8 สัญญาณนี้บอกได้ว่าคุณอาจเป็น “Highly Sensitive Person” อ่อนไหวในระดับสูง

ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกันว่าทำไมอะไรนิดอะไรหน่อย เราต้องรู้สึกไปหมด ก็เลยฉุกคิดว่าหรือเราเกิดมาจะเป็นคน Highly Sensitive Person คนที่อ่อนไหวสูง เซนซิทีฟสูงนี่ล่ะ ลองเช็ค 8 สัญญาณนี้เลยนะว่าคุณเป็นหรือเปล่า? ถ้าเป็นก็อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะคน Highly Sensitive Person ก็มีข้อดีมากมายอยู่เหมือนกัน อ่านเรื่องราวอื่นๆ ต่อได้ที่ สุดยอดวิธีแยกแยะอารมณ์เก็บในโหลแก้ว

10 แนวคิดเรื่อง “เวลา” ที่ทำให้เรากระตุกที่สุด

จากหนังสือที่ทุกคนต้องอ่าน “ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์” Four Thousand Weeks Tme Management for Mortals ถ้าใครกำลังตั้งคำถามกับตัวเอง “ฉันใช้เวลาในชีวิตไปกับอะไรเนี่ย?” “ฉันจะทำยังไงให้ชีวิตฟินที่สุด” อย่าเพิ่งตอบอะไรตัวเองทั้งนั้น อ่านเล่มนี้ก่อนเลย “ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์” หรือ “Four Thousand Weeks Time Management for Mortals” เพราะหนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณถึงกับคลั่ง ผู้เขียน โอลิเวอร์ เบิร์กแมน เขาสั่นสะเทือนคุณได้จริงๆ เรียกว่าแนวคิดเรื่องเวลาจากเล่มนี้มาเหนือสุดๆ ถ้านั่งอยู่ข้างกำแพงต้องเอาหัวโขกกันเลย แต่อ่านจบมีพลังดีนะ แล้วอยากกลับไปอ่านอีกรอบ คลีโอขอสรุปแนวคิดปังๆ 10 ข้อนี้มาให้ มั่นใจมากว่าต้องรีบไปกดซื้อหนังสือเล่มนี้กันเลย อ่านเรื่องราวอื่นๆ ต่อได้ที่ เริ่มต้นใหม่และเปลี่ยนตัวเองด้วย Monk Mode

12 โฟกัสที่ทำให้เราลืมเรื่องอะไรบางอย่างในใจไปได้

ใช้ชีวิตกับการคอยเช็คตัวเองตลอดเวลา จะค่อนข้างรู้ว่าตอนนี้เรารู้สึกยังไง บาลานซ์เราเป็นยังไง ก็เลยเอนจอยที่จะคอยหาอะไรมาเติมโฟกัสให้เรา เพราะนั่นคือสิ่งที่ช่วยเราได้เวลาเรามีอะไรในใจ แล้วอยากลืม…. 2. เล่นดนตรียากๆ: คุ้มที่สุดที่ชีวิตได้ทุ่มเทไปกับการเรียนเปียโนในช่วงเวลาหนึ่ง ยิ่งยากยิ่งดีเลย พอเวลาเราอยากคลี่คลายอะไรในใจออกไป คืนแห่งการกลับมานั่งงมดีดโน้ตบีโธเฟ่นยากๆ ใจเราจะไม่มีเรื่องอะไรมากวนนอกจากความจดจ้องบรรทัด 5 เส้นของโน้ตเพลงเท่านั้น! 3. ทำอาหารสัก 3 เมนูพร้อมกัน: สมองต้องคิดตั้งแต่ทำอะไรดีที่มันบาลานซ์กัน เครื่องปรุงล่ะ แล้วจะทำอะไรก่อน เพื่อให้ออกมาเสร็จพร้อมกัน ตอนต้มน้ำ เราจะหั่นผัก ตอนยืนเคี่ยวจะกริลล์เบคอนเอาไว้ แค่คิดว่าจะหยิบจานกี่ใบมาใส่เครื่องปรุง จะแบ่งพื้นที่ในจานยังไง เอามาวางหน้าเตาให้หยิบได้ง่าย ทั้งหมดสมองต้องว่างเปล่าจริงๆ ถึงจะแมเนจได้เลย 4. เขียนบทความยาวๆ: ยิ่งถ้าเป็นบทความที่ไม่คุ้นชิน จะท้าทายเรามาก ต้องหาข้อมูล อ่าน จด แล้วเรียบเรียง วิเคราะห์ แล้วกลั่นออกมาเป็นคำพูดเรา แล้วถ้าเป็นบทความออริจินัล คือเราสร้างหัวข้อขึ้นมาเองเลย ใจและสมองก็จะยิ่งส่ายไปไหนไม่ได้ 5. เขียนข้อความจากความรู้สึกเก็บไว้: เป็นทั้งช่วยโฟกัสและช่วยเยียวยา ใจจะรวมศูนย์ แล้วเป็นโมเมนท์ให้เราได้เช็คตัวเองอีกครั้ง ว่าความรู้สึกนี้คืออะไร เราเป็นใคร อะไรพาเรามารู้สึกแบบนี้ ถ้าทำได้ทำทุกวันจะทำให้เราเข้าใจตัวเองขึ้นด้วย 6. เพนท์รูปที่เราไม่คุ้น: […]




