มองข้าม 7 นิสัยนี้ไม่ได้เลย ใครมีความสัมพันธ์อยู่แล้วเป็นแบบนี้ โปรดระวัง! เพราะจะเหมือนปกติมากแต่ความจริงแล้วอันตรายอยู่!
ความมหัศจรรย์จากหนังรักทุกเรื่องที่เราดู ประโยค “You complete me.” ของทอม ครูซในหนัง Jerry Maguire ความบ้าดีเดือดของโนอาห์ที่มีให้อัลลี่ใน The Notebook ยังตามมาหลอกหลอนเรา ให้เราคิดว่าความสัมพันธ์ต้องเป็นแบบนั้นสิ แต่ในความจริงแล้วมีนิสัยและแอตติจูดในความรักที่เราคิดไปเองหลายสิ่ง ที่ทำให้เราท็อกซิกในความสัมพันธ์ได้ คลีโอขออัพเดท 7 นิสัยท็อกซิกในความสัมพันธ์ อยากบอกว่าต้องเข้าไปสู่ความจริงให้ได้จริงๆ ก่อนนะ ไม่อย่างนั้นเพ้อตามแย่เลย
ความจริงที่เราไม่อยากได้ยินก็คือ: นิสัยท็อกซิกในความสัมพันธ์แบบน่ะ เรามักชอบบูชานิสัยเหล่านี้ เรามมีไอเดียเรื่องความรักว่าต้อง “จบแบบสุขสันต์” เหมือนในหนัง หรือแอตติจูดที่ว่า “จะรักฉันสุดใจ หรือไม่ก็อย่ารักฉันเลย” แต่ความจริงแล้วสิ่งที่จะทำให้รักนั้นดีน่ะ ไม่ใช่ความเชื่อเช่นนี้เลย อาจดูไม่น่าตื่นเต้นเท่าไหร่ ต้องใช้การประคับประคองและเข้าใจมากๆ ถ้าเรายังติดกับความรักที่อยู่ในอุดมคติ ก็อาจทำให้เราคาดหวังกับความเป็นจริงเกิดไป ทำให้เรามีนิสัยที่ท็อกซิกๆ ออกมาได้ และทำร้ายความสัมพันธ์ในที่สุด

ลองเช็คดูว่าคุณ หรือคู่ของคุณมีนิสัยเหล่านี้มั้ยนะ
1. คาดหวังให้คนรักต้อง “ซ่อม” ทุกความรู้สึกพังของอารมณ์เราได้
เอาตรงๆ เลยว่าคุณน่ะทะเลาะกับคนรักเรื่องที่ว่า “เขาไม่อยู่ข้างๆ คุณตอนคุณรู้สึกแย่” กี่ครั้ง คุณรู้สึกว่าเขาน่ะไม่เข้าใจอารมณ์ส่วนลึกของคุณหรอก เรื่องนี้หนักอยู่สำหรับผู้ชายนะ อารมณ์สวิงของเรา อารมณ์ที่มีอะไรมาสะกิดแล้วอยู่ดีๆ เราก็ร้องไห้ แล้วถ้าเรารู้สึกดำดิ่ง แล้วเขาไม่ได้อยู่ตรงนั้น เราก็จะยิ่งตีโพยตีพายกับตัวเองเลยว่า “เธอไม่เข้าใจฉัน” ให้ยิ่งทะเลาะ คาดหวัง และพังเข้าไปอีก
Cleo Says: เราต้องแยกแยะให้ออกนะว่าอะไรคือการซัพพอร์ตคนรัก เมื่อเขาเจอเรื่องทุกข์ใจ กับอะไรคือการที่ต้องเลื้อยเข้าไปเข้าใจอารมณ์ที่ไม่แน่นอนของคนรัก เพราะบางทีเราก็ต้องซ่อมตัวเองให้ดี รักตัวเองให้เป็น ก่อนที่จะไปรักใคร จะเหวี่ยงความรู้สึกเช่นนี้ไปให้เขาเลย ก็ไม่แฟร์กับเขาหรอกนะ ในความสัมพันธ์มันโอเคที่จะบอกคนรักเราว่า “ฉันรู้สึกหนักเกินไปที่จะทำสิ่งนี้คนเดียว เธอช่วยฉันได้ไหม?” เราต้อง “ถาม” เขา แต่อย่าไปคิดเอาเองว่าเขาต้องมา “ซ่อม” เรา และต้องรับผิดชอบอารมณ์เราอะไรแบบนี้ล่ะ
2. เอาเรื่องความ “แฟร์” มาเป็นที่ตั้ง
ถ้าเรามัวแต่คิดว่าแฟร์ไม่แฟร์ในการทำอะไรเพื่อคนรักล่ะก็ เราจะเจ็บปวดและไปคาดหวังได้เลย ถ้าเราพบว่าเราคือผู้หญิงที่ต้องบวกลบคูณหารในเรื่องความสัมพันธ์ ทุกสิ่งที่เราทุ่มเทลงไป เราต้องได้กลับมาเท่าๆ กัน คุณจะเก็บทุกอย่างในอดีตมาคิดทันที เหมือนจะต้องรักษาคะแนนความเท่าเทียมกันมากกว่ารักษาสัมพันธ์ที่ดี แล้วก็จะต้องมานั่งสรุปว่าเธอพลาดอะไรบ้าง ฉันพลาดอะไรบ้าง
