อยากเปลี่ยนอาชีพตอนอายุ 30 ต้องทำยังไงดี? ตอบคำถามนี้ให้ได้ก่อน

ทำงานมาสักพักตั้งแต่เรียนจบแล้ว มาถึงวันที่เราจะเข้าวัยเลข 3 อยากเปลี่ยนงาน เปลี่ยนอาชีพไปเลย แต่ก็อยากได้ไกด์อะไรบางอย่างว่าเราคิดถูกแล้ว สมัครงานก็ว่ายาก แต่การเปลี่ยนงานก็เครียดและยากเหมือนกัน เพราะบางทีเราอยากเปลี่ยนอาชีพไปเลยเหมือนกันแต่ก็ไม่แน่ใจ หลายๆ คำถามถาโถมเข้ามา ฉันอดทนพอมั้ย แล้วจะมีความที่ดีกว่านี้มั้ย แล้วถ้าเจอแย่กว่าล่ะ แต่นี่อายุจะเข้าเลข 3 แล้ว ฉันเองก็ต้องการอาชีพที่ใช่จริงๆ และอยากทำยาวๆ ไปเลย อยากบอกว่าเป็นเรื่องธรรมชาติมากเลยนะ ที่เราจะอยากรู้สึกเปลี่ยนงานตอน 30 เพราะเหมือนเราผ่านวัยรุ่น ผ่านความเป็นสาว first jobber มาประมาณหนึ่งแล้ว เราก็จะยิ่งอยากหาสิ่งที่ใช่มากขึ้นเรื่อยๆ เราเปลี่ยนอาชีพได้ไหม ตอนวัย 30? แน่นอนว่าคุณเปลี่ยนได้นะ!! คุณสามารถอยู่ดีๆ เปลี่ยนอาชีพไปเลยตอนอายุ 30 ได้ มีข้อดีด้วยก็คือเหมือนเพิ่งเริ่มมายังไม่ได้มากเท่าทำไปยี่สิบสามสิบปี ยังมีเวลาให้เรียนรู้ได้อีกเยอะ จริงๆ ถ้ารู้ตัวแต่แรกว่าไม่ชอบสายงานอาชีพนี้เลย คุณก็สำรวจตัวเองให้เข้าใจที่สุด แล้วตัดใจเปลี่ยนอาชีพได้เลย มีเยอะมากที่คนเรียนสถาปัตย์มา แล้วไปเป็นมาร์เก็ตติ้ง เรียนหมอมา แล้วไปเป็นนักธุรกิจ หรือเรียนบัญชีมา แล้วไปเป็นนักข่าว บอกเลยว่าไม่จำเป็นว่าเราต้องฝืนทำต่อ ทั้งๆ ที่ใจเรารู้ชัดว่ามันไม่ใช่ วัย 30 จะเป็นช่วงเวลาลุยที่ดีที่สุดในชีวิต! […]

20 แก้ว tumbler ที่เรารักมาก ใส่ร้อนก็ได้ เก็บเย็นก็ดี ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ 

วิธีการเลือกแก้วเก็บความเย็นสำคัญมาก เพราะต้องมีคุณสมบัติ ร้อน-เย็น ถึกทนใช้ได้นานและสะดวกเข้ากับไลฟฟ์สไตล์ของเรา ขอรวม 20 แก้ว tumblr ใส่ร้อนก็ได้ เก็บเย็นก็ดี จากแบรนด์ทั่วโลกที่มีคุณสมบัติครบเป็นที่ไว้วางใจและยอดนิยม หน้าร้อนหรือหน้าไหนพกพาสะดวก ดื่มได้ทั้งวันหมดห่วงเรื่องน้ำไหลซึมหก ที่สำคัญมีลวดลายรูปทรงมากคุณสมบัติมาฝากให้เลือก นอกจากนี้ยังเป็นไอเทมน่าซื้อใส่ใจคนรุ่นใหม่รักสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

10 ถ้อยคำที่อยากโอบกอดตัวเองจากมะเฟือง Beautiful Madness by Mafuang

10 ถ้อยคำที่อยากโอบกอดตัวเองจากมะเฟือง จากเพจ Beautiful Madness by Mafuang นักจิตบำบัดสาวที่เริ่มต้นการเรียนจิตวิทยาด้วยการอยากช่วยเหลือคนอื่น อยากเข้าใจความรู้สึกของทุกคนให้ดียิ่งขึ้น จุดเริ่มต้นก่อนมาถึงตรงนี้ มะเฟืองเคยเป็นสาวนักเขียนคลีโอ ด้วยความที่ต้องสัมภาณ์พูดคุยกับผู้คนมากมาย ได้ฟังเรื่องราวในชีวิตหลากหลายรูปแบบ จนอยากมีความรู้ทางด้านจิตวิทยามาช่วยให้คำปรึกษา เธอเลยลาออกจากการเป็นนักเขียนแล้วไปเรียนต่อโททันทีที่แอลเอ




Living, Money

เก็บเงินให้อยู่ ฉบับคนชอบใช้เงิน



การเก็บเงินสำคัญอย่างไร? เทคนิคการเก็บเงินมีอะไรบ้าง?

