15 กฎเหล็กแห่งการมูฟออน “สัญญากับตัวเอง ว่าเราต้องทำให้ได้นะ”

อย่างแรกเลยคือเซ็ตความตั้งใจให้ตัวเอง “ฉันจะต้องขึ้นมาจากหลุมให้ได้” แรงใจที่เราอยากเห็นตัวเองมีความสุข จะพาเรามูฟออนได้เกลี้ยง 100% แน่นอน เริ่มขยับตัวออกจากหลุมกันเลยนะ… เพราะเราจะไม่ยอมจมปลัก ไม่ยอมแพ้ใจตัวเอง เรามองเห็นตัวเองนี่นา ว่าเราจะมีความสุขใสๆ ได้กว่านี้ เราเลยต้องให้กำลังใจตัวเอง ตั้งกฏเหล็กให้ตัวเอง คนอย่างฉัน ไม่มีเธอ ฉันก็มูฟออนสวยๆ ได้ ว่าแล้วลุยกันเลย!! อ่านเรื่องราวอื่นๆ ต่อได้ที่ ฮาวทูรักตัวเอง เมื่อต้องมูฟออนจริงๆ

ฉันไม่โชคดีพอที่จะมีผู้ชายสักคน “มองเห็นฉันในแบบที่ฉันเป็น”

ฉันไม่ได้โชคดีแบบนั้น ฉันไม่ได้โชคดีพอที่จะมีผู้ชายสักคนมองเห็นฉันในแบบที่ฉันเป็น มองเห็นความเจ็บปวดของฉัน และอยากฉุดฉันขึ้นไป ไม่มีวิธีไหนอีกแล้วที่ฉันจะบอกตัวเองได้ดีไปกว่า “ยอมรับความจริงเถอะ” ทุกครั้งเวลาที่ฉันเห็นใครๆ เขารักกัน ความหวังในใจ ความเพ้อทุกครั้งที่กดแอปสีดำแดงเพื่อเลือกซีรีย์เกาหลีเรื่องใหม่ โจทย์ของฉันไม่มีอะไรมาก ต้องเป็นเรื่องที่ฉันสามารถสมมุติตัวเองเป็นนางเอกในเรื่องได้ แล้วจินตนาการต่อว่า บางทีฉันอาจจะเจอผู้ชายในชีวิตจริง ที่เป็นเหมือนพระเอกในเรื่อง หนังสือฮาวทูบอกว่า ให้คิดว่าอยากได้ผู้ชายแบบไหน ลิสต์ออกมาให้เยอะที่สุด แล้วตัดออกให้เหลือสัก 10 ข้อว่านั่นคือคุณสมบัติผู้ชายที่อยากได้ ฉันลองทำและกุมลิสท์นั้นไว้แน่นในกระเป๋าสตางค์ เอามาเปิดอ่านบ่อยๆ ด้วย บางทีที่เขาบอกว่าคืนพระจันทร์เต็มดวง พระจันทร์จะมอบพลังงานของความรักดูดใครให้เข้ามาในชีวิต ฉันจะเอาลิสท์นั้น ออกไปหาแสงจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐาน แล้วนึกถึงเขา แน่นอนว่าฉันมีความเชื่อ ยังคงเชื่อ และก็จะเชื่อต่อไป เรื่องราวในโทรศัพท์กับเพื่อนสาว เราจะวนเวียนกันที่ซีรีย์ที่เพิ่งดู กรี๊ดพระเอก อยากบินไปเกาหลี แล้วเราก็จะกลับมาที่เรื่องของเรากัน ทำไมเพื่อนคนนั้นได้แฟนดีจัง แฟนเขาพาไปเมืองนอกบ่อยมากเลย เขาไปทริปกันอีกแล้ว ฉันกับเพื่อนก็ได้แต่พยายามหาเรื่องเน่าๆ ในเรื่องรักของคนอื่น “แต่พวกเขาอาจมีอะไรไม่แฮปปี้ก็ได้นะ พวกเราไม่มีทางรู้หรอก” มันคงเป็นคำปลอบใจที่เราบ่นให้กันฟัง แต่ฉันก็ยังไม่มีใครเข้ามาในชีวิตอยู่ดี “ที่เธอเหนื่อยเพราะไม่มีคนรักหรือเปล่า?” ประโยคจากเรื่อง My Liberation Notes หัวหน้าของพี่สาวนางเอกถามขึ้นมา หลังจากที่เธอมาทำงานแล้วบ่นว่าเหนื่อยๆๆๆๆ ทำไมชีวิตฉันถึงเหนื่อยขนาดนี้ […]