Cleo Says: ในเรื่องความสัมพันธ์ไม่ต้องมีคำว่า “ยุติธรรม” หรอกนะ ไม่จำเป็นต้องเท่ากันขนาดนั้น เช่น เมื่อวานฉันล้างจานแล้ว วันนี้คุณต้องล้าง แต่ให้นึกถึงสิ่งที่เหมาะสมกับความเป็นคุณแต่ละคนเอาไว้ แล้วเข้าไปจัดการกับปัญหาทุกอย่างด้วยธรรมชาติของแต่ละคน ไม่ต้องขุดอดีต และไม่ต้องแบ่งความเท่าเทียมกันในอนาคต จะไม่ต้องคิดมากและอิสระในความสัมพันธ์มากกว่าเยอะ
3. เชื่อว่าเขาคือ “ครึ่งหนึ่งของคุณ”
เป็นความเชื่อที่แสนจะโรแมนติกอยู่ แล้วพอมาเจอเขาก็เหมือนเขามาเติมทั้งหมดของเราที่หายไป สิ่งที่แย่คือคุณก็จะลืมโลกของตัวเองไปด้วยน่ะสิ เป็นแอตติจูดที่จะทำให้ความสัมพันธ์ท็อกซิกได้ เหมือนกับว่าต้องร่วมโลกกันเกินไป จนไม่มีความเป็นตัวเองกันเลย และนำมาสู่ความรู้สึกไม่ปลอดภัยถ้าขาดอีกคน หรือการแอบควบคุมการกระทำของอีกคน ให้ต้องอยู่ในโลกเดียวกันมากเกินไป
Cleo Says: มองเขาให้เป็นคนที่มาสร้างความรื่นรมย์ให้ชีวิตเราเพิ่ม ชีวิตเราดีอยู่แล้ว โฟกัสที่ตัวเราเองมากกว่าค้นหาว่าเขาต้องทำให้โลกของเราเต็ม ค้นหาว่าเราจะทำยังไงให้เรามีความสุขด้วยตัวเราเอง มากกว่าคาดหวังว่าเขาต้องเป็นแหล่งแห่งความสุขของเรานะ
4. คุณชอบฟันธงกับสิ่งที่ “คุณคิดว่าใช่”
ลองนึกภาพนี้ดูนะว่าแทนที่คุณจะพูดว่า “สิ่งที่คุณพูดออกไป ทำให้ฉันเสียใจนะ” แต่คุณกลับพูดว่า “ฉันไม่เคยอยู่กับใครที่พูดจาทำร้ายฉันแบบนั้นเลย” หรือแทนที่คุณจะพูดว่า “ที่คุณทำแบบนั้นหลังจากที่ฉันบอกคุณไป ทำให้ฉันรู้สึกว่าเหมือนคุณไม่ได้ยินฉัน” แต่กลับพูดว่า “ฉันต้องการคนที่ฟังฉันมากกว่านี้ และก็แคร์ความรู้สึกฉันด้วย” เวลาคุณฟันธงความคิดตัวเองแบบนี้ มันเหมือนกับคุณกำลังสร้าง “ความสัมพันธ์ที่คุณต้องการ” อยู่นั่นเอง คุณอาจบอกว่ากำลังพยายามบอกสิ่งที่ไม่ชอบอยู่ แต่ลักษณะการพูดของคุณกลับเหมือนบอกว่า “เขาไม่คู่ควรกับคุณ” มากกว่า และเรื่องนี้จะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกด้อยค่า กลายเป็นเรื่องท็อกซิกไปได้
Cleo Says: คุณควรที่จะเลิกเอาอารมณ์ของตัวเอง เอาสิ่งที่ตัวเองคิดมาเชื่อมโยงกับคนอื่น แต่ให้ยอมรับในสิ่งที่เขาเป็น โฟกัสที่ปัญหามากกว่าความต้องการของตัวเอง มองเขาว่ามีคุณค่ากับชีวิต เลี่ยงการใช้ประโยคว่า “ไม่เคย” “เสมอๆ” และหาทางแก้ไปเลยดีกว่านะ

5. ยิ่งเราขัดแย้งกัน เรายิ่งมีแพชชั่นต่อกัน
