดับปกติได้เร็วแค่ไหนด้วย ดูวิธีการใช้ ที่นี่
ในทริปนี้นอกจากจะมีคุณเมจิ มานำการออกกำลังแล้ว ยังมี คุณหวานหวาน มาร่วมแชร์ประสบการณ์ที่เธอได้ใช้ Apple Watch ในแต่ละวัน และคุณหมอแป๊บ มาแนะนำด้านการดูแลสุขภาพอีกด้วย
เมื่อถามทั้ง 3 ท่านว่า ให้แนะนำแอปน่าสนใจเพิ่มเติม ที่ได้ใช้ในชีวิตจริง..
8 Brainwaves
คุณเมจิ – อโณมา คุ๊ก แนะนำแอป Brainwaves
“แอปนี้จะเปิดเพลงหรือจังหวะตามความต้องการของเราเพื่อช่วยให้มีสมาธิ หรือปรับเสียงหใ้เกิดพลังภายในขึ้นมาได้ บางครั้งเราจะตื่นเต้นก่อนขึ้นเวทีหรือต้องเจอคนมากๆ ก็จะหามุมสงบได้พักใจเปิดแอปนี้ช่วยได้อีกทาง ฟังคู่กับ Apple watch ได้สะดวกมากๆเลยค่ะ” ข้อมูลเพิ่มเติม ที่นี่
9 UV Index
คุณหวานหวาน – อรุณณภา พาณิชจรูญ แนะนำฟีเจอร์ UV Index
“หวานจะไปปั่นจักรยานหรือเดินกลางแจ้งบ่อยๆ แอปที่ช่วยวัดรังสี UV จะช่วยได้มาก จะทำให้เรารู้และระวังตัวเองได้ดีขึ้น เวลาไปต่างประเทศ บางทีดูเหมือนจะแดดไม่แรง แต่พอมาดูค่า UV แล้วตกใจเลย รีบทาครีมกันแดดทันทีเลยค่ะ” UV Index สามารถเปิดดูได้ผ่านฟีเจอร์ Weather
10 Fall Detection
คุณหมอแป๊บ นพ.ภัทรภณ อติเมธิน จากเพจ Learn and Run แนะนำฟีเจอร์ Fall Detection
“ปกติผมจะใช้ Apple Watch เวลาออกไปวิ่งตอนเช้าและสามารถติดต่อกับคนที่บ้านได้โดยไม่ต้องพกมือถือไปด้วยครับ และอีกฟีเจอร์ที่ผมว่าดีมากๆคือการให้ผู้สูงอายุได้ใช้ เพราะใน Apple watch จะสามารถวัดการล้มได้ ในนี้จะมีให้ใส่เบอร์คนที่ติดต่อได้หากมีเหตุฉุกเฉิน หากผู้ใส่ล้มลง มันจะวัดได้ว่านี่คือการล้ม และหากไม่มีการเคลื่อนไหวหลังจากการล้มใน 60 วินาที ตัวนาฬิกาจะนับถอยหลัง เพื่อส่งเสียงออกมาดังๆและหลังจากนั้นจะส่งสัญญานติดต่อไปที่เบอร์ฉุกเฉินด้วย” ดูวิธีตั้งค่าการตรวจจับล้ม ที่นี่
ขอขอบคุณ Apple และทีมงานทุกท่านสำหรับทริปนี้ ที่ทำให้เราได้รู้จัก Apple Watch ได้ดีขึ้นมาก และที่สำคัญคือการได้เรียนรู้ที่จะใช้ฟีเจอร์ต่างๆในการดูแลสุขภาพของตัวเองด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม Apple.com