การเก็บเงินจะทำให้เราควบคุมการใช้จ่ายเพื่อไม่ให้เกินบัดเจท และเตรียมความพร้อมในวันที่ไม่คาดคิด เพราะฉะนั้นสำหรับคนที่ชอบใช้เงินจึง จำเป็นต้องมีการเก็บเงินอย่างมีประสิทธิภาพสุดๆ เพื่อให้มั่นคงต่อการใช้จ่ายและมีความสุขในการใช้ชีวิตได้ตามต้องการ 

ดังนั้นวันนี้คลีโอจะมาแนะนำวิธีออมเงินให้สำเร็จแม้จะเป็นคนสุรุยสุร่าย!

  1. ชาแลนจ์ตัวเอง

ถามตัวเองจากบันทึกรายรับ-รายจ่ายว่าบางอย่างเราลดได้มั้ย และตั้งงบในแต่ว่าส่วนว่าต้องไม่เกินเท่าไหร่ ถ้าเราอยากได้ของที่แพงขึ้นก็ต้องเกิดจากการสะสมจากเงินเดือนที่ไม่ได้ใช้ เก็บไปเรื่อยๆ เพื่อรอวันที่พร้อมแล้วค่อยซื้อ หรือ หากิมมิกสนุกๆ ในการออม เช่น เก็บแบงค์ 50 เก็บแบงค์เก่า หรือเพลาๆ การซื้อของลง

2. กำหนดเป้าหมายการเก็บเงิน

การกำหนดเป้าหมายจะช่วยให้เรามีแรงบันดาลใจในการเก็บเงิน โดยควรกำหนดเป้าหมายที่สามารถทำได้และสอดคล้องกับสถานการณ์ของเราด้วยนะ เช่น เก็บเงินให้ได้ 10,000 บาทต่อเดือนหรือเพื่อซื้อสิ่งของที่ต้องการในราคา 50,000 บาทภายใน 6 เดือน เป็นต้น

3. ทำรายการในสมุดบัญชี

การทำรายการในสมุดบัญชีจะช่วยให้เราเห็นการเคลื่อนไหวของเงินได้อย่างชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้ว่าเงินเข้า-เงินออกเป็นเท่าไหร่ และยังช่วยบันทึกรายจ่ายในแต่หมวดอีกด้วย เช่น รายการอาหาร 4,000 บาท ค่าเดินทาง 2,000 บาท เสื้อผ้า 3,000บาทต่อเดือน วิธีนี้จะทำให้เราเห็นภาพและรู้มากขึ้นว่าควรลดค่าใช่จ่ายส่วนไหนที่ไม่จำเป็น

4. เก็บเงินเป็นเงินออมทุน

การเก็บเงินออมทุนจะช่วยให้มีเงินสำหรับการซื้อสิ่งของหรือบริการที่ต้องการในอนาคต ซึ่งเราก็ต้องตั้งปณิธานแน่วแน่ในใจด้วยนะว่าเราจะไม่ไปยุ่งกับมันจนกว่าจะถึงเวลาจำเป็นเท่านั้น เช่น ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเก็บเงินออมไว้สัก 10% ต่อเดือน เพื่อยามฉุกเฉิน เจ็บป่วย ท่องเที่ยว เกษียณ หรือลงทุน

5. ใช้แอปพลิเคชันที่ช่วยในการเก็บเงิน

ปัจจุบันเทคโนโลยีไปไกลมาก การใช้แอปจึงเป็นวิธีที่ดีในการช่วยให้เราติดตามทุกการเคลื่อนไหว ควบคุมรายรับและรายจ่ายได้ง่ายขึ้น และยังช่วยสร้างแผนการเงินของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย เช่น Mbank Mint PocketGuard หรือ YNAB

ท้ายที่สุดนี้ หัวใจของการออมไม่ใช่เรื่องของจำนวนเงินในตอนเริ่มต้น หัวใจของการออมคือการเก็บเงินให้ได้อย่างสม่ำเสมอ มีวินัย พยายามควบคุมตัวเองดีๆ ค่อยๆ ออมให้ได้ตามจำนวนที่ตั้งไหวทุกเดือน เพื่อให้เราเกิดความรู้สึกเคยชิน และเก็บได้นานขึ้น หวังว่าคำแนะนำเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้ทุกคนสนุกกับการออมมากขึ้นนะ

“กล้าใช้เท่าไหร่ ก็ต้องกล้าเก็บเท่านั้น” 

–น้ำ ธนธร จากเพจ Nam Finance


อ่านเรื่องอื่น ๆ ได้ที่ CLEO Thailand และ FB > CLEO

More