เวียงจันทน์ ความงามเรียบง่านริมฝั่งโขน

เวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว อาจไม่ได้คึกคักเหมือนกรุงเทพฯ หรือฮานอย แต่กลับมีเสน่ห์เฉพาะตัวที่ชวนให้หลงใหล ด้วยวิถีชีวิตที่เรียบง่าย สถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างอาณานิคมฝรั่งเศสและวัฒนธรรมล้านช้าง เวียงจันทน์จึงเป็นจุดหมายปลายทางที่ควรค่าแก่การมาเยือนสำหรับนักเดินทางที่ต้องการสัมผัสวัฒนธรรมลาวอย่างแท้จริง

งานแสดงสินค้าความงาม ไต้หวัน 2025: ปรากฏการณ์แห่งนวัตกรรมและความงาม

มหกรรมความงามไทเป 2025: เมื่อนวัตกรรมกลายเป็นภาษาแห่งความงาม
ในโลกที่เทคโนโลยีและความงามเริ่มหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว มหกรรมความงามประจำปี 2025 ที่ไทเปกำลังจะพลิกโฉมวงการความงามครั้งใหญ่ นักนวัตกรรมจากทั่วโลกต่างเตรียมนำเสนอผลงานล้ำสมัยที่จะเปลี่ยนแปลงมุมมองของเราต่อความงาม ตั้งแต่เครื่องสำอางอัจฉริยะไปจนถึงเทคโนโลยีการดูแลผิวที่ล้ำหน้า ทุกนวัตกรรมที่นี่ล้วนมุ่งตอบโจทย์ความต้องการที่ซับซ้อนและเฉพาะตัวของผู้บริโภคยุคใหม่

โปรแกรมดูดไขมันหน้าท้อง ทางลัดสู่ความมั่นใจที่ไม่ต้องรอ

รูปร่างที่สมส่วนเป็นสิ่งที่หลายคนใฝ่ฝัน แต่การดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกายและควบคุมอาหารอาจใช้เวลานาน และบางครั้งอาจไม่สามารถกำจัดไขมันหน้าท้องที่สะสมมานานได้อย่างเต็มที่ การดูดไขมันหน้าท้องจึงเป็นทางเลือกที่ช่วยลดปัญหาไขมันสะสมได้อย่างรวดเร็วและเห็นผลชัดเจน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการฟื้นฟูความมั่นใจและปรับรูปร่างให้ตรงกับเป้าหมาย




Health, Well-Being

จดจ่อกับมือถือ ติดโซเชียล (Social Addiction) ส่งผลกระทบต่อจิตใจมากกว่าที่คิด

ติดโซเชียล

หลายคนเมื่อตื่นนอนขึ้นมาสิ่งที่แรกที่ทำคือหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเช็คนู่นนี่ อ่านข่าว หรือระหว่างวันอาจจะดูซีรีส์ ดูคลิปวิดีโอและใช้โซเชียลทั้งวันไปจนถึงตอนนอนและวนลูปแบบนี้เรื่อยๆเป็นประจำ เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในยุคปัจจุบันโซเชียลเข้าถึงในทุกคน ทุกวัย ใช้กันแทบทุกคน แต่ในความเป็นจริงการใช้โซเชียลมีเดียที่ มากจนเกินพอดี ส่งผลกระทบในหลายๆด้าน ทั้ง ร่างกายและจิตใจ เลยนะ

สิ่งที่น่าเป็นกังวลอีกอย่าง คือผล สถิติจาก We Are Social เมื่อปี 2021ยังพบด้วยว่า คนไทย 69% อยู่บนโลกออนไลน์เป็นที่เรียบร้อย และมีพฤติกรรมออนไลน์หลายอย่างที่เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น คนไทยใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางหลักในการอัพเดทข่าวเป็นอันดับ 1 ของโลกในปีนี้ หรือคิดเป็น 78% สถิติ เผยต่อไปว่า ในกลุ่มของโซเชียลมีเดีย คนไทยใช้ Facebook มากเป็นอันดับ 8 ของโลก หนึ่งในนั้นอาจเป็นคุณรึเปล่านะ?