คุณหมอสา-Guardian Diamond พี่สาวที่เปิดประตูลับ ช่วยเคลียร์พลังงานลบให้คุณพบความสำเร็จ

ตั้งแต่เข้าปี 2024 ที่ผ่านมา คลีโอขอบอกว่านี่เป็นการสัมภาษณ์ที่เบิกเนตรให้เรารู้สึกมีความหวังและกำลังใจ รู้สึกว่าจักรวาลมอบของล้ำค่าเอาไว้ให้เราเสมอ เป็นเรื่องไม่บังเอิญที่ทำให้เราได้เจอกับคุณหมอสา หรือหลายคนรู้จักเธอในชื่อ Doctor Diamond กับฉายาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเรื่องเพชรที่ไม่ได้จบแพทยศาสตร์ แต่เป็นผู้ที่ช่วยเยียวยาให้ความรู้กับคนที่สนใจเรื่องเพชร รวมทั้งก้าวเข้ามาแก้ปัญหาชีวิตด้วยพลังของ “เพชรดิบ” ที่ค้นพบพลังงานอันยิ่งใหญ่นี้จนกลายมาเป็นแบรนด์ Guardian Diamond ที่สายมูบอกว่ามาลองแล้วขนลุกซู่ทุกคน ลูกสาวครอบครัวคนจีนที่ฝึกค้าขายตั้งแต่เด็ก “ตอนเด็กไม่รู้ว่าเราอยากเป็นอะไร พ่อแม่อยากให้เรียนที่เอแบค เพราะเห็นว่าเราภาษาดีมาตั้งแต่เด็ก เราไม่มีฝันเลย เป็นเจเนอเรชั่นที่ที่บ้านเป็นคนจีน ดังนั้นก็จะมีบอกแค่ว่าต้องมาช่วยพ่อแม่นะ เราก็รู้สึกว่าเราต้องทําไปจนตลอดชีวิต ไม่เคยมีความคิดอื่นเลย ที่บ้านทำธุรกิจขายเพขร เรียนจบมาให้ไปเรียนดูเพชรนะ เราก็ไป ซึ่งเรียนดูเพชรของสถาบัน GIA ซึ่งตอนนั้นมีสาขาในประเทศไทย เป็นโรงเรียนเล็กๆ ในยุค IMF ค่ะนานมากแล้ว” “คุณพ่อคุณแม่พยายามหนักมากในการส่งเราเรียนนะคะ จําได้เลยว่าแม่ให้เราเดินเข้าไปถามแล้วขอตีเช็ค 4 ใบจ่ายค่าเทอมได้ไหม ช่วงนั้นเราก็รู้เลยว่าชีวิตไม่ได้ง่าย ต้องเรียนให้จบกลับไปช่วยเขา เพราะแม่ก็จะพูดตลอด ตาแม่ก็เริ่มไปแล้วนะ เหมือนเขามาเปิดร้านตอนประมาณ 40 กว่าแล้ว ดังนั้นจะให้เค้าดูเพชรไปตลอดก็เป็นไปไม่ได้ เราเริ่มทําทุกอย่างตั้งแต่เสิร์ฟน้ํา เช็ดตู้ วิ่งงาน บางทีมีงานช่าง เราก็ขับรถออกไปเอง เดินส่งของส่งงาน แม่จะเหน็บเราไปด้วย […]

5 วัดปังในฮ่องกง ขออะไรเทพให้รัวๆ

“เก่งอย่างเดียวแต่ไม่เฮงก็ประสบความสำเร็จยาก” คำพูดนี้ดูจะไม่เกินความจริงไปสักเท่าไหร่นัก ในปัจจุบันเป็นยุคที่วัยรุ่นกำลังสร้างตัว หลายๆคนที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจบางคนบอกว่าเกิดจากความสามารถของตัวเอง แต่หลายๆคนเปิดเผยความลับว่าส่วนหนึ่งมาจากการมูในสถานที่ที่มีพลังงานประกอบกับพิธีกรรมที่ถูกต้องทำให้มีทั้งพลังจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์และกำลังใจในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ




Health, Women's Issues

ที่คิดซ้ำๆ ทำเรื่องเดิมๆ หรือฉันจะเป็นโรค OCD? ( โรคย้ำคิดย้ำทำ )

ย้ำคิดย้ำทำ

ปิดไฟรึยังนะ? ล็อกประตูรึยัง? หรือแม้กระทั่งการล้างมือซ้ำๆ เพราะคิดว่ามือยังไม่สะอาด ที่จริงความคิดทบทวนรอบคอบอาจจะเป็นสิ่งที่ดีแต่ถ้ามีมากเกินไปจนทำให้ขาดสมาธิในการทำงานหรือทำสิ่งต่างๆ จนถึงทำให้ตนเองไม่สบายใจ เกิดความเครียดและวิตกกังวลทั้งๆที่คุณจะรู้อยู่แก่ใจก็ตามว่ามันไม่สมเหตุสมผลเท่าไหร่แต่ก็ยังคงคิดซ้ำไปซ้ำมา ทำแต่เรื่องเดิมๆ วนไป คุณอาจเสี่ยงเป็น โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ obsessive-compulsive disorder (OCD) ก็เป็นได้

ยกตัวอย่าง เรื่องจริงของชายหนุ่มคนหนึ่งเขามีชื่อว่า Nick เขาเป็นคนที่นิสัยร่าเริง เป็นวัยรุ่นที่ใช้ชีวิตปกติชอบไปโรงเรียนเจอเพื่อนฝูง แต่เมื่อเรียนจบเขาก็มีความเครียดกับเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องงานและความสัมพันธ์กับแฟน อยู่มาวันนึงเขาเริ่มมีอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ คือเขาเริ่มทำความสะอาดห้องของตัวเองซ้ำๆ “ผมทำความสะอาดพื้นวันละ 4-5 รอบ ใช้เวลาอยู่กับการทำความสะอาดประมาณ 6 ชั่วโมงต่อวัน ผมแทบไม่ได้ออกไปเจอเพื่อนหรือใช้เวลาทำอย่างอื่นเลย” Nick กล่าว และเขาทำเพราะเขาคิดว่าพื้นสกปรกและการทำความสะอาดคือสิ่งสำคัญ แต่สุดท้ายเขาก็พบว่า สิ่งนี้มันมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากเลยทีเดียว

อีกเหตุการณ์เป็นเรื่องจริงของ Howie Mandel หนึ่งในกรรมการของ America’s Got Talent ที่ OCD เกี่ยวกับความสะอาด ส่งผลต่อเขาจนถึงขั้นที่เขาจะไม่จับมือกับใครเลยรวมถึงผู้เข้าแข่งขัน เว้นแต่เขาจะสวมถุงมือลาเท็กซ์หรือกำหมัดแล้วชนกับอีกฝ่ายแทนการจับมือ โดย Howie ได้เปิดใจเกี่ยวกับโรค OCD นี้ซึ่งเปรียบเหมือนฝันร้ายสำหรับเขา และในการให้สัมภาษณ์กับ Doctor’s Ask ในปี 2010 Mandel กล่าวว่า “ผมมักหมกมุ่นอยู่กับเชื้อโรคและทำความสะอาด ตอนยังวัยรุ่นผมไม่ผูกเชือกรองเท้าเพียงเพราะรองเท้าเหยียบบนพื้นและผมคิดว่าพื้นสกปรก”

หากใครเคยดูซีรีย์เรื่อง Monk (นักสืบจิตป่วน) ก็จะคุ้นเคยกับบทบาทที่ตัวเอกต้องเผชิญกับโรค OCD เป็นอย่างดี ซึ่งภาพยนตร์ชุดนี้นำแสดงโดย โทนี ชาลู รับบทเป็น เอเดรียน มังก์ นักสืบของกรมตำรวจซานฟรานซิสโก ที่ถูกพักงานด้วยปัญหาทางจิตเนื่องจากความเศร้าโศก หลังจากเห็น ภรรยาของเขาถูกคนร้ายวางระเบิดรถยนต์เสียชีวิตไปต่อหน้าต่อตา มังก์กลายเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ  (obsessive–compulsive disorder – OCD) หากใครยังไม่เคยดูสามารถตามไปดูได้ ถือเป็นซีรีย์ดีๆ และสนุกอีกเรื่องเลย


โรคย้ำคิดย้ำทำ ( OCD ) คืออะไร?