Books

หนังสือที่เล่าเรื่อง “อารมณ์” ได้สุดจะเข้าใจ รู้แล้วว่าทำไมเราชอบ “น้อยใจ”

หนังสือแด่อารมณ์ของฉัน

ใครกำลังสงสัยว่าฉันอารมณ์ไม่นิ่งเลย ทำไมเรื่องเล็กๆ ฉันต้องสะเทือน แล้วทำไมอ่อนไหวในความรัก น้อยใจไปหมดเลย อ่านหนังสือเล่มนี้เลยนะ

ดีใจที่ได้ซื้อเล่มนี้เลย “แด่…อารมณ์ของฉัน (ฉันเข้าใจเธอนะ)” หนังสือเกี่ยวกับอารมณ์ที่คำขยายชื่อเรื่องบอกไว้ว่า “วิธีขจัดความทุกข์ ด้วยการยอมรับตัวเอง” เขียนโดย ช็อนมีกย็อง จิตแพทย์ดังของเกาหลี พลิกๆ หัวข้อสารบัญโดนหมด เลยซื้อทันที “ทำไมสิ่งที่รับมือได้ยากที่สุดในโลกถึงเป็นตัวฉันเองนะ” “ทำไมเรื่องแย่ๆ ถึงลืมไม่ได้ง่ายๆ นะ” “ทำอย่างไรเมื่อมีบาดแผลฝังใจที่คนอื่นไม่รู้” ก็เลยอ่านรวดเดียวรัวๆ

แด่อารมณ์ของฉัน หนังสือ

แล้วก็เจอเลยที่สงสัยมานานว่า “ทำไมเราอ่อนไหวเรื่องความรักจัง?” “ทำไมเราน้อยใจจัง” “ทำไมเจอเรื่องบางเรื่องมาแตะนี่อย่างจี๊ด” ผู้เขียนบอกว่าเราจะมีอารมณ์อยู่ 2 ชั้น คืออารมณ์ภายใน มักเป็นอารมณ์ที่เราอยากซุกเอาไว้ กดทับไว้ ไม่อยากเปิดเผยเพราะจะเหมือนเราอ่อนแอ เช่น เราไม่ชอบหัวหน้างานมากๆๆๆ แต่ทำอะไรไม่ได้นอกจากเก็บไว้ ถ้าเราได้แสดงอารมณ์นี้อย่างเหมาะสม ก็จะทำให้ผ่านเหตุการณ์นั้นไปได้สวยๆ ไม่เก็บกด เช่น ถ้าเราเลิกกับแฟนแล้วเสียใจ ยอมรับความเจ็บปวด ร้องไห้เพื่อปลดปล่อย พอผ่านไปเราก็จะไม่กลับไปเสียใจแบบนั้นอีก