ว่าแล้วลองมาเช็คดูกันว่าคุณเข้าขั้น “เสพติดโซเชียล” แล้วรึยังกันเถอะ

  1. โซเชียลมีเดียเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการทำงานหรือเกิดปัญหาความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด เวลาอยู่กับเพื่อน ครอบครัวหรือกับใครก็ตามก็จะนั่งไถโทรศัพท์ไม่พูดไม่คุย
  2. ช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้โซเชียลมีเดีย มักจะมีอาการกระวนกระวายใจหรือหงุดหงิด
  3. คิดถึงโซเชียลมีเดียอยู่เรื่อย ๆ ไม่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม ก็อยากจะเปิดเข้าไปดู ไปอ่าน ไปตอบ
  4. มองโทรศัพท์บ่อยมาก จะคิดไปเองว่าโทรศัพท์สั่นหรือขึ้นแจ้งเตือน
  5. คุณใช้โซเชียลมีเดียมากจนส่งผลเสียต่องานหรือการเรียน

จากที่อาการที่กล่าวไปหากมีมากกว่า 2 ข้อก็แปลได้ว่าโซเชียลมีเดียเริ่มเข้ามามีผลกระทบต่อชีวิตคุณแล้ว

ที่จริงแล้วโซเชียลมีเดียสามารถสร้างประโยชน์ได้ แต่เมื่อใช้เกินความพอดีก็ส่งผลเสียต่อตัวเองได้เช่นกัน คุณอาจจะเคยเสพข่าว หรือเห็นโพสต์คนอื่นๆที่โซเชียลแล้วกลับทำให้ตัวเองเศร้า จิตตก ยกตัวอย่าง บางคนเห็นโพสต์ที่คนอื่นเอาลงสื่อ เขาสำเร็จ เขาซื้อของใหม่ ๆ แล้วเอาลง แต่คุณกลับเอาตัวเองไปเปรียบเทียบแล้วสร้างความทุกข์ใจให้ตนเอง รู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง จนนำไปสู่ภาวะสุขภาพจิตในเชิงลบและการเห็นคุณค่าในตัวเองที่ต่ำ (Low-Self Esteem) นอกจากนี้ยังกระทบไปถึงเรื่อง การนอนหลับนอนหลับยากขึ้นด้วย และ หากคุณเข้าไปในโลกโซเชียลก็คงหนีไม่พ้นนักเลงคีย์บอร์ด พบถ้อยคำที่ไม่ดีต่อจิตใจนัก อาจจะเป็นคำด่า หรือคำตำหนิ จนบางคนถึงขั้นเป็น โรคซึมเศร้า โรคเครียด สมาธิสั้น และไบโพลาร์ ได้เลย ถือว่าไม่ใช่เรื่องเล็กๆเลยนะ

นอกจากนี้ยังมีอาการทางจิตเวช อีกอย่าง เรียกว่า Facebook Depression Syndrome หรือ ภาวะซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ค ซึ่งจะมีลักษณะ ดังนี้

  1. มักเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของตนเองกับเพื่อนใน facebook อยู่เสมอ
  2. มักเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ของตนเองอยู่บ่อยครั้งเพื่อเรียกร้องความสนใจ
  3. รู้สึกกระวนกระวายใจเมื่อไม่สามารถเช็คข้อความข่าวสาร หรือสถานะของตัวเองได้เหมือนที่ทำเป็นปกติ

วิธีแก้ไข

ลองทำ โซเชียลมีเดียดีท็อกซ์ (Social Media Detox) เช่น ปิดการแจ้งเตือนโทรศัพท์ ซึ่งจะช่วยลดความสนใจได้, ​กำหนดระยะเวลาช่วงหนึ่ง ที่เราจะวางเครื่องมือสำหรับการติดต่อสื่อสารทุกชนิด และจะไม่มีการไปจับต้องหรือใช้งาน โดยระหว่างนั้นให้หากิจกรรมอื่นทำ, เลิกวางโทรศัพท์ไว้ข้างเตียง หรือในที่ๆ สามารถเอื้อมมือไปหยิบได้ง่าย เพราะจะทำให้เราต้องเล่นโทรศัพท์ทันทีเมื่อตื่นนอน เชื่อว่าถ้าทุกคนพยายามก็จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเล่นโซเชียลมีเดียและควบคุมไม่ให้เสพติดได้ ไม่ช้าก็เร็ว แถมยังได้ใช้เวลาอยู่กับคนที่เรารัก คนที่อยู่ตรงหน้าเราจริงๆ มากขึ้นด้วย


อ้างอิงสถิติจาก : www.bangkokbiznews.com/lifestyle/958161 , www.bangkokbiznews.com/tech/950958

อ่านบทความอื่นๆ ของ CLEO ที่:

More

[ajax_load_more posts_per_page='6']