ฉากทะเลาะกัน ตะโกนกันสุดเสียงในหนังเรื่อง The Notebook อาจทำให้เราคิดว่าในความสัมพันธ์ เราต้องเป็นแบบนั้นล่ะ จะต้องทะเลาะก่อนแล้วค่อยให้เซ็กซ์เป็นตัวปลอบประโลม ถึงจะรักษาแพชชั่นไว้ได้ แต่ความจริงคือเรื่องแบบนี้กลับทำให้เรากลายเป็นคนอารมณ์ไม่คงที่เกินไป แล้วไม่มีพัฒนาการทางอารมณ์ต่อ พูดคุยกันยาก แตะอะไรก็เสี่ยงว่าจะฟัง ความจริงแล้วเรื่องอารมณ์ที่ขัดแย้งกัน กลับเป็นการเสี่ยงที่จะมีความสัมพันธ์ไม่ดีมากกว่า ความรักควรเป็นเรื่องอ่อนโยน ไม่ควรเอาความโกรธ ความไม่พอใจมาเป็นตัวล่อให้เกิดแพชชั่นต่อกัน
Cleo Says: ก่อนที่จะถลำกับอารมณ์เช่นนี้ไปมากกว่านี้ ลองย้อนคิดว่าอะไรทำให้ต้องเกิดความขัดแย้ง เพราะความกลัวอะไร ความรู้สึกไม่ปลอดภัยอะไรลึกๆ หรือเปล่า โฟกัสที่สิ่งนี้มากกว่าคำพูดที่เขวี้ยงมาใส่กัน แล้วลองเพิ่มการขอบคุณกัน การรู้สึกดีที่มีกันและกัน สิ่งที่ๆ ที่เราแชร์ด้วยกัน ความสุขที่เรามีต่อกัน มากกว่าเรื่องบาดหมาง เรื่องขัดแย้งกัน และอย่าคิดว่าเราต้องทะเลาะกันตลอดด้วยนะ
6. ปล่อย “คำเปรียบเปรย หรือคำใบ้อะไรบางอย่าง” ออกไป
จะเรียกว่าแอบเล่นเกมทางใจกับคนรักก็ได้ การที่คุณชอบเมนชั่นว่า “แฟนเก่าฉันเคยทำอะไรโรแมนติกให้ฉันบ้าง” เพียงเพราะอยากให้เขาทำแบบนั้นกับคุณ หรือ “คุณเปรียบคู่รักอื่นๆ ว่าดีอย่างโน้นอย่างนี้” หรือยกตัวอย่าง “เรื่องรักของเพื่อน” เพื่อแอบบอกใบ้กับเขาว่า “ฉันอยากได้สิ่งนั้น” ก็ดูเหมือนจะสนุกที่จะบอกนะ แต่เอาจริงๆ สิ่งเหล่านี้สร้างรอยแผลในใจของคนรัก แล้วก็สร้างนิสัยให้เราเป็นคนแบบนั้นจนท็อกซิกได้เหมือนกัน
Cleo Says: สิ่งที่ดีกว่านั้นเวลาคุณอยากได้อะไรก็คือ “การบอกเขาไปเลยอย่างเปิดเผย” เปิดกว้างกับความต้องการ ซื่อตรงกับสิ่งที่อยู่ในใจไว้ จะทำให้ความสัมพันธ์มั่นคง ไม่มีอะไรต้องสงสัยในใจ และไม่สร้างภาระทางใจให้กับใคร บอกเขาไปเลยว่า “ฉันอยากให้คุณทำแบบนั้นกับฉัน” มากกว่ายกเรื่องเพื่อนมาเล่าอะไรแบบนี้ล่ะ
7. เชื่อเรื่องไอเดียของ “โซลเมท”
เป็นเรื่องที่จริงและเราควรตามหาคนที่เป็นโซลเมทของเรานะ แต่ถ้าเราเอาคำนี้เป็นที่ตั้งกับทุกสิ่งในความสัมพันธ์ เราก็จะไปคาดหวังคิดว่าต้องเป็นตามนั้นเสมอ หรือหันไปสงสัยคนรักข้างๆ ว่าเขาน่ะคือ “โซลเมท” ของคุณหรือเปล่ากันแน่ การจะเป็นโซลเมทกันได้ต้องใช้เวลาในการปรับเข้าหากัน เข้าใจกัน และรับรู้ความเป็นตัวตนของอีกฝ่าย ที่อาจจะไม่ได้เกิดกันแป๊บๆ หรือยังตัดสินกันไม่ได้
Cleo Says: อย่าเอาข้อบกพร่องของเขามาตัดสินว่าเขาคงไม่ใช่โซลเมท แต่ให้มองหาความเข้ากันได้ สิ่งที่คุณรักในตัวเขา สิ่งดีๆ จากใจที่เขามอบให้ และการดูแลใส่ใจกันที่มีให้กันมา สิ่งเหล่านี้สำคัญกว่าการไปจัดกลุ่มคำแล้วพยายามให้เราต้องเบียดเข้าไปเป็นอย่างนั้นนะ ความรักที่ดีต้องช่วยกันรดน้ำและใส่ใจอีกฝ่าย สร้างความสุขให้เกิดในโลกของแต่ละคน แล้วพอเรามาเจอกันความสุขนั้นจะไหลแลกเปลี่ยนในโลกของเรากันได้เอง
อ่านเรื่องราวอื่นๆ ได้ที่ ความสัมพันธ์จะไปต่อได้ เราทั้งคู่ต้องเปิดใจคุยกัน