คือ อาการทางจิตอย่างหนึ่ง โดยคนที่เป็นจะมีพฤติกรรมทำบางสิ่งบางอย่างซ้ำไป ซ้ำมาเรื่อย ๆ เพื่อให้เกิดความสบายใจ ซึ่งตัวเองจะรู้ตัวว่าสิ่งที่ตนเองทำอยู่นั้นไม่จำเป็น ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถหยุดสิ่งที่ทำอยู่ได้ เช่น คอยดูว่าปิดไฟห้องน้ำแล้วหรือไม่ถึงแม้ว่าจะเห็นว่าปิดไปแล้วก็ตาม ซึ่งโรคย้ำคิดย้ำทำเกิดได้ทั้งชายและหญิง โดยเฉพาะในช่วงอายุประมาณ 20 ปีขึ้นไป

อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ

เกิดอาการได้ 2 ส่วนคือ การย้ำคิด และการย้ำทำ ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังนี้

  • อาการย้ำคิด (Obsessive) เป็นการคิดถึงสิ่งหนึ่งวนไปวนมาแต่ยังไม่ตัดสินใจลงมือทำ เช่น คิดมากว่าลืมปิดประตูบ้านรึเปล่าตอนออกจากบ้าน หรือกลัวอันตรายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเองมากจนเกินไป
     
  • อาการย้ำทำ (Compulsion) มีพฤติกรรมซ้ำๆ ที่จะทำขึ้นเพื่อคลายความกังวลของอาการย้ำคิดที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำหลายๆ ครั้ง เช่น กลับไปเช็ครถอีกครั้งว่าล็อคหรือยังก็จะกลับไปเช็คอยู่อย่างนั้นซ้ำๆ

สาเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำ

  • พันธุกรรม OCD อาจถูกถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกได้ และผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรค OCD ก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้เช่นกัน
  • ความผิดปกติทางสมอง จากสารสื่อประสาทอย่างสารเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมองมีความผิดปกติ
  • สภาพแวดล้อม การถูกทารุณกรรมทางร่างกายหรือทางเพศ การเจ็บป่วย และปัญหาชีวิตที่รุนแรง
  • ฮอร์โมนผิดปกติ ความเครียด รวมถึงบุคลิกภาพส่วนตัวที่ทำให้พัฒนาไปสู่โรค OCD ได้

รูปแบบของอาการที่พบได้บ่อย

  • การเช็คซ้ำ (Checking) พบได้ประมาณ 60% ของผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ อาการก็คือจะเช็คอะไรบางอย่างซ้ำ ๆ
  • การล้าง (Washing) พบได้ประมาณ 50 % ที่พบบ่อยที่สุดคือล้างมือ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะย้ำคิดในเรื่องของความสะอาดหรือเชื้อโรค รู้สึกว่ามือไม่สะอาด 
  • การนับ (Counting) พบได้ประมาณ 30-40 % ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอาการคือ เวลาเจออะไรหรือทำอะไรแล้วจะต้องนับจำนวน
  • ความสมดุล (Symmetry) หรือความมีระเบียบ พบได้ประมาณ 30 % ผู้ป่วยจะมีอาการคือทำอะไรก็ต้องให้ได้สมดุล เป็นระเบียบ

การป้องกันโรคย้ำคิดย้ำทำ

  1. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่อาจทำให้อาการของโรคแย่ลง รวมทั้งผ่อนคลายความเครียด เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ออกกำลังกาย
  2. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ห้ามหยุดใช้ยาเองเพราะอาจทำให้อาการแย่ลง และต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยา
  3. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ

  1. การทำพฤติกรรมบำบัด คือ ฝึกเผชิญหน้ากับความกลัวทีละน้อยและจัดการกับความวิตกกังวลของตนเอง ลองห้ามตัวเองไว้ไม่ให้ไปตอบสนองกับความย้ำคิดนั้น
  2. การรับประทานยา โดยยาที่ใช้คือยาในกลุ่มรักษาโรคซึมเศร้าออกฤทธิ์ในสารสื่อนำประสาท ที่เรียกว่าซีโรโทนิน 

อ้างอิงข้อมูลจาก: สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, รามาแชนแนล Rama Channel และ POBPAD

สามารถอ่านบทความอื่นๆของ CLEO ที่:

More

[ajax_load_more posts_per_page='6']