 กับอีกอารมณ์คืออารมณ์ภายนอก คืออารมณ์ที่เราไม่พอใจ ณ. เวลานั้น เช่น มีคนพูดจาแย่ๆ กับเรา เราก็จะโกรธเดี๋ยวนั้น จุดพีคก็คือเมื่ออารมณ์ภายนอกมีทริกเกอร์มาจากอารมณ์ภายในนี่ล่ะ ก็จะทำให้ข้างในเราเกิดเป็นปมขึ้นมา เช่น เราเจอแฟนเรานั่งกินข้าวกับผู้หญิงคนอื่น ถึงแม้เขาจะเป็นแค่เพื่อนร่วมงานกัน แต่ทริกเกอร์ก็คือแฟนเราเคยนอกใจเรามาก่อน เรายังจัดการกับอารมณ์นั้นในตอนนั้นให้สิ้นซากไม่ได้ พอมาเจออะไรกระตุกปั๊บ เราก็เลยเหวี่ยงและโกรธแบบไร้เหตุผลขึ้นมาได้

อย่างอารมณ์น้อยใจของเราก็เหมือนกัน มันมาจากการถูกกดทับทางอารมณ์มาก่อน แล้วเราไม่ได้รับการแก้ไขอย่างอ่อนโยนเพียงพอ หรือถ้าเป็นในเรื่องความสัมพันธ์ เราพยายามบอกอีกฝ่ายแล้วว่าเวลาเขาทำสิ่งนั้น มันกระทบกระเทือนเรา แล้วเขาไม่สนใจ หลังจากนั้นเราก็จะเก็บอารมณ์ไม่พอใจเอาไว้ ทีนี้ไปเจออะไรที่ทริกเกอร์ ความน้อยใจเลยระเบิดออกมาอีกครั้งได้ง่ายๆ แล้วบางทีก็ลุกลามใหญ่โตกู่ไม่กลับไปเลย

หนังสือเล่มนี้เลยมาเพื่อเล่าเรื่อง “อารมณ์” ให้เราเข้าใจ และหัวใจสำคัญคือ “ให้เราเยียวยาอารมณ์ตัวเองให้แลนดิ้งให้ได้” แทนที่จะปล่อยให้ผ่านเลยไป แล้วเก็บมันเอาไว้ เพื่อไม่ให้อารมณ์ภายในมาทริกเกอร์เป็นอารมณ์ภายนอกบ่อยๆ จะมีผลกระทบกับความสัมพันธ์ การมองโลกของเรา และบุคลิกเราได้แบบแทงยาวเลย

เขาถึงบอกกันว่า “เราต้องเยียวยาหัวใจที่แตกสลายในทันที”

ถือเป็นความฉลาดทางอารมณ์ที่ถ้าทำได้ เราก็จะไม่มีอะไรมาสะกิดใจบ่อยๆ

พออ่านไปจนจบทั้งเล่มเลยอยากขอบคุณหนังสือเล่มนี้มากๆ ทำให้เรายอมรับอารมณ์ตัวเอง และเกิดกำลังใจว่า “ฉันอยากปรับอารมณ์ข้างในให้สมดุลขึ้น” มองเรื่องอารมณ์เป็นธรรมชาติมากขึ้น เห็นความเป็นจริงอะไรบางอย่างของเรา อยากสาวหาที่มาที่ไปของอารมณ์เรา จนไปเจอกับตอของอารมณ์ที่เราเก็บไว้มานาน ก็เลยยิ่งชวนให้อยากทำลายตอนั้นให้สิ้นซากสักที จะได้ไม่ปรี๊ดง่าย และมีความสุขในใจได้เสมอๆ

อยากให้อ่านเล่มนี้กันเลย มีอีกหลายสิ่งในเล่มนี้ที่โดนสุดๆ

“แด่…อารมณ์ของฉัน (ฉันเข้าใจเธอนะ)”

เขียนโดย Jun Mee Kyung แปลโดย กนกรัตน์ อรุณรัตนรุจรวี

#cleobookflirts #แด่อารมณ์ของฉัน

อ่านเรื่องราวอื่นๆ ต่อได้ที่ มีอะไรในคำสอนจากโอริน

More